หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-PIKE-350A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประกอบติดตั้งอุปกรณ์ท่อด้วยวิธีการใช้น้ำยาประสานอย่างถูกต้องได้ ตามแบบกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร (การติดตั้งท่อสุขาภิบาล )ช่างบริการประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04301.01

เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง

1. ขนย้ายเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับประกอบออกมาจากที่เก็บได้อย่างถูกต้อง

04301.01.01 189616
04301.01

เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง

2. เลือกใช้เครื่องมือตัดท่อได้อย่างถูกต้อง

04301.01.02 189617
04301.01

เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง

3. ทำความสะอาดผิวท่อ เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้อง

04301.01.03 189618
04301.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยน้ำยาประสาน

1.ตัดท่อให้ได้ฉากและระยะตามแบบที่กำหนด

04301.02.01 189621
04301.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยน้ำยาประสาน

2.ใช้น้ำยาประสานทาบริเวณปลายท่อได้อย่างถูกต้อง

04301.02.02 189622
04301.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยน้ำยาประสาน

3.ปฏิบัติงานประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสานได้อย่างถูกต้อง

04301.02.03 189623
04301.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน

1.ทดสอบเปิดน้ำเพื่อดูการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

04301.03.01 189624
04301.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน

2.เลือกใช้วิธีทำความสะอาดพื้นที่หลังการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสานได้อย่างถูกต้อง

04301.03.02 189625
04301.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน

3.จัดเก็บเครื่องมือหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

04301.03.03 189626

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะในการใช้เครื่องมือ

    2. ทักษะการตัดและประกอบท่อ



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    2. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนประกอบท่อด้วยน้ำยาประสาน

    3. ความรู้เกี่ยวกับน้ำยาประสาน




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน สามารถประกอบติดตั้งอุปกรณ์ท่อด้วยวิธีการใช้น้ำยาประสานอย่างถูกต้องได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. น้ำยาประสานท่อ หมายถึง กาวหรือสารเคมีที่ใช้ในการประกอบท่อและข้อต่อประสานติดเป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ต่อสนิทไม่รั่วซึม

    2. ท่อที่ใช้ในการต่อด้วยน้ำยาประสาน เช่น ท่อพีวีซี (PVC) เป็นต้น

    3. เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสานประกอบด้วย

    4. อุปกรณ์เครื่องมือในการตัดท่อ อาทิ เลื่อยตัดท่อ กรรไกรตัดท่อ เป็นต้น

    5. อุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ ผ้าทำความสะอาด ฟองน้ำ ถังน้ำ เป็นต้น

    6. วัสดุที่ใช้ในการต่อ อาทิ ท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือข้อต่อท่อ เป็นต้น

    7. การประกอบด้วยน้ำยาประสานมีกระบวนการโดยสรุปดังนี้

      1. ตัดท่อให้ได้ฉากและระยะตามต้องการโดยใช้เลื่อยตัดโลหะ หรือกรรไกรตัดท่อ

      2. ก่อนจะนำท่อมาประกอบกันต้องใช้ตะไบละเอียดลบมุมปลายท่อโดยรอบ ให้มีความลาดเอียงประมาณ 15 องศา

      3. วัดระยะความลึกในการสวมท่อเข้ากับข้อต่อ

      4. ใช้น้ำยาทำความสะอาดท่อพีวีซี เช็ดทำความสะอาดด้านในข้อต่อและปลายท่อให้ปราศจากคราบน้ำมัน ฝุ่น และความชื้น

      5. ทาน้ำยาประสานท่อพีวีซีที่ผิวด้านในข้อต่อให้ทั่วก่อน แล้วจึงทาผิวด้านนอกท่อ

      6. สวมปลายท่อเข้ากับข้อต่อ แล้วกดเข้าไปจนถึงเครื่องหมายที่ทำไว้ จากนั้นกดท่อต่อไปอีกประมาณ 15 วินาที

      7. เช็ดน้ำยาประสานท่อพีวีซีที่ล้นออกมา ทิ้งไว้ให้น้ำยาแข็งตัวประมาณ 10 นาที ก่อนเริ่มใช้งาน



    8. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น เป็นต้น

    9. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมิน เตรียมความพร้อมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อด้วยน้ำยาประสาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้น้ำยาประสาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ