หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารระบบการจัดการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-FLFZ-744A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารระบบการจัดการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 1321 ผู้จัดการด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้บริหารงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10315-01

จัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

1. ประเมินความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

10315-01.01 188493
10315-01

จัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

2.  ชี้แจงหลักการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบ

10315-01.02 188494
10315-01

จัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

3.  จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงาน

10315-01.03 188495
10315-01

จัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

4.  ติดตามผลการปฏิบัติงานตามนโยบายความปลอดภัย

10315-01.04 188496
10315-02

จัดการด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพ

1. รับรองและอนุมัติเอกสารวิธีปฏิบัติงาน

10315-02.01 188497
10315-02

จัดการด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพ

2. ตรวจติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน

10315-02.02 188498
10315-02

จัดการด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพ

3. ปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อความคุ้มทุน

10315-02.03 188499
10315-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

1. ประเมินสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน

10315-03.01 190522
10315-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

2. ชี้แจงหลักการจัดการสภาพแวดล้อม ให้ผู้ใต้บังคับบัญชารับทราบ

10315-03.02 190523
10315-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

3. วางระบบการกำจัดสิ่งเหลือใช้จากห้องปฏิบัติการ

10315-03.03 190524
10315-03

จัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

4. ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

10315-03.04 190525

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

4. มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะในการจัดการด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

2. มีทักษะในการจัดการด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพ

3. มีทักษะในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ด้านความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

2. มีความรู้ด้านกระบวนการควบคุมคุณภาพ

3. มีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยาอย่างน้อย 7 ปี หรือ

2. ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยา ระดับ 4 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ประเมินความเสี่ยงของปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น สารเคมี สารมาตรฐาน และอาหารเลี้ยงเชื้อ ต้องเก็บรักษาในที่ปลอดภัยและมีสภาวะการเก็บที่เหมาะสม สำหรับสารเคมีที่มีพิษควรมีตู้เก็บมิดชิด เป็นต้น

2. ชี้แจงหรือมอบหมายให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการจัดการด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานแก่บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ เช่น สารเคมีไวไฟ ไม่ควรเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เป็นต้น

3. จัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการปฏิบัติงานให้เพียงพอต่อการใช้งานและมีประสิทธิภาพ เช่น แว่นตา ถุงมือ เสื้อกาวน์ ผ้าปิดปาก เป็นต้น

4. ติดตามผลการปฏิบัติงานตามนโยบายความปลอดภัยในกระบวนการควบคุมคุณภาพ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ เช่น ระดับการสัมผัสในสถานที่ทำงาน เสียง ฝุ่น ควัน สารเคมี จำนวนการเกิดอุบัติเหตุที่เสียหายต่อทรัพย์สิน เป็นต้น

5. รับรองและอนุมัติเอกสารวิธีปฏิบัติงานที่ได้จัดทำขึ้น เช่น ทบทวน และทวนสอบเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

6. ตรวจติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา โดยพิจารณาจากเวลาในการปฏิบัติงาน รวมถึงผลการปฏิบัติงาน

7. วางแผนและปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อความคุ้มทุน เช่น การใช้สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม ไม่เหลือทิ้ง เป็นต้น

8. ประเมินสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียง และอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เป็นต้น

9. ชี้แจงหรือมอบหมายให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการให้ข้อมูลเกี่ยวกับหลักการจัดการสภาพแวดล้อมแก่บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ เช่น ห้องปราศจากฝุ่น มีแสงสว่างเพียงพอ มีอากาศถ่ายเทสะดวก เป็นต้น

10. วางระบบการกำจัดสิ่งเหลือใช้จากห้องปฏิบัติการตามแนวปฏิบัติ เช่น การฝังกลบ การเผาของเสีย หรือส่งให้หน่วยงานภายนอกกำจัด เป็นต้น

11. ติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมในกระบวนการควบคุมคุณภาพ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ เช่น การใช้/การจัดการ การจัดเก็บและการทิ้งสารเคมี เชื้อเพลิง วัสดุและกากของเสียอันตราย เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน

18.2 การสอบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ