หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการการเรียนรู้ทางดนตรีของวงดุริยางค์ (Music Ensemble Curriculum and Learning Management)

สาขาวิชาชีพบริการการศึกษา วิจัย และภาษา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ILS-VVSB-272B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการการเรียนรู้ทางดนตรีของวงดุริยางค์ (Music Ensemble Curriculum and Learning Management)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 2354 : ครูสอนดนตรีอื่นๆ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ครอบคลุมสมรรถนะในการบริหารและจัดการการเรียนรู้ทางดนตรีของวงดุริยางค์ สามารถออกแบบและสร้างหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านดนตรีและเหมาะสมกับผู้เรียน จัดการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ที่เน้นผู้เรียน สามารถใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านดนตรี รวมทั้งวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
1010101

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์

1. มีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านดนตรีของวงดุริยางค์

1010101.01 189885
1010101

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์

2. ออกแบบการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านดนตรีและเหมาะสมกับผู้เรียน

1010101.02 189886
1010101

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์

3. สร้างหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ได้ถูกต้องตามหลักวิชาการด้านดนตรีและเหมาะสมกับผู้เรียน

1010101.03 189887
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์

1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและเท่าทันต่อยุคสมัย

1010102.01 189888
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์

2. ใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์ได้อย่างเหมาะสม

1010102.02 189889
1010102

จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์

3. วัดและประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ได้อย่างเหมาะสม

1010102.03 189890

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.  ทักษะในการปฏิบัติเครื่องดนตรี (Music Instrument Skill)

2.  ทักษะในการร่วมบรรเลงวงดุริยางค์ (Concert & Marching Band)

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสอน การถ่ายทอด และการสื่อสาร

2 ทักษะในการใช้เทคโนโลยีช่วยในการจัดการเรียนการสอน

3. ทักษะในการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์

4. ทักษะในการออกแบบการเรียนรู้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ทางวิชาการดนตรีวงดุริยางค์ (Music and Marching Arts Academic)

2. ความรู้ทฤษฎีดนตรี (Theory of Music)

3. ความรู้ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรมดนตรี (History and Literature of Music)

4. ความรู้สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี (Music Appreciation)

5. ความรู้การเรียบเรียงเสียงประสาน (Music Arrangement)

6. ความรู้การอำนวยเพลงขั้นพื้นฐาน (Music Conductor)

7. ความรู้การบรรเลงวงดุริยางค์(Concert and Marching Band)

8. ความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีดนตรี

9. ความรู้ในการดูแลรักษาอุปกรณ์ดนตรีเบื้องต้น

10. ความรู้ในการวางแผนการสอนและการฝึกซ้อม 

11. ความรู้ในการวัดผล ประเมินผล

12. ความรู้ในการจัดทำข้อมูลสารสนเทศ

13. ความรู้จิตวิทยาการศึกษา

14. ความรู้ทางวิทยาศาสตร์การดนตรี 

15. ความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิเด็ก

16. ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน ( Performance Evidence )

        1.    เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน 

        2.    เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์    

        3.    แฟ้มสะสมผลงาน ที่ประกอบด้วย

              -    แผนการสอนและเป้าหมายกิจกรรมวงดุริยางค์

              -    แผนการฝึกซ้อมและรายละเอียดของลำดับการฝึกซ้อมอย่างเป็นรูปธรรม

              -    การนำสื่อและนวัตกรรมมาใช้พัฒนาผู้เรียนในวงดุริยางค์

              -    หลักฐานภาพถ่าย หรือสื่อต่างๆ ที่สะท้อนต่อสภาพห้องเรียนหรือห้องซ้อมวงดุริยางค์ที่มีความเหมาะสม 

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

        1.    เอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

        2.    ผลการทดสอบข้อเขียน

        3.    เอกสารประเมินผลจากการสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

        พิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้

 (ง)  วิธีการประเมิน    

        ประเมินความรู้และทักษะโดยใช้ผลการทดสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ แฟ้มสะสมผลงาน เอกสารรับรองการปฏิบัติงาน และเอกสารรับรองผลการศึกษาหรือผลการอบรม

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ออกแบบและสร้างหลักสูตรสำหรับการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ตามหลักวิชาการด้านดนตรีและเหมาะสมกับผู้เรียน จัดการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์ที่เน้นผู้เรียน ใช้สื่อนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการจัดการเรียนรู้ด้านดนตรี วัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์



(ก)    คำแนะนำ 

         การบริหารและจัดการการเรียนรู้ทางดนตรีของวงดุริยางค์ (Music Ensemble Curriculum and Learning Management) ต้องมีความรู้ ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้ และการฝึกซ้อมด้านดนตรีวงดุริยางค์ สามารถสร้างและพัฒนาหลักสูตรดนตรีวงดุริยางค์ จัดทำแผนการฝึกซ้อมดนตรีวงดุริยางค์ สามารถจัดการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เท่าทันต่อยุคสมัย โดยนำสื่อและนวัตกรรมมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนในวงดุริยางค์ สามารถวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์อย่างมีมาตรฐานโดยใช้หลักเกณฑ์แบบมาตรฐาน 4IN ปฏิบัติงานอย่างมีวิจารณญาณ (Reflective Practice) โดยมุ่งพัฒนาผลสัมฤทธิ์ผู้เรียน และปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        จรรยาบรรณวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

            1. จรรยาบรรณต่อตนเอง

                1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องมีวินัย ตรงต่อเวลา และรับผิดชอบต่อหน้าที่

                2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องมีความเป็นผู้นำ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ที่ดี

                3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องพัฒนาตนเองทั้งความรู้ทางวิชาการ และทักษะดนตรีวงดุริยางค์ อย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง

              2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

                 1)    ผู้ประกอบวิชาชีพต้องปฎิบัติตามจรรณยาบรรณวิชาชีพครู และอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก

                 2)    ผู้สอนวงดุริยางค์ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบต่อวิชาชีพ

                 3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่กระทำการใดๆ อันนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ

                 4)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

                 5)    ปฏิบัติงานตามหลักวิชาการ ตามาตรฐานการประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์

            3.  จรรยาบรรณต่อผู้เรียน และบุคลากร

                 1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ผู้เรียน และบุคลากรอย่างทั่วถึง และเสมอภาค

                 2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ผู้เรียนและบุคลากร ตามหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

                 3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

                 4)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ ทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์และสังคม ของผู้เรียน และบุคลากร

                 5)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค

           4.  จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

                 1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันอย่างสร้างสรรค์ สร้างความสามัคคีในวิชาชีพ และรักษาผลประโยชน์ต่อส่วนรวม

                 2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ยึดมั่นในระบบคุณธรรม จริยธรรม และมารยาทการทำงานต่อผู้ร่วมวิชาชีพ

                 3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่ใช้สื่อการสอน และรูปแบบการแสดงที่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

                 4)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่แอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนในการประกอบวิชาชีพ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร หรือมีหลักฐานได้รับความยินยอมจากเจ้าของผลงาน

                 5)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่แอบอ้างความคิด หรือใช้ หรือกระทำการในลักษณะคัดลอกผลงาน โน้ตเพลง รูปแบบการแปรขบวน หรือแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้อื่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

                 6)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

                 7)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ไม่ทำการโฆษณาชวนเชื่อ หรือใส่ร้ายป้ายสีโจมตีผู้ร่วมวิชาชีพด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

            5. จรรยาบรรณต่อผู้ว่าจ้าง

                 1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ มีความซื่อสัตย์ และยึดมั่นในสัญญากับผู้ว่าจ้างอย่างเคร่งครัด

                 2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่เสนอ เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์ที่ไม่สุจริต

            6. จรรยาบรรณต่อสังคม

                 1)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ไม่สนับสนุน ส่งเสริมให้มีการทุจริตต่อการดำเนินการใดๆ ของกิจกรรมวงดุริยางค์

                 2)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ ไม่ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ในการเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือบุคคลใดๆ

                 3)    ผู้ประกอบวิชาชีพผู้สอนวงดุริยางค์ พึงประพฤติปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อมรักษาผลประโยชน์ ของส่วนรวมและยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข





 



          





 



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน (พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ด้านดนตรีของวงดุริยางค์)

        1) ข้อสอบข้อเขียนปรนัย 4 ตัวเลือก

        2) แบบประเมินผลการสัมภาษณ์

        3) แฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมิน (จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านดนตรีวงดุริยางค์)

        1) แฟ้มสะสมผลงาน



         ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

 



ยินดีต้อนรับ