หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-YEAR-544A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 4

ISCO-08    3131 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์

                  3123 หัวหน้าช่างไฟฟ้า

                  3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า    

                  3113 ช่างเทคนิคไฟฟ้า    

                  3113 นักประเมินราคาวิศวกรรมไฟฟ้า

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ โดยการตรวจสอบความเรียบร้อยเบื้องต้นอ้างอิงตามแบบ ตรวจสอบการต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกต้อง ตรวจสอบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามมาตรฐานรวมถึงประเมินผลการตรวจสอบ ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง และสามารถตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย:ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งหลังคา มาตรฐาน วสท. 022013-5910.2    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งทางไฟฟ้า-ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มอก. 257210.3    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 6172710.4    มาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า10.5    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินแบบผลึกซิลิคอน – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรอง มอก. 1843 หรือ IEC 6121510.6    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงภาคพื้นดิน แบบฟิล์มบาง – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรองแบบ มอก. 2210 หรือ IEC 6164610.7    ความรู้ด้านความปลอดภัย เช่น คู่มือการผลิตและการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) อย่างปลอดภัย: กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)10.8    อื่น ๆ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV22091 ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

1.1   ตรวจสอบความเรียบร้อยเบื้องต้นอ้างอิงตามแบบ

190315
PV22091 ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

1.2   ตรวจสอบการต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ถูกต้อง

190316
PV22091 ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

1.3   ตรวจสอบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามมาตรฐาน

190317
PV22091 ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

1.4   ตรวจสอบการวางตำแหน่งของอุปกรณ์ประกอบอย่างเหมาะสม

190318
PV22091 ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

1.5 ประเมินผลการตรวจสอบ

190319
PV22092 ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

2.1   ตรวจสอบความเรียบร้อยของการติดตั้ง

190320
PV22092 ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

2.2   ตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

190321
PV22092 ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

2.3   ตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า

190322
PV22092 ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

2.4   ตรวจสอบกำลังการผลิตจากมาตรวัด

190323
PV22092 ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

2.5 บันทึกข้อมูลและประเมินผลการติดตั้ง

190324
PV22093 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

3.1 ตรวจสอบโครงสร้างรองรับอ้างอิงตามแบบ

190325
PV22093 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

3.2 ตรวจสอบระบบไฟฟ้าตามมาตรฐานความปลอดภัย

190326
PV22093 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

3.3 ตรวจสอบระบบสายดินตามมาตรฐานความปลอดภัย

190327
PV22093 ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

3.4 ประเมินผลการตรวจสอบ

190328

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การใช้เครื่องมือในการตรวจสอบ

2.    การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมิน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. การต่อวงจรแผงเซลล์แสงอาทิตย์ อ้างอิงตามคู่มือ 

2. ความรู้ทางช่างไฟฟ้า

3. ความรู้พื้นฐานด้านแผงเซลล์แสงอาทิตย์

4. ความรู้เรื่องการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์

5. ความรู้ด้านการใช้เครื่องมือสำหรับงานติดตั้ง

6. ความรู้พื้นฐานด้านการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 

7. ความรู้ในมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง:

       7.1    มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย:ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งหลังคา มาตรฐาน วสท. 022013-59

       7.2    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การติดตั้งทางไฟฟ้า-ระบบจ่ายกำลังไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ มอก. 2572

       7.3    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 61727

       7.4    มาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานด้านไฟฟ้า

       7.5    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงอาทิตย์ภาคพื้นดินแบบผลึกซิลิคอน – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรอง มอก. 1843 หรือ IEC 61215

       7.6    มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมส่วนสำเร็จรูปแรงดันเนื่องจากพลังแสงภาคพื้นดิน แบบฟิล์มบาง – คุณลักษณะการออกแบบและการรับรองแบบ มอก. 2210 หรือ IEC 61646

       7.7    อื่น ๆ

8. ความรู้ด้านความปลอดภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

       1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

       2.    ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือ หรือ

       3.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

       4.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 

       1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ 

       2.    หลักฐานการศึกษา หรือ

       3.    ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรมด้านการใช้เครื่องมือ หรือ

       4.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ

       5.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือ 

       6.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินด้านตรวจสอบการติดตั้งระบบเซลล์แสงอาทิตย์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตของการตรวจสอบการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ประกอบด้วย

-    การตรวจสอบความถูกต้องด้านการออกแบบ คือตรวจสอบความเรียบร้อยเบื้องต้นอ้างอิงตามแบบ การต่อวงจร โครงสร้างรองรับแผง การวางตำแหน่งของอุปกรณ์ประกอบอย่างเหมาะสม

-    การตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง คือ ตรวจสอบความเรียบร้อยของการติดตั้ง การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ กำลังการผลิตจากมาตรวัด ตรวจวัดค่าทางไฟฟ้า

-    การตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง คือตรวจสอบโครงสร้างรองรับอ้างอิงตามแบบตรวจสอบระบบไฟฟ้าและสายดินตามมาตรฐานความปลอดภัย

(ก)    คำแนะนำ

       1.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ การใช้งานหลังการติดตั้ง และความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

       2.    ผู้เข้ารับการประเมินต้องเน้นความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

       1.    ตรวจสอบโครงสร้างรองรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ประกอบให้ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

       2.    ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุม และอุปกรณ์ป้องกันระบบเซลล์แสงอาทิตย์ ได้ตามข้อกำหนดในคู่มือการติดตั้ง

       3.    ตรวจสอบระบบไฟฟ้าและระบบสายดินตามมาตรฐานความปลอดภัย (รายละเอียดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องใน ข้อ 10)

       4.    ข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น การแต่งกาย การสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

        1) ข้อเขียนแบบปรนัย และข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

        2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการตรวจสอบความถูกต้องตามการออกแบบ

18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

       1) ข้อเขียนแบบปรนัย และข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

       2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการตรวจสอบการใช้งานหลังการติดตั้ง

18.3 เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

       1) ข้อเขียนแบบปรนัย และข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

       2) สาธิตการปฏิบัติงาน เช่น สาธิตการตรวจสอบความปลอดภัยหลังการติดตั้ง

หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม      ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



ยินดีต้อนรับ