หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินโครงข่ายไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-YZJT-528A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินโครงข่ายไฟฟ้าและระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการขายระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 4

ISCO-08    2433 ตัวแทนขายสินค้าอุตสาหกรรม   

                  2433 ตัวแทนขายอุปกรณ์ไฟฟ้า

                  2433 Sales Engineer

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถประเมินความต้องการทางพลังงาน ขนาดของการติดตั้ง โครงข่ายในการเชื่อมต่อ การสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ ขีดจำกัดกำลังการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของสายส่ง และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงสามารถวิเคราะห์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และสรุปผลการประเมินโครงข่ายไฟฟ้าได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV11091 ประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

1.1 ประเมินความต้องการทางพลังงาน

190210
PV11091 ประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

1.2 ประเมินขนาดของการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

190211
PV11091 ประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

1.3 ประเมินโครงข่ายในการเชื่อมต่อ  

190212
PV11091 ประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

1.4 ประเมินการสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ

190213
PV11092 ประเมินระบบผลิตไฟฟ้า

2.1  ประเมินขีดจำกัดกำลังการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของสายส่ง

190214
PV11092 ประเมินระบบผลิตไฟฟ้า

2.2  ประเมินระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

190215
PV11092 ประเมินระบบผลิตไฟฟ้า

2.3 วิเคราะห์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

190216
PV11092 ประเมินระบบผลิตไฟฟ้า

2.4 สรุปผลการประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

190217

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)



 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน

2. การใช้โปรแกรมการคำนวณพลังงาน 

3. ทักษะการป้องกันในการปฏิบัติงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้ทางช่างไฟฟ้า

2.    ความเข้มแสงอาทิตย์ในประเทศไทย

3.    ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ :

      3.1    ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเซลล์แสงอาทิตย์

      3.2    การออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เบื้องต้น

      3.3    ปัจจัยที่มีผลต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

      3.4    ข้อมูลทางเทคนิคของการประเมินการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์

4.    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้า

5.    ความรู้เรื่องความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) หรือ

     1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     2. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

     3. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี) 

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) หรือ

     1. หลักฐานการศึกษา

     2. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ถ้ามี)

     3. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ (ถ้ามี)

     4. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน (ถ้ามี)  

     5. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (ถ้ามี)

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินโครงข่ายและระบบผลิตไฟฟ้าเบื้องต้น โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

       ผู้เข้ารับการประเมินต้องประเมินความต้องการทางพลังงาน ขนาดของการติดตั้ง โครงข่ายในการเชื่อมต่อ การสำรองพลังงานไฟฟ้าที่ต้องการ ขีดจำกัดกำลังการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของสายส่ง และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงสามารถวิเคราะห์ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และสรุปผลการประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

(ก) คำแนะนำ

      ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญในการประเมินโครงข่ายไฟฟ้า พื้นที่ติดตั้ง รังสีแสงอาทิตย์และการบังเงา

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

      1.    ประเมินระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ โดยการประเมินว่าควรใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ และอุปกรณ์ประกอบ ชนิดใด แบบใด และจำนวนเท่าใด เพื่อให้ตรงตามความต้องการทางพลังงานและขนาดของการติดตั้ง

      2.    โครงข่ายในการเชื่อมต่อ สามารถแบ่งตามการใช้งานทั่วไปออกเป็น 3 ระบบ คือ 

          1)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบอิสระ (Stand Alone System) หรือ ออฟกริด (Off grid) 

          2)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบเชื่อมต่อระบบจำหน่าย (PV Grid connected System) หรือ ออนกริด (On grid)

          3)    ระบบเซลล์แสงอาทิตย์แบบไฮบริด (Hybrid system)

      3.    ขีดจำกัดกำลังการติดตั้งที่เหมาะสม คือ การใช้พลังงานไฟฟ้าพอดีกับกำลังการผลิต ไม่เหลือกลับไปสายส่ง

      4.    ประเมินระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ จะต้องพิจารณาตามหัวดังนี้

          1)    ชนิดของแผงเซลล์แสงอาทิตย์

          2)    ขนาดแรงดันอุปกรณ์ไฟฟ้าด้านกระแสตรง

          3)    ขนาดของอินเวอร์เตอร์

          4)    ขนาดของแบตเตอรี่

          5)    อุปกรณ์ควบคุมและอุปกรณ์ป้องกันระบบ

          6)    ระบบจ่ายไฟฟ้าแรงสูง

          7)    ระบบตรวจวัด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ประเมินโครงข่ายไฟฟ้า    

      1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินโครงข่ายไฟฟ้า     

      2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การประเมินโครงข่ายไฟฟ้า

      3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการประเมินโครงข่ายไฟฟ้า    

18.2 เครื่องมือประเมิน ประเมินระบบผลิตไฟฟ้าและสรุปผล

      1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินระบบผลิตไฟฟ้าและสรุปผล

      2) ข้อเขียนแบบอัตนัย เช่น การประเมินระบบผลิตไฟฟ้าและสรุปผล

      3) การสัมภาษณ์ เช่น อธิบายเหตุผลของการประเมินระบบผลิตไฟฟ้าและสรุปผล

หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100

 



ยินดีต้อนรับ