หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-DDBM-737A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานสุ่มตัวอย่าง วัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ ผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร เพื่อนำมาตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้ง พ.ศ. 2564

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10308-01

ตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบการผลิต 

1.สุ่มตัวอย่างวัตถุดิบและวัสดุการบรรจุ

10308-01.01 188397
10308-01

ตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบการผลิต 

2.ตรวจคุณภาพวัตถุดิบและวัสดุการบรรจุ 

10308-01.02 188398
10308-01

ตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบการผลิต 

3.บันทึกผลการตรวจคุณภาพ

10308-01.03 188399
10308-02

ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางจุลชีววิทยา

1.สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพร 

10308-02.01 188400
10308-02

ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางจุลชีววิทยา

2.ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรระหว่างการผลิต

10308-02.02 188401
10308-02

ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางจุลชีววิทยา

3.ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำเร็จรูป

10308-02.03 188402
10308-03

ตรวจสอบคุณภาพของอาหารเสริมจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

1.สุ่มตัวอย่างอาหารเสริมจากสมุนไพร

10308-03.01 188403
10308-03

ตรวจสอบคุณภาพของอาหารเสริมจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

2.ตรวจคุณภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรระหว่างการผลิต

10308-03.02 188404
10308-03

ตรวจสอบคุณภาพของอาหารเสริมจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

3.ตรวจคุณภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรสำเร็จรูป

10308-03.03 188405
10308-04

ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องสำอางจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

1.สุ่มตัวอย่างเครื่องสำอางจากสมุนไพร

10308-04.01 188406
10308-04

ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องสำอางจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

2.ตรวจคุณภาพเครื่องสำอางจากสมุนไพรระหว่างการผลิต

10308-04.02 188407
10308-04

ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องสำอางจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา 

3.ตรวจคุณภาพเครื่องสำอางจากสมุนไพรสำเร็จรูป

10308-04.03 188408

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะการตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบการผลิต

2. มีทักษะการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางจุลชีววิทยา

3. มีทักษะการตรวจสอบคุณภาพอาหารเสริมจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

4. มีทักษะการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องสำอางจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ด้านการตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบการผลิต

2. มีความรู้ด้านการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์สมุนไพรทางจุลชีววิทยา

3. มีความรู้ด้านการตรวจสอบคุณภาพของอาหารเสริมจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

4. มีความรู้ด้านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องสำอางจากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. สุ่มตัวอย่างวัตถุดิบและวัสดุการบรรจุ ได้แก่ การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาด การเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวใช้ปิเปตต์ เป็นต้น

2. ตรวจคุณภาพวัตถุดิบ ได้แก่ การตรวจสอบเอกลักษณ์ทางจุลชีววิทยาของวัตถุดิบสมุนไพร ปริมาณสารสำคัญหรือสารเปรียบเทียบ เป็นต้น

3. ตรวจคุณภาพวัสดุการบรรจุ ได้แก่ นำวัสดุบรรจุทดสอบหาเชื้อทางจุลชีววิทยา เป็นต้น

4. สุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพร อาหารเสริมจากสมุนไพร และเครื่องสำอางจากสมุนไพร ได้แก่ การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาด การเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวใช้ปิเปตต์ในการเก็บ และใช้พายเหล็กไร้สนิมสำหรับตัวอย่างที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น

5. ตรวจคุณภาพยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางจากสมุนไพรระหว่างการผลิต เช่น ตรวจการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในยาแคปซูลหรือในครีม เป็นต้น

6. ตรวจคุณภาพยาจากสมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และเครื่องสำอางจากสมุนไพรสำเร็จรูป ได้แก่ ตรวจการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ เช่น เชื้อ Pseudomonas aeruginosa, เชื้อ Staphylococcus aureus, เชื้อ Clostridium spp. และ เชื้อ Salmonella spp. เป็นต้น

7. ตรวจประเมินคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตามข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เกณฑ์มาตรฐาน ค่าความบริสุทธิ์ หรือคุณลักษณะอื่นอันมีความสำคัญต่อคุณภาพสำหรับตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ขึ้นทะเบียน แจ้งรายละเอียด หรือจดแจ้ง พ.ศ. 2564


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ