หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการทรัพย์สินที่มีความซับซ้อน

สาขาวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RES-UGCJ-594A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการทรัพย์สินที่มีความซับซ้อน

3. ทบทวนครั้งที่ 3 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

     3334 ตัวแทนอสังหาริมทรัพย์และผู้จัดการทรัพย์สิน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วยความรู้และทักษะที่จำเป็นในการจัดการทรัพย์สินที่มีความซับซ้อน โดยสามารถจัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม จัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์ จัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน และจัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
     ผู้ประกอบอาชีพนายหน้าอสังหาริมทรัพย์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
     1. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497      2. ประมวลกฎหมายที่ดิน     3. กฎกระทรวง     4. ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ     5. พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ,2535,2543,2550,255     6. พระราชบัญญัติผังเมือง พ.ศ. 2662      7. พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2562 และฉบับที่ 3 พ.ศ. 2562)     8. พระราชบัญญัติ การอำนวยความสะดวกในการการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558     9. พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520     10. พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20405.01

จัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม

1.เตรียมข้อมูลทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์แต่ละประเภท และการใช้ประโยชน์

20405.01.01 188790
20405.01

จัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม

2.จัดเตรียมข้อมูลการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินประเภทอุตสาหกรรม ตามผังเมือง

20405.01.02 188791
20405.01

จัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม

3..จัดเตรียมข้อมูลเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง  รวมถึงสิทธิประโยชน์การลงทุนอุตสาหกรรม

20405.01.03 188792
20405.01

จัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม

4.เตรียมข้อมูลประเมินค่าทรัพย์สินพร้อมในการนำเสนอ

20405.01.04 188793
20405.02

จัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์

1.จัดเตรียมข้อมูลการใช้ทรัพย์สินประเภทพาณิชย์ที่ชัดเจน

20405.02.01 188794
20405.02

จัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์

2.วิเคราะห์การลงทุนศึกษาความเป็นไปได้ของแต่ละประเภท

20405.02.02 188795
20405.02

จัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์

3.บันทึกข้อมูลเตรียมนำเสนอ

20405.02.03 188796
20405.03

จัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน

1.คัดเลือกทรัพย์เพื่อการลงทุนแต่ละประเภท

20405.03.01 188797
20405.03

จัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน

2 คำนวณผลตอบแทนการลงทุน

20405.03.02 188798
20405.03

จัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน

3 เตรียมข้อมูลประเมินค่าทรัพย์สินพร้อมในการนำเสนอ

20405.03.03 188799
20405.04

จัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน

1.สำรวจหาข้อมูลที่ดิน ตามตำแหน่งที่ตั้งของที่ดิน

20405.04.01 188804
20405.04

จัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน

2.ศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ขั้นต้น

20405.04.02 188805
20405.04

จัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน

3.ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ และประโยชน์การใช้ที่ดินตามผังเมือง

20405.04.03 188806

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

     20101    ตรวจสอบทำเล

     20102    ตรวจสอบสภาพแวดล้อม

     20103    ตรวจสอบทรัพย์

     20201    ตรวจสอบอุปสงค์และอุปทานของตลาด

     20202    ตรวจสอบพฤติกรรมผู้บริโภค

     20203    ตรวจสอบสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และนโยบายภาครัฐ

     20301    วิเคราะห์ความจำเป็นและความสามารถทางการเงินของลูกค้า 

     20501    ทำนิติกรรม  

     20401    กำหนดกลยุทธ์การตลาด

     20402    กำหนดกลยุทธ์ด้านราคา

     20404    จัดการหาทรัพย์ตามความต้องการของผู้ซื้อทรัพย์

     20601    กำกับดูแลทีมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์

     20602    พัฒนาระบบการทำงานของนายหน้าอสังหาริมทรัพย์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

     1. ทักษะในการคัดเลือกทรัพย์ที่มีความซับซ้อน

     2. ทักษะในการกำหนดเกณฑ์ ระดับราคา ความยากความง่าย/ยากของทรัพย์ที่มีความซับซ้อน

     3. ทักษะในการกำหนดคุณสมบัติประเภทของทรัพย์ที่มีความซับซ้อน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

     1. หลักการและวิธีการวิเคราะห์รายได้

     2. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือการตลาดออนไลน์ 

     3. ความรู้เกี่ยวกับธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทต่างๆ

     4. หลักการและวิธีการธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลประเภทต่างๆ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

     หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

     (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

          1. เอกสาร/หลักฐานรับรองการทำงาน

          2. เอกสาร/หลักฐานการอบรมเชิงปฏิบัติการ

          3. แฟ้มสะสมผลงาน และ/หรือ

          4. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้อง

     (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

          1. ผลการทดสอบข้อเขียน

          2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

     (ค) คำแนะนำในการประเมิน    

          เจ้าหน้าที่สอบประเมินสมรรถนะ จัดการทรัพย์สินที่มีความซับซ้อน โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานด้านการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ประกอบการพิจารณาเข้าสู่กระบวนการประเมินสมรรถนะ

     (ง) วิธีการประเมิน

          พิจารณาตามหลักฐานความรู้และประสบการณ์การปฏิบัติงาน คือ การสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

     ขอบเขตของการปฏิบัติงาน จัดการทรัพย์สินที่มีความซับซ้อนครอบคลุมตั้งแต่การจัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม การจัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์ การจัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน และการจัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน

     (ก) คำแนะนำ

          1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถอธิบายวิธีการจัดการทรัพย์ประเภทอุตสาหกรรม การจัดการทรัพย์ประเภทพาณิชย์ การจัดการทรัพย์ประเภทการลงทุน และการจัดการทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน

          2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

     (ข) คำอธิบายรายละเอียด

          1.ทรัพย์สินประเภทอุตสาหกรรม แบ่งเป็น

               1.1 ทรัพย์สินต่างๆที่ใช้ประโยชน์เพื่ออุตสาหกรรมหือเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม คลังสินค้า ที่ดิน(ใน/นอกพื้นที่อุตสาหกรรม) และอาคาร สิ่งปลูกสร้าง (โรงงาน โกดัง คลังสินค้า )

               1.2 พื้นที่อุตสาหกรรมโดยทั่วไป ปรากฏในรูปแบบของสวนอุตสาหกรรม ย่านอุตสาหกรรม เขตอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม

          2.ทรัพย์ประเภทพาณิชย์ หมายถึง ทรัพย์ที่ใช้สำหรับประกอบการค้าและประกอบกิจการการลงทุนเชิงพาณิชย์  ได้แก่ อาคารสำนักงาน  ห้างสรรพสินค้า มินิมอล์ ร้านค้า อาคารพาณิชย์ พื้นที่ตลาดกลางแจ้งและในร่ม ฯลฯ

          3.ทรัพย์ประเภทลงทุน หมายถึ งทรัพย์ที่ลงทุนในตลาดธรรมดาหรือตลาดทุน ที่มีผลตอบแทนรายได้ในรูปของค่าเช่า  ค่าบริการ เป็นผลกำไรจากการลงทุน ได้แก่ โรงแรม โรงพยาบาล  อพาร์ทเม้น หอพัก  สนามกีฬา  สนามกอล์ฟ โรงภาพยนตร์ ฯลฯ

          4.ทรัพย์ประเภทที่ดินเพื่อการลงทุน หมายถึงที่ ดินแปลงใหญ่ที่นำมาพัฒนาในรูปแบบต่างๆ ให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ได้แก่ที่ดินทำโครงการจัดสรรประเภทต่างๆ  หรือลงทุนในประเภทต่างๆ  


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     18.1 การสอบข้อเขียน



ยินดีต้อนรับ