หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ฝึกอบรมด้านการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-WVPR-741A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ฝึกอบรมด้านการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
อบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกายก่อนเข้าปฏิบัติงาน และอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานในการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา รวมถึงอบรมการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ต่างๆ ในการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตามคู่มือปฏิบัติงานให้พนักงานปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10312-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

1. ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล

10312-01.01 188431
10312-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

2. สาธิตวิธีปฏิบัติตามสุขอนามัยส่วนบุคคล

10312-01.02 188432
10312-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

3. ให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

10312-01.03 188433
10312-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

4. สาธิตวิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ

10312-01.04 188434
10312-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

1. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ

10312-02.01 188438
10312-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

2. อธิบายวิธีการใช้เครื่องมือด้านการควบคุมคุณภาพได้  10312-02.02 188439
10312-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

3. สาธิตการใช้เครื่องมือด้านการควบคุมคุณภาพได้ตามเอกสารกำกับเครื่อง

10312-02.03 188440
10312-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ 

4. บันทึกผลการฝึกอบรม

10312-02.04 188441

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

การถ่ายทอดขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยาตามคู่มือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วิธีการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล และการแต่งกาย 

2.    วิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ

3.    วิธีการใช้เครื่องมือ และการปฏิบัติงานด้านการการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยาอย่างน้อย 7 ปี หรือ

2. ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยา ระดับ 4 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. อบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกายก่อนเข้าปฏิบัติงาน และอบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ รวมถึงอบรมการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ด้านการควบคุมคุณภาพตามคู่มือปฏิบัติงานให้พนักงานปฏิบัติงานได้ถูกต้องและปลอดภัยตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การกําหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบัน และแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนโบราณ ตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2559

2. อบรมเกี่ยวกับข้อห้ามต่างๆ ที่ไม่ให้บุคลากรรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ สูบบุหรี่ หรือเก็บอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่และยารักษาโรคประจำตัวภายในบริเวณที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ วัตถุดิบ และวัสดุอื่นๆ ตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์

3. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น สารเคมีไวไฟ ไม่ควรเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการในปริมาณมากเกินกว่าที่จำเป็นสำหรับใช้ เป็นต้น

4. วิธีป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ เช่น ใส่แว่นตา ใส่ถุงมือ ใส่เสื้อกาวน์ เป็นต้น

5. ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ เช่น ขั้นตอนการตรวจการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เป็นต้น

6. วิธีการใช้เครื่องมือด้านการควบคุมคุณภาพ เช่น การใช้เครื่องชั่ง การใช้ปิเปตต์ การใช้จานเลี้ยงเชื้อ เป็นต้น

7. บันทึกผลการฝึกอบรม ได้แก่ เรื่องที่อบรม จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมอบรม วันที่เข้าอบรม เป็นต้น

8. ฝึกอบรมด้านการควบคุมคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ