หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-IFEP-532A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการขายระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 6

ISCO-08     2433 ตัวแทนขายสินค้าอุตสาหกรรม   

                  2433 ตัวแทนขายอุปกรณ์ไฟฟ้า

                  2433 Sales Engineer

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถวิเคราะห์งบประมาณการลงทุน ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน โดยวิเคราะห์จากตัวบุคคลหรือองค์กร อัตราดอกเบี้ย และการบริหารจัดการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV11131 วิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทนจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

1.1  วิเคราะห์งบประมาณการลงทุนระบบ

190236
PV11131 วิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทนจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

1.2 วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุนจากระบบ

190237
PV11131 วิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทนจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

1.3 วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน

190238
PV11132 วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.1 วิเคราะห์ความเสี่ยงจากตัวบุคคลหรือองค์กร

190239
PV11132 วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.2 วิเคราะห์ความเสี่ยงในอัตราดอกเบี้ย

190240
PV11132 วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.3 วิเคราะห์ความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

190241

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

2.  การใช้โปรแกรมการคำนวณพลังงาน 

3.  การใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์การลงทุน

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เรื่องการลงทุน

2.    การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์การลงทุน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

      1.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      2.    แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

      3.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

      1.    หลักฐานการศึกษา

      2.    ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

      3.    แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

      4.    แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

      5.    แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

 (ค) คำแนะนำในการประเมิน

        ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ผู้เข้ารับการประเมินวิเคราะห์งบประมาณการลงทุน ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน รวมถึงวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน โดยวิเคราะห์จากตัวบุคคลหรือองค์กร อัตราดอกเบี้ย และการบริหารจัดการ

 (ก) คำแนะนำ

       การวิเคราะห์การประเมินทางด้านการเงินเบื้องต้น คือวิเคราะห์งบประมาณการลงทุนระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนภายใน และความเสี่ยงการลงทุนโดยการสอบถามด้วยวาจาและการประมาณการ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1.    วิเคราะห์การประเมินทางด้านการเงิน เป็นการวิเคราะห์เรื่องงบลงทุน ผลตอบแทนที่ได้รับและความเสี่ยงของโครงการ โดยมีเครื่องมือในการวิเคราะห์และตัดสินใจดังนี้ 

           -    วิเคราะห์งบประมาณการลงทุน 

           -    วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน

           -    วิเคราะห์อัตราผลตอบแทนภายใน

           -    วิเคราะห์ความเสี่ยงการลงทุน

       2.    การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน เป็นการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนที่มองกระแสเงินสดรับ      ไม่คำนึงถึงเรื่องมูลค่าของเงินตามระยะเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง (กำไรหรือขาดทุนของกิจการ)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทน

        1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทน

        2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทน

        3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการวิเคราะห์งบประมาณและผลตอบแทน

18.2 เครื่องมือประเมิน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน

        1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน

        2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน

        3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงในการลงทุน

หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



ยินดีต้อนรับ