หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือและสารเคมีที่ใช้ในการตรวจคุณภาพทางเคมี

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-NAEQ-730A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือและสารเคมีที่ใช้ในการตรวจคุณภาพทางเคมี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 3111 ช่างเทคนิคด้านเคมีและวิทยาศาสตร์กายภาพ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานในด้านการเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือและสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพได้อย่างถูกต้อง สามารถบำรุงรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน รวมทั้งสามารถจัดการสารเคมีหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10301-01

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ

1. เตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

10301-01.01 188350
10301-01

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ

2. ตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์/ เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

10301-01.02 188351
10301-01

จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ

3. บำรุงรักษาและตรวจคุณภาพอุปกรณ์/เครื่องมือตามคู่มือ

10301-01.03 188352
10301-02

จัดเตรียมและจัดการสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

1. เตรียมสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพตามคู่มือการปฏิบัติงาน

10301-02.01 188353
10301-02

จัดเตรียมและจัดการสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

2. แยกประเภทและจัดการสารเคมีหลังการใช้งาน

10301-02.02 188354

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน

2. ทักษะการใช้อุปกรณ์/เครื่องมือและสารเคมีในห้องปฏิบัติการ 

3. ทักษะด้านภาษาไทยและภาษาอังกฤษเบื้องต้น

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีทักษะการใช้และบำรุงรักษาอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. มีความรู้ในการเตรียมสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพ

2. มีความรู้ในการแยกประเภทจัดการสารเคมีที่ใช้ในงานควบคุมคุณภาพ

3. มีความรู้เรื่องความปลอดภัยในการใช้สารเคมี การใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ ว่ามีประสบการณ์การทำงานต่อเนื่อง ด้านการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องทางเคมี อย่างน้อย 3 ปี


15. ขอบเขต (Range Statement)

1.    จัดเตรียมเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการตรวจคุณภาพตามคู่มือปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม เช่น เครื่องชั่งทศนิยม 2 ตำแหน่ง ที่คีบ (forceps) หลอดทดลอง เป็นต้น

2.    ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจคุณภาพตามคู่มือการใช้ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ก่อนการใช้เครื่องชั่งต้องตรวจสอบระดับลูกน้ำ (level indicator) ให้อยู่ในแนวราบ เปิดเครื่องชั่งอย่างน้อย 15 นาที เมื่อหน้าปัดตัวเลขเครื่องชั่ง 2 ตำแหน่งแสดงสถานะ 0.00 g แสดงว่าเครื่องชั่งพร้อมใช้งาน หรืออุปกรณ์อื่นๆ อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ไม่ชำรุด-แตกหัก เป็นต้น

3.    จัดเก็บและดูแลบำรุงรักษาเครื่องมือ/อุปกรณ์หลังการใช้งานตามคู่มือการใช้ เช่น หลังใช้งานเครื่องชั่ง ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีวัตถุใดอยู่บนจานชั่ง กดปุ่ม tare เพื่อให้หน้าปัดแสดงสถานะ 0.00 g แล้วจึงกดปุ่มปิดเครื่อง ดึงปลั๊กออก และปัดทำความสะอาดจานชั่งด้วยแปรงให้ไม่มีฝุ่นผง จากนั้นคลุมผ้าและลงบันทึกการใช้เครื่องให้เรียบร้อย และทำการตรวจสภาพเครื่องชั่งตามตารางเวลาบำรุงรักษา เป็นต้น

4.    เตรียมสารเคมีที่ใช้ในการตรวจคุณภาพ โดยเลือกใช้ได้ถูกต้องตามคู่มือปฏิบัติงาน และใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลตามคู่มือปฏิบัติงาน เช่น ในการหาปริมาณเถ้าที่ไม่ละลายในกรด สารเคมีที่ใช้คือ กรดเกลือ (hydrochloric acid) ความเข้มข้น 2 โมล่าร์ (molar) ปริมาณ 25 มิลลิลิตร โดยสามารถเตรียมได้จากกรดเข้มข้น 37% โดยจะต้องสามารถคำนวณเพื่อตวงกรดให้เหมาะสมกับปริมาตรของสารละลายที่ต้องการเตรียม และมีเทคนิคการเตรียมที่ถูกต้อง โดยการเทกรดลงในน้ำ เป็นต้น

5.    ดำเนินการแยกประเภท ติดฉลาก และจัดการสารเคมีหรือของเสีย (waste) หลังการใช้งาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมตามคู่มือหรือแนวปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เช่น การฝังกลบ การเผา หรือการส่งให้หน่วยงานภายนอกกำจัด เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การสอบข้อเขียน 



ยินดีต้อนรับ