หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุและตัดผ้า

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-IWLT-136A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุและตัดผ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพช่างตัดเสื้อผ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถทำหน้าที่จัดเตรียมวัสดุและตัดผ้า และวางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวาง เพื่อระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สาขาช่างตัดเย็บเสื้อผ้า

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
31101

วางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวาง

1. ตรวจสอบความเสียหายและข้อผิดพลาดของผ้าได้ตามแบบที่กำหนด

31101.01 159209
31101

วางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวาง

2. วางแบบตัดตามเครื่องหมายการวางแบบที่ถูกต้อง

31101.02 159210
31101

วางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวาง

3. วางแบบตัดเพื่อการประหยัดผ้า 

31101.03 159211
31102

ระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

1. ตรวจสอบความเสียหายและข้อผิดพลาดของผ้าได้ตามแบบที่กำหนด

31102.01 159214
31102

ระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

2. ปรับการวางแบบตัด เพื่อหลีกเลี่ยงตำหนิผ้าและสอดคล้องกับปริมาณผ้าที่สูญเสีย

31102.02 159215
31102

ระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

3. เข้าใจลักษณะและคุณสมบัติของผ้าแต่ละชนิดในกรณีที่ผ้ามีลักษณะเฉพาะ 

31102.03 159216

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ปฏิบัติการสรุปเกี่ยวกับวางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวางแบบ

2.    ปฏิบัติการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การตรวจสอบความเสียหายและข้อผิดพลาดของผ้าได้ตามแบบที่กำหนด

2. การวางแบบตัดตามเครื่องหมายการวางแบบตัดที่ถูกต้อง

3. การวางแบบตัดเพื่อการประหยัดผ้า

4. ปรับการวางแบบตัด เพื่อหลีกเลี่ยงตำหนิผ้าและสอดคล้องกับปริมาณผ้าที่สูญเสีย

5. ลักษณะและคุณสมบัติของผ้าแต่ละชนิด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน หรือหลักฐานอื่นๆ (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลจากแบบสัมภาษณ์

2. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม (ถ้ามี)

3. ใบประกาศนียบัตร/ วุฒิบัตร (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนดถือว่าไม่ผ่านการประเมิน 

(ง) วิธีการประเมิน

1. พิจารณาตามหลักฐานสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1.    ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวางแบบ

2.    ผู้รับการประเมินจะต้องตรวจสอบการระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.  ตรวจสอบการปฏิบัติงานการวางแบบตัดตามเครื่องหมายการวางแบบที่ถูกต้อง

2.  ตรวจสอบการปฏิบัติงานการกับวางแบบตัดเพื่อการประหยัดผ้า

3.  ตรวจสอบการปรับการวางแบบตัด เพื่อหลีกเลี่ยงตำหนิผ้าและสอดคล้องกับปริมาณผ้าที่

สูญเสีย

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินวางผ้าและกำหนดตำแหน่งการวาง

   1) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมินระบุความเบี่ยงเบนและหลีกเลี่ยงรอยตำหนิ

   1) แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ