หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-JTMC-738A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
กำหนดและทวนสอบวิธีการสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ และกำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10309-01

กำกับการตรวจคุณภาพของวัตถุดิบ

1.กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ 

10309-01.01 188409
10309-01

กำกับการตรวจคุณภาพของวัตถุดิบ

2.ทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพวัตถุดิบ 

10309-01.02 188410
10309-01

กำกับการตรวจคุณภาพของวัตถุดิบ

3.สรุปผลการตรวจคุณภาพวัตถุดิบ

10309-01.03 188411
10309-02 กำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

1.กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

10309-02.01 188412
10309-02 กำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

2.ทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

10309-02.02 188413
10309-02 กำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

3.สรุปผลการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

10309-02.03 188414
10309-02 กำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

4.กำจัดตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลังตรวจคุณภาพ

10309-02.04 188415

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะด้านการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบ และผลิตภัณฑ์ทั้งระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้ด้านการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยาตั้งแต่วัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ และผลิตภัณฑ์ทั้งระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างวัตถุดิบ โดยดูจากรูปแบบของผลิตภัณฑ์ เช่น การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาด, การเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวใช้ปิเปตต์ในการเก็บ, ใช้พายเหล็กไร้สนิมสำหรับตัวอย่างที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น

2. ทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพวัตถุดิบ โดยตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ชนิดอาหารเลี้ยงเชื้อ เครื่องมือในการตรวจคุณภาพ ปริมาณอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้ในการวิเคราะห์ เป็นต้น

3. สรุปผลการตรวจคุณภาพวัตถุดิบโดยดูจากวิธีการสุ่มตัวอย่างและวิธีการตรวจคุณภาพ

4. กำหนดวิธีการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ในช่วงต้น ช่วงกลางและช่วงท้าย ของการบรรจุหีบห่อ (อย่างน้อยจำนวน 1 หีบห่อบรรจุในแต่ละช่วง)

5. ทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยตรวจสอบฉลากและเอกสารกำกับยาว่ามีข้อความครบถ้วน ถูกต้องรวมทั้งตรวจสอบการบรรจุหีบห่อว่าถูกต้องแล้ว

6. สรุปผลการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โดยดูจากวิธีการสุ่มตัวอย่างและวิธีการตรวจคุณภาพ

7. กำจัดตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลังตรวจคุณภาพ เช่น การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดันไอน้ำ (autoclave) ของเสีย หรือส่งให้หน่วยงานภายนอกกำจัด

8. ควบคุมการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ