หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ฝึกอบรมด้านการควบคุมคุณภาพทางเคมี

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-XORJ-740A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ฝึกอบรมด้านการควบคุมคุณภาพทางเคมี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2113 นักเคมี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานให้การอบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกายก่อนเข้าปฏิบัติงาน อบรมขั้นตอนการปฏิบัติงานในการควบคุมคุณภาพทางเคมี รวมถึงการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตามคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อให้พนักงานปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10311-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ

1.ให้ความรู้ความเข้าใจและสาธิตวิธีปฏิบัติเรื่องสุขอนามัยส่วนบุคคล

10311-01.01 188426
10311-01

อบรมการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ

2.ให้ความรู้ความเข้าใจและสาธิตวิธีปฏิบัติเรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

10311-01.02 188427
10311-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ

1. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพ

10311-02.01 188428
10311-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ

2. อธิบายและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องมือด้านการควบคุมคุณภาพตามคู่มือปฏิบัติงาน

10311-02.02 188429
10311-02

อบรมวิธีปฏิบัติงานควบคุมคุณภาพ

3. บันทึกและรายงานผลการฝึกอบรม

10311-02.03 188430

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

3.  ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

4.  มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพทางเคมี 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้เรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการ ได้แก่ สุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกาย และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน และมีความรู๊ในการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานควบคุมคุณภาพทางเคมี 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยาอย่างน้อย 7 ปี หรือ

2. ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมีหรือทางจุลชีววิทยา ระดับ 4 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. ศึกษาข้อมูลด้านสุขอนามัยส่วนบุคคล การแต่งกายก่อนเข้าปฏิบัติงานตามคู่มือหรือแนวปฏิบัติ พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้และสาธิตวิธีการปฏิบัติให้แก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม เช่น การรักษาความสะอาดส่วนบุคคล บุคลากรต้องล้างมือทุกครั้งเมื่อเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ภายหลังการใช้ห้องน้ำ และภายหลังจากปฏิบัติงาน ห้ามรับประทานอาหาร ของขบเคี้ยว เครื่องดื่ม รวมถึงสูบบุหรี่ หรือเก็บอาหาร เครื่องดื่ม บุหรี่ หรือยาประจำตัวในบริเวณดำเนินการผลิตและบริเวณจัดเก็บผลิตภัณฑ์ที่อยู่ระหว่างผลิต เป็นต้น

2. ศึกษาข้อมูลด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานตามคู่มือหรือแนวปฏิบัติ พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้และสาธิตวิธีการปฏิบัติให้แก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม เช่น การสวมชุดป้องกัน ถุงมือ หมวกคลุมศีรษะ/ผม และรองเท้าตามความเหมาะสม เพื่อป้องกันอันตรายจากการปนเปื้อนและสารเคมี เป็นต้น

3. อธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านการควบคุมคุณภาพให้แก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม เช่น ขั้นตอนการตรวจสารพิษตกค้าง ขั้นตอนการตรวจสารหนูและโลหะหนัก เป็นต้น

4. อธิบายและสาธิตวิธีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ ทางด้านการควบคุมคุณภาพที่เกี่ยวข้องตามคู่มือปฏิบัติงาน เช่น การใช้เครื่องชั่ง การใช้ตู้อบ การใช้อ่างอังไอน้ำ เป็นต้น

5. บันทึกและจัดทำรายงานผลการฝึกอบรม เช่น หัวข้อที่อบรม จำนวนบุคลากรที่เข้าร่วมอบรม วันที่เข้าอบรม ผลประเมินการอบรม เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ