หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมปัจจัยการผลิต

สาขาวิชาชีพบริการสุขภาพ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HLT-PREW-717A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมปัจจัยการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 4322 เสมียนด้านการผลิต

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ปฏิบัติงานเตรียมห้องผลิต เครื่องจักร เตรียมวัตถุดิบและวัสดุบรรจุได้ตามขั้นตอนของคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนด หลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดี หรือประกาศกระทรวงตามประเภทผลิตภัณฑ์ เช่น ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง “หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562” พ.ศ.2564

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201-01

เตรียมห้องผลิต

1.ตรวจสอบความสะอาดห้องผลิต 

10201-01.01 188228
10201-01

เตรียมห้องผลิต

2.ทำความสะอาดห้องผลิต 

10201-01.02 188229
10201-01

เตรียมห้องผลิต

3.บันทึกเอกสารการเตรียมห้องผลิต

10201-01.03 188230
10201-02

เตรียมเครื่องจักร

1.ทำความสะอาดเครื่องจักรตามคู่มือวิธีการใช้เครื่องจักร

10201-02.01 188231
10201-02

เตรียมเครื่องจักร

2.ประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักรพื้นฐานที่ใช้ในการผลิตตามคู่มือวิธีการใช้เครื่องจักร

10201-02.02 188232
10201-02

เตรียมเครื่องจักร

3.ทดสอบความพร้อมใช้งานของเครื่องจักร

10201-02.03 188233
10201-02

เตรียมเครื่องจักร

4.ตั้งค่าเครื่องจักรให้ทำงานตามคู่มือวิธีการใช้เครื่องจักร

10201-02.04 188234
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

1.ตรวจสอบชื่อหรือขนิดของวัตถุดิบ

10201-03.01 188239
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

2.ตรวจเอกลักษณ์ทางกายภาพของวัตถุดิบ

10201-03.02 188240
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

3.ตรวจปริมาณของวัตถุดิบตามใบส่งวัตถุดิบ

10201-03.03 188241
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

4.คัดแยกสิ่งแปลกปลอมออกจากวัตถุดิบ

10201-03.04 188242
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

5.ทำความสะอาดวัตถุดิบ

10201-03.05 188243
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

6.ลดขนาดวัตถุดิบ

10201-03.06 188244
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

7.ทำวัตถุดิบให้แห้ง

10201-03.07 188245
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

8.ตรวจวัดความชี้นของวัตถุดิบ 

10201-03.08 188246
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

9.สกัดวัตถุดิบสมุนไพรตามเอกสารการผลิต

10201-03.09 188247
10201-03

เตรียมวัตถุดิบ

10.บันทึกเอกสารการเตรียมวัตถุดิบ

10201-03.10 188248
10201-04

เตรียมวัสดุการบรรจุ

1.ตรวจความถูกต้องของวัสดุบรรจุตามใบส่งวัสดุบรรจุ

10201-04.01 188249
10201-04

เตรียมวัสดุการบรรจุ

2.ทำความสะอาดวัสดุบรรจุ 

10201-04.02 188250
10201-04

เตรียมวัสดุการบรรจุ

3.บันทึกเอกสารการเตรียมวัสดุบรรจุ

10201-04.03 188251

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการใช้เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์เกี่ยวกับการผลิต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้เรื่องเบื้องต้นเกี่ยวกับวัตถุดิบ เช่น การตรวจสอบ การเตรียม และการสกัดหรือแปรรูปวัตถุดิบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

เอกสารรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ  เอกสารรับรองผลการเรียน หรือเอกสารรับรองการอบรม (ถ้ามี)


15. ขอบเขต (Range Statement)

1. การตรวจสอบความสะอาดห้องผลิตก่อนการปฏิบัติงาน

2. การทำความสะอาดห้องผลิตหลังปฏิบัติงานโดยใช้ผ้าชุบน้ำหรือสารทำความสะอาด และเช็ดให้แห้ง เป็นต้น

3. การทำความสะอาดเครื่องจักรและอุปกรณ์ก่อนการใช้งาน โดยใช้ผ้าชุบแอลกอฮอล์ 70% สลับกับน้ำยาทำความสะอาด ตามช่วงระยะเวลาที่ระบุในคู่มือปฏิบัติงานทำความสะอาดเครื่องจักรก่อนการปฏิบัติงาน และหลังจากการใช้งาน ใช้เครื่องดูดฝุ่นออกจากเครื่องจักร แล้วใช้ผ้าชุบน้ำ หรือใช้น้ำล้างทำความสะอาด และเช็ดให้แห้งใช้ลมเป่าให้แห้ง เป็นต้น

4.การจัดเก็บและบำรุงรักษาเครื่องจักรและอุปกรณ์หลังการใช้งานตามคู่มือการใช้

5.การถอดประกอบชิ้นส่วนเครื่องจักร และตั้งค่าเครื่องจักรให้สามารถใช้งานได้ถูกต้องตามคู่มือวิธีการใช้งานเครื่องจักร

6.ทวนสอบความพร้อมของเครื่องจักร โดยตรวจสอบความถูกต้องในการประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร และทดสอบการเดินเครื่องว่าสามารถใช้งานได้ปกติ เป็นต้น

7.ตรวจสอบลักษณะทางกายภาพของวัตถุดิบและระบุชนิดวัตถุดิบได้ โดยการดูลักษณะสี รูปร่าง ขนาดของวัตถุดิบ เช่น ขมิ้นชัน ใช้ส่วนของเหง้า มีสีเหลืองหรือเหลืองเข้ม ,บอระเพ็ด ใช้ส่วนของเถา เถามีลักษณะกลม ผิวขรุขระไม่เรียบ มีรสขมเย็น เป็นต้น

8. ตรวจสอบความถูกต้องของปริมาณวัตถุดิบให้ตรงกับใบรายการผลิต หรือชั่งเพื่อตรวจสอบน้ำหนักและ

ปริมาณอีกครั้ง เป็นต้น

9. คัดแยกสิ่งแลกปลอมออกจากวัตถุดิบ โดยคัดเอาเศษดิน หิน หญ้า แยกออกจากวัตถุดิบ เป็นต้น

10. การทำความสะอาดวัตถุดิบ เช่น การล้าง เป็นต้น

11. การลดขนาดวัตถุดิบ โดยการ หั่น สับ บด หรือแร่ง เป็นต้น

12. การทำวัตถุดิบให้แห้ง โดยการนำเข้าตู้อบลมร้อน ตากแดด ผึ่งลม ที่อุณหภูมิ 40-55 องศาเซลเซียสเป็นต้น

13. การตรวจวัดความชื้นของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องวัดความชื้น หากความชื้นเกินกว่ากำหนดให้ทำการนำเข้าตู้อบเพื่อลดความชื้น เป็นต้น

14. การสกัดวัตถุดิบสมุนไพร โดยวิธี การหมัก การต้ม การทอด การเคี่ยว การบีบ การคั้น การกลั่น 

เป็นต้น

15. การบันทึกเอกสารการเตรียมวัตถุดิบ โดยระบุชื่อของวัตถุดิบ วิธีการเตรียมวัตถุดิบ ปริมาณวัตถุดิบ วันเดือนปี เวลา ลายมือชื่อผู้เตรียม เป็นต้น

16. การตรวจความถูกต้องของวัสดุบรรจุ เช่น ขวดแก้ว ขวดพลาสติก ฟองน้ำ ฝาฟอยล์ ฟิล์มหด 

ซิลิกาเจล หรือฝาจุก ให้ถูกต้องตามเอกสารใบสั่งการผลิต 

17. วิธีการทำความสะอาดวัสดุบรรจุ เช่น เป่า ล้าง อบ เป็นต้น

18. บันทึกเอกสารการเตรียมวัสดุบรรจุ โดย ชนิดของวัสดุการบรรจุ จำนวน วันเดือนปี เวลา ลายมือชื่อ

ผู้เตรียม เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การสอบข้อเขียน 

18.2 การสอบปฏิบัติ โดยการสาธิตการปฏิบัติงานหรือการสังเกตการปฏิบัติงาน

 



ยินดีต้อนรับ