หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-SPEY-734A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2113 นักเคมี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
กำหนดแผนการศึกษาความคงสภาพและดำเนินการวิเคราะห์ความคงสภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพระราชบัญญํติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10305-01

กำหนดแผนการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1.  จัดทำแผนการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

10305-01.01 188372
10305-01

กำหนดแผนการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. จัดเก็บและควบคุมการเบิกจ่ายตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรไว้ในสภาวะที่มาตรฐานกำหนด

10305-01.02 188373
10305-01

กำหนดแผนการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3. ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรเพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ ตามหัวข้อการทดสอบที่กำหนด

10305-01.03 188374
10305-02
วิเคราะห์ความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพร 

1. รวบรวมผล สรุปผลการตรวจและรายงานผลการวิเคราะห์ตรวจความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์

10305-02.01 188375
10305-02
วิเคราะห์ความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพร 

2. สืบสวนหาสาเหตุ หากพบว่าความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านข้อกำหนดเฉพาะ

10305-02.02 188376
10305-02
วิเคราะห์ความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์
จากสมุนไพร 

3. ดูแลการเก็บตัวอย่างอ้างอิงและตัวอย่างเก็บกันให้เป็นไปตามข้อกำหนด

10305-02.03 188377

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

4. ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

5. มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะด้านการกำหนดแผนศึกษาและดำเนินการตรวจความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในกระบวนการและขั้นตอนการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. มีความรู้ในการวิเคราะห์และประเมินผลการการศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร  

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมี อย่างน้อย 5 ปี หรือ

2.  ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี ระดับ 3 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    จัดทำแผนศึกษาความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรตามข้อกำหนด เช่น ASEAN Guidelines on Stability Study and Shelf Life of Traditional Medicine โดยภายหลังการปล่อยผ่านผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาด ต้องมีการกำหนดแผนการตรวจติดตามความคงสภาพอย่างต่อเนื่อง และครอบคลุมถึงวันสิ้นสุดอายุการใช้ เช่น ระบุระยะเวลาในการศึกษา สภาวะการจัดเก็บ วิธีการทดสอบ และเกณฑ์การยอมรับ เป็นต้น พร้อมทั้งกำหนดจำนวนตัวอย่างสำหรับติดตามความคงตัวของผลิตภัณฑ์และจัดทำ stability study protocol

2.    จัดเก็บและควบคุมการเบิกจ่ายตัวอย่างผลิตภัณฑ์ไว้ในสภาวะที่มาตรฐานกำหนด โดยจัดเก็บในสภาวะตามที่ได้ยื่นขอรับรองผลิตภัณฑ์กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือตาม ICH guideline

3.    ส่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี โดยส่งให้ห้องปฏิบัติการของหน่วยงานหรือส่งให้หน่วยงานภายนอกตรวจ ตามระยะเวลา (time point) ที่กำหนดในแผนการติดตามความคงสภาพ

4.    รวบรวมผล สรุปผลการตรวจและรายงานผลการวิเคราะห์ความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ โดยระบุวิธีการตรวจคุณภาพ สภาวะการจัดเก็บ ระยะเวลาในการศึกษา และความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์

5.    สืบสวนหาสาเหตุ หากพบว่าความคงสภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์ไม่ผ่านข้อกำหนดเฉพาะ หรือพบแนวโน้มที่มีความผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญ และรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการแก้ไข เรียกคืนผลิตภัณฑ์ และแจ้งไปยังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

6.    จัดการตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เมื่อครบอายุการจัดเก็บตามแผนการติดตามความคงสภาพ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 คู่มือมาตรฐานการผลิตยาสมุนไพร WHO guidelines on good manufacturing practices (GMP) เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ