หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-UIYY-531A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ศึกษาความเป็นไปได้ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการขายระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 5

ISCO-08     2433 ตัวแทนขายสินค้าอุตสาหกรรม   

                   2433 ตัวแทนขายอุปกรณ์ไฟฟ้า

                   2433 Sales Engineer

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถเลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้อย่างเหมาะสมตรงตามความต้องการของลูกค้า สามารถจัดทำตารางสำรวจความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบที่จะทำการติดตั้ง จำแนกระบบการเชื่อมต่อโครงข่าย เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบและความต้องการของลูกค้าได้ รวมไปถึงเลือกอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับระบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1    พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 10.2    พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 (มาตรา 21)10.3    พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (มาตรา 12)10.4    พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน พ.ศ. 2535 (มาตรา 25)10.5    ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า พ.ศ. 2559 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV11121 เลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของลูกค้า

1.1 จัดทำตารางสำรวจความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบที่จะทำการติดตั้ง

190230
PV11121 เลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของลูกค้า

1.2 จำแนกระบบการเชื่อมต่อโครงข่าย

190231
PV11121 เลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของลูกค้า

1.3 เลือกระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้า

190232
PV11121 เลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานของลูกค้า

1.4 เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระบบ

190233
PV11122 เลือกอุปกรณ์ป้องกันในการใช้งานกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.1 จำแนกระบบป้องกันแต่ละประเภทที่ใช้งานกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

190234
PV11122 เลือกอุปกรณ์ป้องกันในการใช้งานกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.2 เลือกอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับระบบ

190235

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 1.  การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

 2.  การใช้โปรแกรมการคำนวณพลังงาน 

 3.  การใช้โปรแกรมในการวิเคราะห์การลงทุน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.     ความรู้ทางช่างไฟฟ้า

2.     ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ :

     2.1    ข้อมูลทางเทคนิคของแผงเซลล์แสงอาทิตย์และอุปกรณ์ประกอบ 

3.     ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า :

     3.1    คุณสมบัติของแบตเตอรี่แต่ละแบบ

     3.2    หลักการทำงานและคุณสมบัติของเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller) แต่ละชนิด

     3.3    ค่าที่ควรทราบในอินเวอร์เตอร์แต่ละตัว

     3.4    คำนวณหากำลังไฟฟ้าของอินเวอร์เตอร์

     3.5    คำนวณขนาดความจุของแบตเตอรี่

     3.6    คำนวณกรณีเลือกเครื่องควบคุมการประจุ (Charge Controller)

4.    มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ควบคุมและป้องกันไฟฟ้า

5.    การใช้เครื่องมือการวิเคราะห์การลงทุน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

     1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

     3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

     1. หลักฐานการศึกษา

     2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

     4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

     5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ผู้เข้ารับการประเมินเลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ โดยสามารถจัดทำตารางสำรวจความต้องการใช้ไฟฟ้าของระบบที่จะทำการติดตั้ง จำแนกระบบการเชื่อมต่อโครงข่าย เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับระบบและความต้องการของลูกค้า รวมไปถึงเลือกอุปกรณ์ป้องกันให้เหมาะสมกับระบบ

(ก) คำแนะนำ

       1. การต่อแผงเซลล์แสงอาทิตย์แบบอนุกรม จะต้องมีกำลังไฟฟ้าเท่ากัน และการต่อแบบขนานนั้นระดับแรงดันของแต่ละสตริงต้องใกล้เคียงกัน คือควรเลือกแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ยี่ห้อและรุ่นเดียวกัน ในการออกแบบและติดตั้ง

       2. การเลือกใช้แบตเตอรี่ในระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ควรเลือกใช้แบบ Deep Cycle เพราะสามารถเก็บประจุไว้ได้มากและสามารถจ่ายไฟได้อย่างต่อเนื่อง โดยแบตเตอรี่ชนิดนี้ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าสูงๆ ได้ในเวลาอันสั้น

       3. กรณีภาระไฟฟ้าเป็นมอเตอร์แล้วทำการต่อตรงเข้าอินเวอร์เตอร์ (Direct on Line: DOL) ให้ทำการเผื่อขนาดจาก 1.25 เท่า เป็น 3 เท่า ของพิกัดมอเตอร์ที่ต่อใช้งานด้านไฟฟ้ากระแสสลับ (ค่าแนะนำ) เพื่อป้องกันกระแสกระชากของมอเตอร์ขณะสตาร์ทแล้วทำให้อินเวอร์เตอร์เสียหาย

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

       1.    ระบบ หมายถึง ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

       2.    การจัดทำตารางสำรวจความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละวัน เพื่อใช้ในการคำนวณหาขนาดของแบตเตอรี่ และกำลังไฟฟ้าด้านกระแสสลับสูงสุดในการเลือกขนาดอินเวอร์เตอร์ โดยจัดทำตารางสำรวจ ทั้งด้านกระแสตรงและด้านกระแสสลับ 

       3.    โครงข่ายในการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งตามการใช้งานทั่วไปออกเป็น 3 ระบบ คือ 

             1)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (Stand Alone System) หรือ ออฟกริด (Off grid) 

             2)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (PV Grid connected System) หรือ ออนกริด (On grid)

             3)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Hybrid system)

       4.    การเลือกระบบให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าโดยพิจารณาจากศักยภาพทางการผลิตและการเงิน

       5.    เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับระบบจากศักยภาพทางการผลิตและการเงิน

       6.    ระบบป้องกัน คือ ระบบป้องกันฟ้าผ่า ระบบกันแรงดันเกิน ระบบป้องกันการลัดวงจรไฟฟ้า เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ และระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน เลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

       1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

       2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

       3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการเลือกระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

18.2 เครื่องมือประเมิน เลือกอุปกรณ์ป้องกัน    

       1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การเลือกอุปกรณ์ป้องกัน    

       2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การเลือกอุปกรณ์ป้องกัน

       3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการเลือกอุปกรณ์ป้องกัน    

หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

 



ยินดีต้อนรับ