หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-OFIP-192A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรทุกประเภทที่ต้องใช้ในการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียว รวมถึงการเตรียมของเสียที่สามารถนำกลับไปใช้ประโยชน์ได้รอการนำเข้าสู่กระบวนการนำกลับไปใช้  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการจัดการของเสียบริเวณพื้นที่สีเขียวประเภทต่างๆ ตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     1. พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ส่วนที่ 6 มลพิษอื่นและของเสียอันตราย     2. พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง พ.ศ. 2535 มาตรา 8 เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารหรือที่ดิน     3. พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 หมวด 3 การกำจัดสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03141

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป

1.1 อธิบายชนิดและหน้าที่ของวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการจัดการของเสียทั่วไปบริเวณพื้นที่สีเขียว

03141.01 201407
03141

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป

1.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียทั่วไปได้อย่างเหมาะสม

03141.02 201408
03141

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียทั่วไป

1.3 จัดวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียทั่วไปตามที่กำหนด

03141.03 201409
03142

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย

2.1 อธิบายชนิดและหน้าที่ของวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการจัดการของเสียอันตรายบริเวณพื้นที่สีเขียว

03142.01 201410
03142

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย

2.2 เลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียอันตรายได้อย่างเหมาะสม

03142.02 201411
03142

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการจัดการของเสียอันตราย

2.3 จัดวัสดุและอุปกรณ์เพื่อการจัดการของเสียอันตรายตามที่กำหนด

03142.03 201412
03143

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์

3.1 อธิบายวิธีการนำของเสียประเภทต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์

03143.01 201413
03143

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรสำหรับการนำของเสียกลับไปใช้ประโยชน์

3.2 จัดเก็บของเสียที่สำมารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จากบริเวณพื้นที่สีเขียว 

03143.02 201414

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1. ความสำมารถในการวางแผนการดำเนินงาน

     2. ความสำมารถในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรเพื่อจัดการมูลฝอย หรือของเสียให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวประเภทต่างๆ  รวมถึงการเตรียมของเสียเพื่อนำไปใช้ประโยชน์

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุและทรัพยากรเพื่อการจัดการมูลฝอยหรือของเสียให้เหมาะสมกับพื้นที่สีเขียวแต่ละประเภท

     2. ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกมูลฝอยหรือของเสียที่สำมารถนำไปใช้ประโยชน์ได้


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง

     2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     1. ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

     2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับงานในอาชีพ จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

     1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

     2. วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

     1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

     2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

     3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)
N/A

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

     18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

     18.2 การสอบปฏิบัติ

     18.3 การสอบสัมภาษณ์

     18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ