หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Management)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-IGZA-274B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Management)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2354 : ครูสอนดนตรีอื่นๆ    



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมสมรรถนะในการจัดทำแผนพัฒนาวงดุริยางค์ วางแผนการจัดกิจกรรม กำหนด บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งต่างๆ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของวงดุริยางค์ สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1020101

วางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์ (Music Ensemble Planning)

1. กำหนดเป้าหมาย แผนงานต่างๆ ได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของวงดุริยางค์

1020101.01 189909
1020101

วางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์ (Music Ensemble Planning)

2. จัดทำแผนพัฒนาวงดุริยางค์ได้ชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร

1020101.02 189910
1020101

วางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์ (Music Ensemble Planning)

3. วางแผนกิจกรรมวงดุริยางค์ได้เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และหน่วยงานภายนอก

1020101.03 189911
1020101

วางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์ (Music Ensemble Planning)

4. กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ในการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้  เพื่อใช้ในการประเมินผล

1020101.04 189912
1020102

จัดองค์กรวงดุริยางค์ (Music Ensemble Organizing)

1. เข้าใจโครงสร้างและระบบงานภายในวงดุริยางค์และภายนอกองค์กร ได้ถูกต้อง

1020102.01 189913
1020102

จัดองค์กรวงดุริยางค์ (Music Ensemble Organizing)

2. กำหนด บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจนเหมาะสมเป็นระบบตามขอบเขตงาน 

1020102.02 189914
1020103

แก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Problem Solving)

1. ระบุปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์ได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์

1020103.01 189915
1020103

แก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Problem Solving)

2. วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์ได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์

1020103.02 189916
1020103

แก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Problem Solving)

3. กำหนดแนวทาง วิธีการ ขั้นตอน และเครื่องมือต่างๆ ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวงดุริยางค์เพื่อแก้ไขปัญหา ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสม

1020103.03 189917
1020103

แก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์ (Music Ensemble Problem Solving)

4. ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์ได้เหมาะสมตามสถานการณ์และตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร

1020103.04 189918
1020104

ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของวงดุริยางค์ (Music Ensemble Teamwork)

1. สนับสนุนให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ของวงดุริยางค์ ด้วยบรรยากาศที่ส่งเสริมความไว้วางใจ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในวงดุริยางค์ 

1020104.01 189919
1020104

ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของวงดุริยางค์ (Music Ensemble Teamwork)

2. จัดการกับปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งภายในวงดุริยางค์ โดยเน้นเป้าหมายของกิจกรรมวงดุริยางค์เป็นสำคัญ

1020104.02 189920
1020105

สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ (Music Ensemble Motivation)

1. วิเคราะห์พฤติกรรม (Behavior) ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวงดุริยางค์ได้อย่างเหมาะสม

1020105.01 189921
1020105

สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ (Music Ensemble Motivation)

2. เลือกใช้วิธีการเสริมแรงบวกแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม 

1020105.02 189922
1020105

สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ (Music Ensemble Motivation)

3. สร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน

1020105.03 189923
1020106

ให้คำปรึกษา (Music Ensemble Consulting


1. รับฟังและรวบรวมปัญหาที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมวงดุริยางค์จากผู้ขอคำปรึกษาได้อย่างถูกต้องตามสถานการณ์

1020106.01 189924
1020106

ให้คำปรึกษา (Music Ensemble Consulting


2. ค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมวงดุริยางค์จากผู้ขอคำปรึกษาได้อย่างเหมาะสม

1020106.02 189925
1020106

ให้คำปรึกษา (Music Ensemble Consulting


3. วิเคราะห์แนวทางในการให้คำปรึกษาได้เหมาะสมตามสถานการณ์

1020106.03 189926
1020106

ให้คำปรึกษา (Music Ensemble Consulting


4. ให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ได้เหมาะสมตามสถานการณ์

1020106.04 189927

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

    1. ทักษะด้านเทคนิค (Technical Skills)

    2. ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ (Human Skills) 

    3. ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills)

    4. ทักษะในการวางแผนและจัดทำแผน

    5. ทักษะในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

    6. ทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ แรงจูงใจ ส่งเสริมการเรียนรู้

    7. ทักษะในการให้คำปรึกษา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้หลักการบริหารงานดนตรีวงดุริยางค์

2. ความรู้การบริหารงบประมาณในสถานศึกษา ตามพระราชบัญญัติ กฎหมาย และระเบียบราชการ

3. ความรู้การบริหารบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัติ กฎหมาย และระเบียบราชการ 

4. ความรู้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ 

5. ความรู้ในการเขียนแผนการพัฒนาวงดุริยางค์

6. ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก

7. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

         1. เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน 

         2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

         3. แฟ้มสะสมผลงาน ที่ประกอบด้วย

            - แผนการพัฒนาวงดุริยางค์ที่ผู้เข้ารับการประเมินดำเนินการจัดทำ โดยมีแผนแบบรายปีการศึกษา หรือรายปีงบประมาณ

            - โครงการที่ผู้เข้ารับการประเมินดำเนินการจัดทำที่อยู่ภายใต้แผนงาน ภายในระยะเวลา 5 ปี ย้อนหลัง นับจากวันที่ยื่นขอรับการประเมิน 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1. เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

        2. เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

         พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง)    วิธีการประเมิน    

         ประเมินความรู้และทักษะโดยใช้เอกสารประเมินผลการสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม


15. ขอบเขต (Range Statement)

    กำหนดเป้าหมาย แผนงานต่างๆ จัดทำแผนพัฒนาและวางแผนกิจกรรมวงดุริยางค์ กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ในการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กำหนด บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งต่างๆในวงดุริยางค์ แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ ให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์

(ก)    คำแนะนำ 

        1.    การวางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์ ต้องสามารถกำหนดเป้าหมายแผนงาน โครงการต่างๆ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของวงดุริยางค์ จัดทำแผนพัฒนาวงดุริยางค์ ทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว อย่างชัดเจนและสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร วางแผนกิจกรรมวงดุริยางค์ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับกิจกรรมต่างๆ ของชุมชน และหน่วยงานภายนอก รวมทั้งกำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ในการดำเนินงานทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดได้เพื่อใช้ในการประเมินผล 

         2.    การจัดการวงดุริยางค์ ต้องเข้าใจโครงสร้างและระบบงานของวงดุริยางค์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรของวงดุริยางค์ รวมทั้งหน่วยงานอื่นๆภายนอกองค์กร  มีความสามารถคิดวิเคราะห์เพื่อการจัดการวงดุริยางค์ โดยสามารถจัดลำดับความสำคัญ แยกแยะประเด็นหลักประเด็นรอง ระบุกระบวนการและขั้นตอนของงานต่างๆ ได้อย่างชัดเจน สามารถกำหนด บทบาทหน้าที่  ความรับผิดชอบและความสัมพันธ์ระหว่างตำแหน่งต่างๆ ตามขอบเขตงาน

        3.    การแก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์ ต้องสามารถแยกแยะ จัดลำดับความสำคัญ วิเคราะห์สาเหตุ และแสวงหาข้อมูลเพิ่มเติมของปัญหาได้ตามสถานการณ์ สามารถกำหนดแนวทาง วิธีการ ขั้นตอน และเครื่องมือต่างๆ ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวงดุริยางค์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นของวงดุริยางค์อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง และเหมาะสมตามสถานการณ์และตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร รวมทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

        4.    การส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของวงดุริยางค์ ต้องสนับสนุนให้บุคลากรทุกส่วนของวงดุริยางค์ทั้งผู้สอน ผู้เรียน และบุคลากรฝ่ายสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานต่างๆ ของวงดุริยางค์ ด้วยบรรยากาศที่ส่งเสริมความไว้วางใจ และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันภายในวงดุริยางค์ ต้องสามารถจัดการกับปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้งภายในวงดุริยางค์ โดยเน้นเป้าหมายของกิจกรรมวงดุริยางค์เป็นสำคัญรวมทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

        5.    การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ ต้องวิเคราะห์พฤติกรรม (Behavior) ของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดกิจกรรมวงดุริยางค์และเลือกใช้วิธีการเสริมแรงบวกแก่บุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม และปฎิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ รวมทั้งใช้วิธีการและเทคนิคที่หลากหลายสร้างบรรยากาศที่ดีในการปฏิบัติงาน

        6.    การให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ ต้องมีทักษะในการรับฟังและรวบรวมปัญหาที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมวงดุริยางค์จากผู้ขอคำปรึกษาตามสถานการณ์ สามารถนำความรู้และประสบการณ์มาวิเคราะห์เพื่อค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมวงดุริยางค์รวมทั้งแนวทางในการให้คำปรึกษาอย่างเหมาะสม ให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์ได้เหมาะสมตามสถานการณ์ และปฎิบัติตามหลักจรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

         จรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

                1.    จรรยาบรรณต่อตนเอง

                       1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องมีวินัย ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อหน้าที่

                       2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องมีความเป็นผู้นำ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ที่ดี

                       3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องพัฒนาตนเองทั้งความรู้ทางวิชาการ และทักษะดนตรีวงดุริยางค์ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

                 2.    จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

                        1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ

                        2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่กระทำการใดๆ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

                        3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

                        4)    ปฏิบัติงานตามหลักวิชาการ ตามาตรฐานการประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

                 3.    จรรยาบรรณต่อผู้เรียน และบุคลากร

                        1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้เรียน และบุคลากรอย่างทั่วถึง และเสมอภาค

                        2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ผู้เรียนและบุคลากร ตามหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                        3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

                        4)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ของผู้เรียน และบุคลากร

                 4.    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาคจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

                        1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันอย่างสร้างสรรค์ สร้างความสามัคคีในวิชาชีพ และรักษาผลประโยชน์ต่อส่วนรวม

                        2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ยึดมั่นในระบบคุณธรรม จริยธรรม และมารยาทการทำงานต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

                        3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่ใช้สื่อการสอน และรูปแบบการแสดงที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

                        4)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนในการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีหลักฐานได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน

                        5)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่แอบอ้างความคิด หรือใช้ หรือกระทำการในลักษณะคัดลอกผลงาน โน้ตเพลง รูปแบบการแปรขบวน หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

                         6)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

                         7)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่ทำการโฆษณาชวนเชื่อ หรือใส่ร้ายป้ายสีโจมตีผู้ร่วมวิชาชีพด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

                  5.    จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง

                        1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ มีความซื่อสัตย์ และยึดมั่นในสัญญากับผู้ว่าจ้างอย่างเคร่งครัด

                         2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่เสนอ เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์ที่ไม่สุจริต

                  6.    จรรยาบรรณต่อสังคม

                         1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการทุจริตต่อการดำเนินการใดๆ ของกิจกรรมวงดุริยางค์

                         2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ในการเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือบุคคลใดๆ

                         3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข













                


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (วางแผนการบริหารงานวงดุริยางค์)

        1)  แฟ้มสะสมผลงาน

        2)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

18.2 เครื่องมือประเมิน (จัดองค์กรวงดุริยางค์)

        1)  แฟ้มสะสมผลงาน

        2)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

18.3 เครื่องมือประเมิน (แก้ปัญหาต่างๆ ในการจัดการวงดุริยางค์)

       1)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

18.4 เครื่องมือประเมิน (ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมของวงดุริยางค์)

       1)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

18.5 เครื่องมือประเมิน (สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์)

       1)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

18.6 เครื่องมือประเมิน (ให้คำปรึกษาด้านการร่วมกิจกรรมวงดุริยางค์)

       1)  แบบประเมินผลการสัมภาษณ์    



            ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ