หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-EHDU-721A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพระหว่างกระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7543 ผู้คัดคุณภาพและทดสอบผลิตภัณฑ์ ยกเว้นอาหารและเครื่องดื่ม

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อนำมาตรวจสอบคุณลักษณะทางกายภาพ และสามารถใช้เครื่องมือในการทำสอบคุณลักษณะทางกายภาพตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562” พ.ศ.2564

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10205-01

เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1.จัดเตรียมอุปกรณ์สุ่มตัวอย่าง 

10205-01.01 188277
10205-01

เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2.สุ่มตัวอย่าง

10205-01.02 188278
10205-01

เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3.บันทึกการสุ่มตัวอย่าง

10205-01.03 188279
10205-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

1.เตรียมเครื่องมือทดสอบ 

10205-02.01 188280
10205-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2.ทดสอบลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

10205-02.02 188281
10205-02

ตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

3.บันทึกผลการทดสอบ

10205-02.03 188282

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

2. ทักษะการใช้เครื่องมือทดสอบคุณภาพ

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีทักษะการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

2. มีทักษะการใช้เครื่องมือทดสอบการตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้การตรวจคุณลักษณะทางกายภาพของผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการอบรม (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่าง โดยทำความสะอาด ตรวจสอบความพร้อมของ

เครื่องมือและอุปกรณ์ เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างในแต่ละประเภท เช่น อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบชิ้น อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบผง อุปกรณ์สุ่มตัวอย่างแบบของเหลว และดำเนินการสุ่มตัวอย่างโดยใช้อุปกรณ์การเก็บตัวอย่าง เช่น ใช้ท่อเหล็กสแตนเลสสำหรับตัวอย่างที่เป็นผง ใช้ปิเปตสำหรับตัวอย่างที่เป็นของเหลว ใช้พายเหล็กไร้สนิมสำหรับตัวอย่างที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องสะอาดและแห้งสนิท พร้อมบันทึกผลการสุ่มตัวอย่างลงในเอกสารการผลิตโดยระบุจำนวนตัวอย่างที่สุ่ม ชื่อผลิตภัณฑ์ที่สุ่ม ชื่อผู้สุ่ม หมายเลขรุ่นของผลิตภัณฑ์ที่สุ่ม



 2. การเตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบทางกายภาพ ได้แก่ เครื่องชั่ง เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง 

เครื่องวัดความหนืด  เครื่องวัดความแข็ง และเครื่องวัดความหนา โดยทำความสะอาดด้วยสารทำความสะอาด เปิดเครื่องมือทดสอบให้พร้อมใช้งาน แล้วดำเนินการทดสอบลักษณะทางกายภาพ เช่น เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง เครื่องวัดความแข็ง เครื่องวัดความหนา เป็นต้น พร้อมบันทึกผลการตรวจโดยบันทึกค่าที่ได้จากการทดสอบ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน 

18.2 การสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ