หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-WAFY-326A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2113 นักเคมี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีเพื่อใช้ในการผลิตน้ำประปาได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม ตามที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานผลิตน้ำประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02311.01

เก็บข้อมูลที่ใช้คำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

1. วัดปริมาณการไหลโดยการวัดปริมาณในเวลาที่กำหนดได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02311.01.01 189301
02311.01

เก็บข้อมูลที่ใช้คำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

2. หาค่าเฉลี่ยอัตราการไหลได้อย่างถูกต้อง

02311.01.02 189302
02311.01

เก็บข้อมูลที่ใช้คำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

3. จดบันทึกผลการวัดและการคำนวณได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02311.01.03 189303
02311.01

เก็บข้อมูลที่ใช้คำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

4. อ่านผลคุณภาพน้ำดิบและนำมาใช้คำนวณต่อได้ถูกต้อง

02311.01.04 189304
02311.02

คำนวณปริมาณสารเคมี 

1. ใช้ข้อมูลการวัดน้ำดิบเปิดตารางเพื่อหาปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการผลิตได้อย่างถูกต้อง

02311.02.01 189305
02311.02

คำนวณปริมาณสารเคมี 

2. หาปริมาณสารเคมีที่จ่ายเข้าระบบได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02311.02.02 189306
02311.02

คำนวณปริมาณสารเคมี 

3. กำหนดอัตราการกวนสารเคมี และเวลาในการกวนได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02311.02.03 189307

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของสารเคมี (เสื่อมคุณภาพ) และเครื่องจ่ายสารเคมี และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

    2. ทักษะการจัดเตรียม จัดเก็บ เคลื่อนย้ายสารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

    3. ทักษะการคำนวณอัตราจ่ายสารละลายของเครื่องจ่ายสารเคมี

    4. ทักษะการผสมและบรรจุสารเคมีได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

    5. ทักษะการคำนวณอัตราการจ่ายปริมาณสารเคมี



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เบื้องต้นที่เกี่ยวกับสารเคมี การใช้สารเคมี การผสมสารเคมี และการบรรจุสารเคมี

    2. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ การแต่งกาย

    3. ความรู้ในการใช้เครื่องจ่ายสารเคมี

    4. ความรู้คณิตศาสตร์ การบวก ลบ คูณ หาร การหาค่าร้อยละ 

    5. ความรู้สูตรคำนวณหาอัตราการจ่ายปริมาณสารเคมี




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  •  คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสม โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. การคำนวณการปรับจ่ายสารเคมีสำหรับจ่ายเข้าสู่ระบบ ดังนี้





คำนวณหาปริมาณสารเคมีที่ใช้การปรับจ่ายสารเคมีเพื่อสร้างตะกอน








      1. ทำการวัดปริมาณการไหลโดยการวัดปริมาณในเวลาที่กำหนด

      2. คำนวณหาค่าเฉลี่ยอัตราการไหลได้อย่างถูกต้อง

      3. จดบันทึกผลการวัดและการคำนวณ

      4. ใช้ข้อมูลการวัดน้ำดิบเปิดตารางเพื่อหาปริมาณสารเคมีที่ใช้ในการผลิตได้

      5. คำนวณอัตราการจ่ายสารเคมีชนิดต่างๆได้ เช่น การใช้สารส้มและปูนขาว การใช้โพลีอลูมิเนียมคลอไรด์ การใช้คลอรีน เป็นต้น

      6. ตัวแปรงสูตรคำนวณ ปริมาณสารเคมีที่ใช้ต่อรอบ = อัตราการผลิตน้ำประปา (ลบ.ม./ซม.) x ปริมาณสารเคมีที่ใช้ (กรัม/ลบ.ม.) x ระยะเวลาการผลิตน้ำประปา (ชม./วัน)



    1. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานวิเคราะห์หาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ หรือการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    2. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น





    1. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการเก็บข้อมูลที่ใช้ในคำนวณอัตราจ่ายสารเคมี

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการคำนวณปริมาณสารเคมี


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ