หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการความเสี่ยงด้านงานควบคุมคุณภาพ

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-EIGE-745A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการความเสี่ยงด้านงานควบคุมคุณภาพ

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดการความเสี่ยงด้านงานควบคุมคุณภาพอย่างเป็นระบบ โดยระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง และกำหนดแผนบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10316-01

ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1. รวบรวมขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีโอกาสเสี่ยงที่ส่งผลต่องานควบคุมคุณภาพ

10316-01.01 190526
10316-01

ระบุความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. ชี้บ่งความเสี่ยงของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ

10316-01.02 190527
10316-02

ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1. วิเคราะห์ความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ

10316-02.01 190528
10316-02

ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยง

10316-02.02 190529
10316-03

กำหนดแผนบริหารจัดการความเสี่ยงงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1. กำหนดขั้นตอนการดำเนินการจัดการความเสี่ยงในงานควบคุมคุณภาพ 

10316-03.01 190530
10316-03

กำหนดแผนบริหารจัดการความเสี่ยงงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง

10316-03.02 190531
10316-03

กำหนดแผนบริหารจัดการความเสี่ยงงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. จัดทำรายงาน สรุปผล และทบทวนแผนบริหารจัดการความเสี่ยง

10316-03.03 190532

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

4. มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้ในขั้นตอนและกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านงานควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยาอย่างน้อย 7 ปี หรือ

2. ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยา ระดับ 4 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. รวบรวมขั้นตอนหรือกระบวนการที่มีโอกาสเสี่ยงที่ส่งผลต่องานควบคุมคุณภาพ โดยพิจารณาทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงานควบคุมคุณภาพ 

2. ชี้บ่งความเสี่ยงของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ 

3. วิเคราะห์ความเสี่ยงในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ โดยพิจารณาจากโอกาสหรือความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นความเสี่ยงขึ้น 

4. ประเมินและจัดลำดับความเสี่ยง ด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) ซึ่งใช้ประเมินความเสี่ยงอันเนื่องมาจากความผิดพลาดและผลกระทบจากการเกิดความผิดพลาดนั้นต่อกระบวนการ โดยวิธีนี้เน้นให้ตระหนักถึงผลิตภัณฑ์และความเข้าใจในกระบวนการของผู้ปฏิบัติงาน ทำการกำหนดระดับความสูงต่ำของโอกาสเกิดและความรุนแรงของผลกระทบเพื่อจัดระดับความเสี่ยง และจัดลำดับความสำคัญในการจัดการ 

5. กำหนดขั้นตอนการดำเนินการจัดการความเสี่ยงในงานควบคุมคุณภาพ เพื่อการควบคุมหรือลดระดับความเสี่ยงของกิจกรรม โดยจัดทำเอกสารประกอบการทำงาน จัดอบรมและมีการแจกแจงหน้าที่ความรับผิดชอบรวมถึงระยะเวลาดำเนินงานให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนหรือทุกหน่วยงานสามารถดำเนินงานตามความรับผิดชอบของตนเองได้

6. กำกับดูแลและติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง โดยประสานงานและตรวจสอบข้อมูลกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ทั้งระหว่างการปฏิบัติงาน และเป็นรายครั้ง โดยเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับแผนงานว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่

7. จัดทำรายงาน สรุปผล และทบทวนแผนบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อใช้ในการปรับแผนการจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้น เช่น ทบทวนเกณฑ์การยอมรับความเสี่ยง ทบทวนมาตรการควบคุมความเสี่ยง เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ