หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Implement Improvements to Information Technology Assessment Processes)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-XQZW-508B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Implement Improvements to Information Technology Assessment Processes)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ไว้ในที่อื่น


1 2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการ                      การตรวจสอบกระบวนการควบคุมคุณภาพทางเทคนิค และขั้นตอนในการประเมินประสิทธิภาพ ความถูกต้อง คุณค่า และประสิทธิภาพที่เกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ และสภาพแวดล้อม รวมถึงการตรวจสอบระบบเพื่อให้มั่นใจว่า เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพ และกฎระเบียบที่ได้รับการรับรองจากภายใน และภายนอกในอุตสาหกรรมตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์กร หรือหน่วยงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาการประกันคุณภาพเทคโนโลยีดิจิทัล อาชีพเจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Quality Assurance)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
112201.01

กำหนดขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the steps of the information technology assessment process)

1. กำหนดแผนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการของระบบสารสนเทศ (Develop a plan to improve the information system assessment process in both product and process aspects)

112201.01.01 191151
112201.01

กำหนดขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the steps of the information technology assessment process)

2. ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการของระบบสารสนเทศ (Implement improvements to the information system assessment process in both product and process aspects)

112201.01.02 191152
112201.01

กำหนดขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the steps of the information technology assessment process)

3. จัดทำรายการสิ่งที่เรียนรู้จากการปรับปรุง ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการของระบบสารสนเทศ (Compile a list of lessons learned from the improvements made to the information system in both product and process aspects)

112201.01.03 191153
112201.02

กำหนดบทบาทการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles in the information technology assessment process)

1. กำหนดบทบาทขององค์กรในกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles of the organization in the information technology assessment process in both product and process aspects)

112201.02.01 191154
112201.02

กำหนดบทบาทการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles in the information technology assessment process)

2. กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Specify the responsibilities and accountabilities in the information technology assessment process in both product and process aspects)

112201.02.02 191155
112201.02

กำหนดบทบาทการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles in the information technology assessment process)

3. กำหนดทักษะที่จำเป็นในกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Identify the necessary skills in the information technology assessment process in both product and process aspects)

112201.02.03 191156
112201.03

จัดการการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Manage the change process of the information technology assessment procedures)

1. กำหนดกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the basic process for managing changes in the information technology assessment procedures in both product and process aspects)

112201.03.01 191157
112201.03

จัดการการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Manage the change process of the information technology assessment procedures)

2. การควบคุมการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Control the changes in the information technology assessment procedures in both product and process aspects)

112201.03.02 191158
112201.03

จัดการการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Manage the change process of the information technology assessment procedures)

3. วัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ และกระบวนการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Measure the impact of changes in the information technology assessment procedures in both product and process aspects)

112201.03.03 191159

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนากระบวนการตรวจสอบ ความสามารถในการตรวจสอบปัญหา เช่น การระบุ และแก้ไขข้อผิดพลาด หรือช่องโหว่ในระบบสารสนเทศ (Analytical and problem-solving Skills)



2. ทักษะทางเทคนิค และความรู้ด้านเทคโนโลยี ความรู้ และความเข้าใจทางเทคนิคเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบเครือข่าย ฐานข้อมูล การเขียนโปรแกรม หรือระบบความปลอดภัย จะช่วยให้สามารถทำงานกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ในกระบวนการปรับปรุงได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Technical Skills)



3. ทักษะการวางแผน และจัดการโครงการ ความสามารถในการวางแผน และจัดการโครงการ เป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบ เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์  การวางแผนการทดสอบ และการประเมิน การจัดทำแผนการดำเนินงาน และการประเมินผล (Planning and project management Skills)



4. ทักษะการสื่อสาร ทักษะการสื่อสารที่ดีเป็นสิ่งสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบผู้ผ่านสมรรถนะควรสามารถสื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับการปรับปรุงแก่ทีม หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และสามารถเขียนรายงาน และนำเสนอผลการปรับปรุงได้อย่างชัดเจน และเข้าใจง่าย (Communication Skills)



5. ทักษะการทำงานเป็นทีม การปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ อาจเกี่ยวข้องกับการทำงานเป็นทีม ผู้ผ่านสมรรถนะควรมีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น การสื่อสาร และการทำงานร่วมกันเป็นสำคัญในการปรับปรุงกระบวนการให้เป็นที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพ (Teamwork Skills)



6. ทักษะในการทดสอบ และการใช้เครื่องมือ ความรู้ และทักษะในการทดสอบ และการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น เครื่องมือการทดสอบ     แบบอัตโนมัติ ซอฟต์แวร์สำหรับการทดสอบ หรือเครื่องมือสำหรับการตรวจสอบความปลอดภัย (Testing and tool proficiency Skills)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าใจหลักการ และแนวคิดพื้นฐานของการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงมาตรฐานของอุตสาหกรรม และการปฏิบัติ ที่ดีที่สุด (IT Auditing Principles Knowledge)



2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ มีความรู้เกี่ยวกับประเภทต่าง ๆ ของระบบสารสนเทศ ส่วนประกอบต่าง ๆ และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ เครือข่าย ฐานข้อมูล และเทคโนโลยีคลาวด์ (Information Systems Knowledge)



3. การจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าใจ และรู้จักวิธีการจัดการความเสี่ยงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การประเมินความเสี่ยง กลยุทธ์ในการลดความเสี่ยง และ       การติดตามความเสี่ยง (IT risk Management Knowledge)



4. ความรู้ด้านความปลอดภัยสารสนเทศ ความรู้เกี่ยวกับหลักการ และเทคโนโลยีความปลอดภัยสารสนเทศ เช่น การรู้จักวิธีการป้องกันอันตราย ช่องโหว่ที่เปิดเผย และมาตรการป้องกันที่เกี่ยวข้อง (Cybersecurity knowledge)



5. ความรู้ด้านการบริหารจัดการ และความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกำหนด ความรู้เกี่ยวกับกรอบการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การปฏิบัติตามมาตรฐาน เทคนิค การทดสอบ และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (IT Governance and Compliance Knowledge)



6. ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และการใช้งานเครื่องมือ ความรู้ และทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล และใช้งานเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ซอฟต์แวร์ทดสอบ และเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Management and Data Analytics Knowledge)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



   1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม



   2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



   1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการกำหนดวัตถุประสงค์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



   1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



   2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้



1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการเข้าใจและประยุกต์ใช้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ และเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในวงกว้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากนี้ การติดตามแนวโน้ม และความก้าวหน้าในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็เป็นสิ่งที่สำคัญในการอัปเดต และพัฒนาความรู้ของตนเองให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในวงกว้าง ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



การดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกระบวนการที่มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนากระบวนการตรวจสอบที่ใช้ในการตรวจสอบระบบสารสนเทศ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าระบบสารสนเทศทำงานได้ตามที่คาดหวังและประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ รายละเอียดของการดำเนินการปรับปรุงด้านนี้สามารถอธิบายได้ดังนี้



1. กำหนดขั้นตอนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the steps of the information technology assessment process)



   1.1 กำหนดแผนการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Develop a plan to improve the information system assessment process)



   1.2 ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบระบบสารสนเทศ (Implement improvements to the information system assessment process)



   1.3 จัดทำรายการสิ่งที่เรียนรู้จากการปรับปรุงระบบสารสนเทศ (Compile a list of lessons learned from the improvements made to the information system)



2. กำหนดบทบาทการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles in the information technology assessment process)



   2.1 กำหนดบทบาทขององค์กรในกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the roles of the organization in the information technology assessment process)



   2.2 กำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบในกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Specify the responsibilities and accountabilities in the information technology assessment process)



   2.3 กำหนดทักษะที่จำเป็นในกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Identify the necessary skills in the information technology assessment process)



3. จัดการการเปลี่ยนแปลงการปรับปรุงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Manage the change process of the information technology assessment procedures)



   3.1 กำหนดกระบวนการจัดการการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานของกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Define the basic process for managing changes in the information technology assessment procedures)



   3.2 การควบคุมการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Control the changes in the information technology assessment procedures)



   3.3 วัดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหนดบทบาทขององค์กรในกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Measure the impact of changes in the information technology assessment procedures)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินการกำหนดขั้นตอนกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



   1.1 การสัมภาษณ์



   1.2 ผลข้อสอบข้อเขียน



          ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินการกำหนดบทบาทกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



 



   2.1 การสัมภาษณ์



   2.2 ผลข้อสอบข้อเขียน



          ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



3. เครื่องมือประเมินการจัดการการเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ



   3.1 การสัมภาษณ์



   3.2 ผลข้อสอบข้อเขียน



          ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ