หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมี และอาหารเพาะเชื้อที่ใช้ในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-RIJP-735A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอุปกรณ์ สารเคมี และอาหารเพาะเชื้อที่ใช้ในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเตรียมอุปกรณ์และสารที่ใช้ในการตรวจคุณภาพได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน รวมทั้งดูแลและบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือในห้องปฏิบัติการให้พร้อมใช้งาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางจุลชีววิทยา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10306-01

เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 

1.เลือกใช้อุปกรณ์ตรวจคุณภาพ

10306-01.01 188378
10306-01

เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 

2.ทวนสอบความพร้อมของอุปกรณ์ตรวจคุณภาพ

10306-01.02 188379
10306-01

เตรียมอุปกรณ์ในการตรวจคุณภาพได้อย่างถูกต้อง 

3.บำรุงรักษาอุปกรณ์ตรวจคุณภาพ

10306-01.03 188380
10306-02

จัดการกับสารที่ใช้ในการตรวจคุณภาพจุลชีววิทยา 

1.เลือกใช้สารในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

10306-02.01 188381
10306-02

จัดการกับสารที่ใช้ในการตรวจคุณภาพจุลชีววิทยา 

2.เตรียมสารในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

10306-02.02 188382
10306-02

จัดการกับสารที่ใช้ในการตรวจคุณภาพจุลชีววิทยา 

3.กำจัดสารหลังการใช้ตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา

10306-02.03 188383

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะในการจัดเตรียมอุปกรณ์และสารเคมีที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพทางจุลชีววิทยา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การเลือกใช้และดูแลเครื่องมือและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ 

2. มีความรู้เกี่ยวกับสารเคมี อาหารเพาะเชื้อ วิธีการเตรียม และวิธีการกำจัดสารเคมีที่ใช้ในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. เลือกใช้อุปกรณ์ตรวจคุณภาพ เช่น การใช้ปิเปตต์ จานเลี้ยงเชื้อ ตู้อบเพาะเชื้อ ขวดแก้ว เป็นต้น

2. ทวนสอบความพร้อมของอุปกรณ์ตรวจคุณภาพ โดยตรวจสอบการใช้งานของอุปกรณ์ เช่น ความเที่ยงตรงของเครื่องชั่ง อุปกรณ์ไม่ชำรุด แตกหัก เป็นต้น

3. บำรุงรักษาอุปกรณ์ตรวจคุณภาพ เช่น ก่อนใช้เครื่องแต่ละครั้ง ควรเปิดเครื่องไว้อย่างน้อยประมาณ 15 นาทีก่อนใช้งาน เป็นต้น

4. เลือกใช้สารเคมีในการตรวจคุณภาพทางจุลชีววิทยา เช่น Butterfield's Phosphate-Buffered Dilution Water, 70% ethanol เป็นต้น

5. เตรียมสาร อาหารเลี้ยงเชื้อในการตรวจคุณภาพจุลชีววิทยา เช่น การเตรียม tryptic soy agar ที่อุณหภูมิ 45-50 °C แล้วเทลงบนจานเพาะเชื้อ จานละ 15-20 มิลลิลิตร เป็นต้น

6. กำจัดสารหลังการใช้งาน เช่น การนึ่งฆ่าเชื้อด้วยความดันไอน้ำ (autoclave) หรือส่งของเสียให้หน่วยงานภายนอกกำจัด โดยปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุในข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ