หน่วยสมรรถนะ
ออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | MLD-DMT-4-009ZA |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีทักษะด้านการออกแบบแม่พิมพ์ประเภท Progressive die แบบซับซ้อนซึ่งหมายถึงแม่พิมพ์แบบต่อเนื่องที่มีขั้นตอนของการขึ้นรูปแบบ Draw หรือ Form อยู่ในสถานีการทำงานอย่างน้อย 1 สถานี โดยจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน การกำหนด Strip layout การออกแบบพันช์และดาย โครงสร้างแม่พิมพ์ เลือกวัสดุทำพิมพ์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ช่วยในการขึ้นรูปและตรวจทานความถูกต้องของแบบแม่พิมพ์ เพื่อให้ได้งานที่ตรงตามข้อกำหนดจากแบบสั่งงาน (Part Drawing) |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
อุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
101M09.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 1.1 ศึกษาแบบชิ้นงาน | 101M09.1.01 | 4303 |
101M09.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 1.2ศึกษาข้อกำหนดของ Processdesign หรือ Die Layout | 101M09.1.02 | 4304 |
101M09.1 เตรียมข้อมูลในการออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 1.3 คำนวณแรงและตัวแปรต่างๆ ที่ใช้ในการขึ้นรูป | 101M09.1.03 | 4305 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.1 ออกแบบ Strip layout | 101M09.2.01 | 4306 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.2 ออกแบบพันช์และดาย | 101M09.2.02 | 4307 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.3 ออกแบบโครงสร้างแม่พิมพ์ | 101M09.2.03 | 4308 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.4 ออกแบบชิ้นส่วนและเลือกใช้ Standardparts | 101M09.2.04 | 4309 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.5 กำหนดวัสดุที่ใช้ทำแม่พิมพ์ | 101M09.2.05 | 4310 |
101M09.2 ออกแบบและเขียนแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน | 2.6 ตรวจทานการออกแบบแม่พิมพ์ | 101M09.2.06 | 4311 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถอ่านและแปลความหมายแบบงาน (Product) เพื่อกำหนดขั้นตอนการทำงาน 2. สามารถกำหนดขั้นตอนการทำงานของแม่พิมพ์เพื่อขึ้นรูปชิ้นงานตามต้องการได้ 3. สามารถใช้ซอฟต์แวร์การเขียนแบบวิศวกรรม 4. สามารถกำหนดกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่นและลำดับการขึ้นรูปเพื่อออกแบบ Die layout 5. สามารถออกแบบและกำหนด Strip layout 6. สามารถออกแบบและการเขียนแบบพันช์และดาย 7. สามารถออกแบบและการเขียนแบบโครงสร้างแม่พิมพ์ Compound die/Progressive die 8. สามารถออกแบบชิ้นส่วนและเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานในการออกแบบแม่พิมพ์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านและทำความเข้าใจเงื่อนไขของแบบงาน (Product) เพื่อการออกแบบแม่พิมพ์ 2. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A 3. ความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดข้อกำหนดของ Process design หรือ Die layout 4. ความรู้เกี่ยวกับกลไกพื้นฐานการทำงานของแม่พิมพ์ปั๊มโลหะ 5. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการขึ้นรูปโลหะแผ่น ทฤษฎีการตัดโลหะแผ่น ทฤษฎีพับ-ดัดโลหะแผ่น ทฤษฎีการลากขึ้นรูปโลหะแผ่น 6. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ชิ้นส่วน และกลไกการทำงานของแม่พิมพ์ Progressive 7. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์ 8. ความรู้เกี่ยวกับการวาง strip layout 9. ความรู้ด้านการเลือกชิ้นส่วนมาตรฐาน 10. ความรู้ด้านชนิดของวัสดุทำแม่พิมพ์ 11. ความรู้ด้านสัญลักษณ์ GD&T |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดเป็นข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. แสดงผลงานที่เป็นแบบสั่งงานในการผลิตแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อน 2. แสดงการเขียนแบบภาพฉาย Die layout ตามมาตรฐานระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A 3. แสดงการออกแบบชิ้นส่วนและเลือกใช้ชิ้นส่วนมาตรฐานในการออกแบบแม่พิมพ์ 4. แสดงการคำนวณเชิงตัวเลขในการหาค่าพารามิเตอร์สำหรับการออกแบบชิ้นส่วนแม่พิมพ์ 5. ใบรับรองผลจากแบบประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. อธิบายเงื่อนไขของแบบงาน (Product) สำหรับการออกแบบแม่พิมพ์ 2. อธิบายหรืออ่านเพื่อตีความหมายของแบบภาพฉายในระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A 3. อธิบายหรือระบุรายระเอียดข้อกำหนดของ Process design หรือ Die layout 4. อธิบายหรือระบุวิธีการคำนวณแรงที่ใช้ในการขึ้นรูป 5. อธิบายหรือระบุตัวแปรในการขึ้นรูปและพารามิเตอร์ในการออกแบบแม่พิมพ์ 6. วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร หรือใบรับรองผลการศึกษาที่แสดงถึงความรู้ในการออกแบบแม่พิมพ์ 7. ใบรับรองผลจากการประเมินความรู้จากแบบทดสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการออกแบบแม่พิมพ์Progressive แบบซับซ้อน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง การทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. แบบทดสอบข้อเขียน 2. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ 3. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ 4. แบบทดสอบการสังเกตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับข้อกำหนด และมาตรฐานการผลิต 2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถคำนวณตัวแปรในการขึ้นรูป และกำหนดพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการออกแบบแม่พิมพ์Progressive ซับซ้อน 3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเลือกใช้วัสดุทำพิมพ์ และชิ้นส่วนมาตรฐานได้เหมาะสมกับหน้าที่การใช้งาน 4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องออกแบบแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบได้ 5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องเขียนแบบแบบสั่งงาน เพื่อสร้างแม่พิมพ์ Progressive ซับซ้อนได้ 6. ผู้เข้ารับการประเมินต้องอ่านแบบและเขียนแบบสั่งงานด้วยมาตรฐานที่ใช้ในการมองภาพฉายระบบ ISO Method-E และ ISO Method-A 7. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบขนาดและค่า GD&T ตามแบบสั่งงาน และสัญลักษณ์มาตรฐาน ASME Y14.5 M : 2018 8. ผู้เข้ารับการประเมินต้องออกแบบชุดแม่พิมพ์โดยคำนึงถึงความเที่ยงตรง ความสะดวกในการประกอบ ถอดประกอบ และเพื่อการบำรุงรักษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบ (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. แม่พิมพ์ Progressive แบบซับซ้อน ในสมรรถนะนี้ หมายถึง แม่พิมพ์แบบต่อเนื่องที่มีขั้นตอนของการขึ้นรูปแบบ Draw หรือ Form อยู่ในสถานีการทำงานอย่างน้อย 1 สถานี |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะของผู้เข้ารับการประเมินด้วยเครื่องมือประเมินความรู้และทักษะ ให้ครอบคลุมเกณฑ์การปฏิบัติงาน ทักษะและความรู้ที่ต้องการของหน่วยสมรรถนะ ได้แก่ 1. แบบทดสอบข้อเขียน 2. แบบฟอร์มบันทึกการสัมภาษณ์ 3. แบบทดสอบการสาธิตปฏิบัติงาน หรือ 4. แบบฟอร์มบันทึกการสังเกตการปฏิบัติงาน |