หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตเส้นด้าย

สาขาวิชาชีพสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TEX-BTIP-179A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมความพร้อมก่อนการผลิตเส้นด้าย

3. ทบทวนครั้งที่ N/A /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO รหัส 8151 ผู้ควบคุมเครื่องจักร จัดเตรียมเส้นใย ปั่น และกรอเส้นใย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้จะอธิบายทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้ายให้ตรงตามใบสั่งผลิต สามารถตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย เพื่อจัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้ายได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผลิตวัสดุสิ่งทอ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 1. เลือกวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160609
1020201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 2.จัดทำใบเบิกวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160610
1020201 เตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 3.จัดทำรายการเตรียมวัตถุดิบได้ครบถ้วนตามใบสั่งผลิต 160611
1020202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 1.ระบุวัตถุดิบได้ตรงกับชนิดของเส้นด้ายที่ต้องการผลิต 160612
1020202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 2.ระบุจำนวนวัตถุดิบได้ตรงตามใบสั่งผลิต 160613
1020202 ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย 3. คัดแยกวัตถุดิบบกพร่องออกจากกระบวนการผลิต 160614
1020203 จัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย 1. ระบุข้อมูลที่จำเป็นในการผลิตเส้นด้ายได้ถูกต้องตามใบสั่งผลิต 160615
1020203 จัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย 2. ระบุเครื่องหมาย สัญลักษณ์ที่ใช้ในการผลิตเส้นด้ายได้ถูกต้องตามข้อมูลการผลิตเส้นด้าย 160616
1020203 จัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย 3. บันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำประวัติการผลิตเส้นด้าย 160617
1020203 จัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย 4. นำเสนอข้อมูลในการปฏิบัติงานด้านการผลิตเส้นด้ายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดของสถานประกอบการ 160618

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย

2. ทักษะการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. เส้นใย เส้นด้าย ผ้า

2. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย

3. การดูแลรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย

4. รู้สัญลักษณ์การแยกประเภทของวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

          2. เอกสารประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

          2. เอกสารประเมินผลจากการสอบข้อเขียน

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

ผู้ประเมินตรวจประเมินในด้านทักษะและความรู้ เกี่ยวกับการจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย รวมถึงการตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย และ การจัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย

 (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้าย การตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้ายและจัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้าย

(ก) คำแนะนำ

        1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเตรียมวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้ายได้

        2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุดิบเพื่อการผลิตเส้นด้ายได้

        3. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถจัดทำข้อมูลการผลิตเส้นด้ายได้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

        1. ข้อมูลที่จำเป็นในการผลิตเส้นด้าย ประกอบด้วย

        ข้อมูลด้านวัตถุดิบ

           - ชนิดของวัตถุดิบ อาทิเช่น ฝ้าย  ลินิน  โพลีเอสเตอร์  ไนลอน เป็นต้น

           - ข้อมูลจำเพาะของวัตถุดิบ อาทิเช่น ความยาวเส้นใย  ความเหนียวเส้นใย ความละเอียดของเส้นใย  สี เป็นต้น

           - ส่วนผสมของวัตถุดิบ อาทิเช่น ฝ้าย 50% ผสมกับโพลีเอสเตอร์ 50% เป็นต้น

        ข้อมูลของเส้นด้าย

           - เบอร์ด้าย อาทิเช่น Ne 30  Ne 40  50 dtex  120 dtex เป็นต้น

           - จำนวนเกลียวของเส้นด้าย อาทิเช่น 20 TPI  16 TPI เป็นต้น

           - เกลียวของเส้นด้าย ประกอบด้วย เกลียว S  เกลียว Z

           - ลักษณะของเส้นด้าย อาทิเช่น single yarn, ply yarn, cable yarn เป็นต้น

           - น้ำหนักของผลผลิตแต่ละกระบวนการ อาทิเช่น ปั่น 2 น้ำหนัก 230 กรัม/30 หลา เป็นต้น

        2. เครื่องหมายสัญลักษณ์ที่ใช้ในการผลิตเส้นด้าย อาทิเช่น

                   Ne หมายถึง เบอร์เส้นด้ายที่ต้องการคำนวณหน่วยเป็น cotton count

                   Nm หมายถึง เบอร์ด้ายที่ต้องการคำนวณหน่วยเป็น metric count

                   New หมายถึง เบอร์ด้ายที่ต้องการคำนวณหน่วยเป็น Worsted count

                   เทกซ์ (Tex) หมายถึง หน่วยของเบอร์ด้ายระบบตรง

                   ดีเนียร์ (Denier) หมายถึง หน่วยของเบอร์ด้ายระบบตรง

                   TC หมายถึง เส้นด้ายที่มีส่วนผสมของโพลีเอสเตอร์มากกว่าฝ้าย

                   CVC เส้นด้ายที่มีส่วนผสมของฝ้ายมากกว่าโพลีเอสเตอร์

                   TPI หมายถึง จำนวนเกลียว/นิ้ว (ส่วนใหญ่ใช้กับ Ring Yarn)

                   TM หมายถึง ค่าแฟคเตอร์ของเกลียว (ค่าคูณเกลียว หรือ Twist Multiplier)

                   TPM หมายถึง จำนวนเกลียวต่อเมตร (ส่วนใหญ่ใช้กับเส้นด้าย OE)

                   /1 หมายถึง เส้นด้ายเดี่ยว อาทิเช่น 20/1, 30/1 หรือใช้เขียนในรูป 20s, 30s

                   /2 หมายถึง เส้นด้ายควบ อาทิเช่น 40/2, 30/2

                   CM หมายถึง Combed Yarn (เส้นด้ายคอมบ์)

                   CD หมายถึง Carded Yarn (เส้นด้ายสาง)

                   BL หมายถึง เครื่องผสม

                   CD หมายถึง เครื่องสางใย

                   DF หมายถึง เครื่องรีด

                   FL หมายถึง เครื่องปั่น 2

                   RF หมายถึง เครื่องปั่น 3

                   WD หมายถึง เครื่องกรอ

                   B.D. หมายถึง Back Draft

                   M.D. หมายถึง Main Draft

                   T.D. หมายถึง Total Draft

        3. การบันทึกข้อมูลหมายถึงเพื่อจัดทำประวัติการผลิตเส้นด้าย ประกอบด้วย ข้อมูลด้านวัตถุดิบ  ข้อมูลของเส้นด้าย  ข้อมูลการตั้งค่าเครื่องจักร  ข้อมูลความต้องการของลูกค้า


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 แบบฟอร์มการประเมินผลการสอบข้อเขียน

18.2 แบบฟอร์มประเมินผลจากการสังเกตการปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ