หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารระบบการจัดการงานวิจัยพัฒนา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-MWMR-752A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารระบบการจัดการงานวิจัยพัฒนา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนาด้านเภสัชภัณฑ์ สมุนไพร และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น การจัดประเภทอาชีพตามมาตรฐานสากล สาขาการผลิตทางเภสัชกรรม สมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10407-01

จัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

1. ประเมินความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

10407-01.01 190703
10407-01

จัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

2. วางแผนและดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา

10407-01.02 190704
10407-01

จัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

3. ติดตามผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในงานวิจัยพัฒนา

10407-01.03 190705
10407-02

จัดการด้านกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

1. ตรวจสอบและอนุมัติเอกสารการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

10407-02.01 190706
10407-02

จัดการด้านกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

2. ตรวจติดตามการดำเนินงานวิจัยพัฒนาอย่างเป็นระบบ

10407-02.02 190707
10407-02

จัดการด้านกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

3. ประเมินผลการดำเนินงานวิจัยพัฒนา

10407-02.03 190708
10407-02

จัดการด้านกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

4. ปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยพัฒนาเพื่อความคุ้มทุน

10407-02.04 190709
10407-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

1. วิเคราะห์และประเมินสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

10407-03.01 190710
10407-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

2. วางแผนและดำเนินการจัดการสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา

10407-03.02 190711
10407-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

3. ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

10407-03.03 190712

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. มีทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

3. มีทักษะด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

4. มีจรรยาบรรณและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

5. มีทักษะในการทำงานด้านการวางแผนและวิเคราะห์ข้อมูล

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดการด้านความปลอดภัยและด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

2. มีทักษะในการจัดการด้านกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 7 ปี หรือ ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ระดับ 4 อย่างน้อย 3 ปี


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ประเมินความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา เช่น งานที่ต้องใช้สารเคมีอันตรายให้เทสารเคมีในตู้ดูดควัน (fume hood) เป็นต้น

2. วางแผนและดำเนินการจัดการด้านความปลอดภัย โดยทีมวิจัย (ผู้บริหาร นักวิจัย ผู้ปฏิบัติงาน) ที่ผ่านการอบรมตามหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับตนเอง พร้อมทั้งชี้แจงหลักการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประชุม การอบรม การติดประกาศชี้แจง แจ้งกฎระเบียบข้อบังคับให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด รวมถึงจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน เป็นต้น

3. ติดตามผลการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในงานวิจัยพัฒนา โดยตรวจสอบจากแผนงานและความเสี่ยงที่ประเมินไว้ แล้วนำผลจากการติดตามการปฏิบัติงานมาพัฒนาวิธีการจัดการในแต่ละด้าน เช่น ประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพอันเนื่องมาจากการปฏิบัติงาน และจัดให้มีการตรวจสอบสุขภาพประจำปีให้เหมาะสม เป็นต้น

4. ตรวจสอบและอนุมัติเอกสารที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา เช่น ตรวจสอบและอนุมัติข้อมูลด้านวิชาการของผลิตภัณฑ์ก่อนนำไปยื่นขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น

5. ตรวจติดตามการดำเนินงานวิจัยพัฒนาอย่างเป็นระบบ โดยปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยพัฒนาเพื่อลดความสูญเสียที่เกิดจากการผลิต โดยการวิเคราะห์สาเหตุร่วมกับฝ่ายผลิตและควบคุมคุณภาพ เช่น พนักงานขาดทักษะ มีความประมาท วิธีการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม วัตถุดิบไม่มีคุณภาพ เป็นต้น แล้วนำวิธีการแก้ไขปัญหามาทบทวน เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา

6. วิเคราะห์และประเมินสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานวิจัยพัฒนา เช่น มีแสงสว่างเพียงพอ มีระบบถ่ายเทอากาศที่เหมาะสม ระบบการกำจัดฝุ่นที่มีประสิทธิภาพ ความสะอาดของห้องปฏิบัติการ ตู้ดูดไอสารเคมี เป็นต้น

7. วางแผนและดำเนินการจัดการหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ให้เหมาะสมต่อการปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา พร้อมทั้งชี้แจงหลักการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การประชุม การอบรม การติดประกาศชี้แจง แจ้งกฎระเบียบข้อบังคับให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เป็นต้น

8. ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม โดยตรวจสอบจากผลการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมที่ประเมินไว้ แล้วนำผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมมาพัฒนาวิธีการจัดการให้เหมาะสม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน 

18.2 การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ