หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-RTMJ-748A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2163 นักออกแบบผลิตภัณฑ์และเครื่องแต่งกาย

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ ตั้งสูตรตำรับ จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1. ศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง  

10403-01.01 190673
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. ตั้งสูตรตำรับได้

10403-01.02 190674
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างตามแผนการทดลองได้ตามสูตรตำรับ

10403-01.03 190675
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

4. ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตัวอย่างและทดสอบความคงตัวเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง

10403-01.04 190676
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

5. ทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง 

10403-01.05 190677
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

6. ประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง

10403-01.06 190678
10403-01

พัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

7. จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาสูตรตำรับ

10403-01.07 190679
10403-02

แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่

1. วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา

10403-02.01 190680
10403-02

แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่

2. เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา

10403-02.02 190681
10403-02

แก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่

3. จัดทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต

10403-02.03 190682

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

4. มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. สามารถพัฒนาสูตรตำรับผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง อย่างน้อย 5 ปี


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    ศึกษาข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง โดยต้องศึกษาและติดตามประกาศหรือข้อกำหนดต่างๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ เช่น ชื่อ ปริมาณ และเงื่อนไขของวัตถุที่มีการ กำหนดเงื่อนไขหรือจำกัดการใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น

2.     ตั้งสูตรตำรับได้ โดยพัฒนาสูตรตำรับตามข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท มีข้อมูลวัตถุดิบสารเคมีที่ใช้ และวัสดุบรรจุ เช่น ชื่อสมุนไพรและส่วนที่ใช้เป็นวัตถุดิบ การสกัดสมุนไพรด้วยวิธีการหมัก การแยกสารสำคัญจากสมุนไพรด้วยวิธี partition เป็นต้น 

3.    จัดทำผลิตภัณฑ์ตัวอย่างตามแผนการทดลองได้ตามสูตรตำรับ และใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

4.    ทดสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง และทดสอบความคงตัวเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เช่น การประเมินปริมาณสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ การประเมินระยะเวลาในการกระจายตัวของผลิตภัณฑ์รูปแบบเม็ด ปริมาณความชื้น การทดสอบผลิตภัณฑ์ในสภาวะเร่ง เป็นต้น

5.    ทดสอบความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง เช่น  การปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ การปนเปื้อนของโลหะหนัก ตัวทำละลายตกค้างกรณีที่มีการใช้ตัวทำละลายที่ไม่ใช่น้ำและเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นต้น

6.    ประเมินความพึงพอใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง โดยรวบรวมข้อมูลจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ 

7.    จัดทำรายงานสรุปผลการพัฒนาสูตรตำรับ โดยรวบรวมข้อมูลการพัฒนาสูตรตำรับ ได้แก่ วัตถุดิบ สารเคมีเครื่องมืออุปกรณ์ วิธีเตรียม ผลการทดสอบคุณภาพ ความปลอดภัย ความคงตัวเบื้องต้น ผลการประเมินความพึงพอใจ และจัดทำฉลากและเอกสารกำกับผลิตภัณฑ์ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

8.    วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาใหม่ เช่น การวิเคราะห์หาสาเหตุ กรณียาไม่สามารถตอกให้เป็นเม็ดได้ เป็นต้น

9.    เลือกใช้วิธีการแก้ไขปัญหาให้ตรงกับสาเหตุของปัญหา เช่น  การเพิ่มปริมาณสารก่อเจล หรือการปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง เพื่อแก้ปัญหาผลิตภัณฑ์เจลที่มีลักษณะเหลวเกินไป การปรับความแรง หรือระยะเวลาในการตอกเม็ดยาให้เหมาะสม เป็นต้น

10.     จัดทำรายงานสรุปผลการแก้ไขปัญหาระหว่างกระบวนการผลิต โดยรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น วิธีการและสรุปผลการแก้ไขปัญหา

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน 

18.2 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ