หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมกระบวนการตรวจคุณภาพทางเคมี

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-KLEW-733A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมกระบวนการตรวจคุณภาพทางเคมี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 2113 นักเคมี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
กำหนดและทวนสอบกระบวนการสุ่มตัวอย่าง กระบวนการตรวจคุณภาพของตัวอย่าง ได้แก่ วัตถุดิบสมุนไพร ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและผลิตภัณฑ์รอบรรจุ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้อย่างถูกต้อง และกำกับการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น พระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10304-01
กำกับการตรวจคุณภาพของปัจจัยการผลิต
ทางเคมี

1. กำหนดและจัดทำคู่มือวิธีและแผนการสุ่มตัวอย่างปัจจัยการผลิต

10304-01.01 188365
10304-01
กำกับการตรวจคุณภาพของปัจจัยการผลิต
ทางเคมี

2. กำหนด จัดทำคู่มือ และทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพปัจจัยการผลิต

10304-01.02 188366
10304-01
กำกับการตรวจคุณภาพของปัจจัยการผลิต
ทางเคมี

3. รายงานและสรุปผลการตรวจคุณภาพปัจจัยการผลิต

10304-01.03 188367
10304-02 กำกับการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูปทางเคมี

1. กำหนดและจัดทำคู่มือวิธีและแผนการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูป

10304-02.01 188368
10304-02 กำกับการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูปทางเคมี

2. กำหนด จัดทำคู่มือ และทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูป

10304-02.02 188369
10304-02 กำกับการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูปทางเคมี

3. รายงานและสรุปผลการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูป

10304-02.03 188370
10304-02 กำกับการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูปทางเคมี

4. จัดการตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลังตรวจคุณภาพ

10304-02.04 188371

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และสารเคมีในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน

4. ทักษะด้านภาษาไทยและอังกฤษ

5. มีจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อชุมชน/สังคม

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะในการควบคุมการตรวจคุณภาพทางเคมีของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการตรวจคุณภาพของปัจจัยการผลิตทางเคมี

2. มีความรู้ในการตรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิตและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูปทางเคมี 

3. มีความรู้ในการจัดการผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลังตรวจคุณภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมี อย่างน้อย 5 ปี หรือ

2. ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรทางเคมี ระดับ 3 อย่างน้อย 3 ปี 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.กำหนดวิธีและจัดทำคู่มือวิธีและแผนการสุ่มตัวอย่างปัจจัยการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ วัสดุบรรจุ โดยดูจากรูปแบบของปัจจัยการผลิต ให้ถูกต้องตามหลักสถิติ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บแล้วนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บมาเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาดและการปนเปื้อน การเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวให้ใช้ปิเปต การเก็บตัวอย่างที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้งให้ใช้พายสแตนเลส เป็นต้น และคำนวณจำนวนตัวอย่างที่ต้องสุ่มเพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปตรวจวิเคราะห์

2.กำหนด จัดทำคู่มือ และทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพปัจจัยการผลิต ให้ถูกต้องเหมาะสมตามชนิดของปัจจัยการผลิต และสอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (Method validation) การตรวจหากลุ่มของสารสำคัญโดยปฏิกิริยาการเกิดสี การตกตะกอน การตรวจหาปริมาณสารสำคัญด้วยวิธีโครมาโทกราฟี เป็นต้น

3. รายงานและสรุปผลการตรวจคุณภาพปัจจัยการผลิต ได้ถูกต้องและเป็นระบบ

4. กำหนดและจัดทำคู่มือวิธีและแผนการสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูป ให้ถูกต้องตามหลักสถิติ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และประกาศกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สุ่มเก็บตัวอย่างในช่วงต้น ช่วงกลางและช่วงท้าย ของการบรรจุหีบห่อ (อย่างน้อยจำนวน 1 หีบห่อบรรจุในแต่ละช่วง) เป็นต้น และคำนวณจำนวนตัวอย่างที่ต้องสุ่มเพื่อให้เพียงพอต่อการนำไปตรวจวิเคราะห์

5. กำหนด จัดทำคู่มือ และทวนสอบวิธีการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ระหว่างการผลิต และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรสำเร็จรูป เช่น ตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ (Method validation) ตรวจสอบฉลากและเอกสารกำกับยาว่ามีข้อความครบถ้วน ถูกต้องรวมทั้งตรวจสอบการบรรจุหีบห่อว่าถูกต้องแล้ว เป็นต้น”

6. รายงานและสรุปผลการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ได้ถูกต้องและเป็นระบบ

7. จัดการตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรหลังตรวจคุณภาพ เช่น การติดฉลากระบุให้ทราบสถานะว่าเป็นตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรรอทำลาย เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ