หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ และผลิตภัณฑ์

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-CQWD-731A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ และผลิตภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานสุ่มเก็บตัวอย่าง ได้แก่ วัตถุดิบ วัสดุการบรรจุ ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและผลิตภัณฑ์รอบรรจุ รวมทั้งผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เพื่อนำมาตรวจคุณลักษณะทางกายภาพและจัดทำรายงานผลการทดสอบ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพ.ร.บ.ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 เป็นต้น

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10302-01

เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ

1. สุ่มเก็บตัวอย่างตามวิธีการปฏิบัติและดูแลตัวอย่างในระหว่างขนส่ง

10302-01.01 188355
10302-01

เก็บตัวอย่างเพื่อตรวจคุณภาพ

2. เก็บรักษาตัวอย่างเพื่อรอการตรวจสอบ

10302-01.02 188356
10302-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพและจัดทำรายงานผลการทดสอบ

1.ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบ

10302-02.01 188357
10302-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพและจัดทำรายงานผลการทดสอบ

2.ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัสดุบรรจุ

10302-02.02 188358
10302-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพและจัดทำรายงานผลการทดสอบ

3.ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและผลิตภัณฑ์รอบรรจุ

10302-02.03 188359
10302-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพและจัดทำรายงานผลการทดสอบ

4.ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

10302-02.04 188360

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ

3. ทักษะการใช้อุปกรณ์เพื่อสุ่มตัวอย่าง

4. มีความรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสุ่มตัวอย่างและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพ

2. มีทักษะในการตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ และการรายงานผล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการสุ่มตัวอย่างและเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพ                                                                                                                                                                                                                   2. มีความรู้ในการตรวจคุณลักษณะทางกายภาพ และการรายงานผล

3. มีความรู้ในการคำนวณ การใช้สถิติพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  เป็นต้น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมี อย่างน้อย 3 ปี


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างตามแผนการสุ่มตัวอย่างที่กำหนดในคู่มือปฏิบัติงาน โดยจำนวนตัวอย่างต้องมีปริมาณเพียงพอสำหรับนำมาทดสอบคุณภาพ และเป็นตัวแทนของรุ่น ตามวิธีการทางสถิติที่ระบุไว้ในแผนการสุ่ม พร้อมทำบันทึกการสุ่มตัวอย่าง ซึ่งสอดคล้องกับประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2564 และประกาศกระทรวงฯ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเก็บตัวอย่างที่เป็นผงให้ใช้ท่อเหล็กสแตนเลสในการเก็บ โดยเก็บให้ครบทั้งช่วงบน กลาง และล่างของภาชนะจัดเก็บแล้วนำมาผสมกัน ถ้าจำนวนที่เก็บมาเกิน ไม่ควรเทกลับคืน เพื่อป้องกันการสับสนผิดพลาด และการปนเปื้อน หรือการเก็บตัวอย่างที่เป็นของเหลวให้ใช้ปิเปต เป็นต้น

2. เก็บรักษาตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มลงในภาชนะบรรจุตัวอย่างที่สะอาด สภาวะแวดล้อมที่เก็บรักษาเหมาะสมไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของตัวอย่าง และสามารถป้องกันการปนเปื้อน เช่น ขวดแก้วที่มีฝาปิดสนิท และติดฉลากเพื่อระบุถึงสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน รวมทั้งหมายเลขรุ่น วันที่สุ่มตัวอย่าง และภาชนะที่ได้ทำการสุ่มตัวอย่างมา

3. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบเคมีและสมุนไพร โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าร่วมกับอุปกรณ์ เพื่อตรวจสอบชนิดของวัตถุดิบเคมี วัตถุดิบสมุนไพรและสังเกตการปลอมปน พร้อมจัดทำบันทึกผลการทดสอบและรายงานผล ตัวอย่างการทดสอบวัตถุดิบเคมี เช่น การสังเกตสี สถานะ (ของแข็ง/ของเหลว/กึ่งแข็งกึ่งเหลว) ส่วนการทดสอบวัตถุดิบสมุนไพร เช่น การสังเกตรูปร่าง ขนาด ลักษณะผิวนอก รอยหัก รอยย่น สีเนื้อในของสมุนไพร ด้วยตาเปล่าหรือใช้แว่นขยาย การดมกลิ่น การชิมรส การฟังเสียงหักหรือแตก การสัมผัส เป็นต้น

4. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของวัสดุการบรรจุ จัดทำบันทึกผลการทดสอบและรายงานผล เช่น การแตกร้าว การปิดสนิทของฝา รอยรั่ว ความชัดเจนของการพิมพ์ฉลาก ความถูกต้องของการพิมพ์ฉลาก เป็นต้น

5. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิตและผลิตภัณฑ์รอบรรจุ จัดทำบันทึกผลการทดสอบและรายงานผลการทดสอบตามคู่มือปฏิบัติและข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ เช่น การแตกของเม็ดยา การบุบของแคปซูล ความเข้ากันของเนื้อครีม การตรวจสอบขนาดผงยา เป็นต้น

6. ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป พร้อมจัดทำบันทึกผลการทดสอบและรายงานผล เช่น การทดสอบการผันแปรของน้ำหนักผงยา/หน่วย (weight variation) น้ำหนักบรรจุต่อหน่วย ปริมาณบรรจุต่อหน่วย เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ