หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-AOKC-318A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2113 นักเคมี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา ระดับ 3พนักงานผลิตน้ำประปาชุน ระดับ 4

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02303.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพ

1. วัดค่าความความเป็นกรด–ด่าง (PH) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการ ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02303.01.01 189207
02303.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพ

2. วัดค่าความขุ่น (Turbidity) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02303.01.02 189208
02303.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพ

3. วัดค่าสี (Color) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02303.01.03 189209
02303.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพ

4. วัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02303.01.04 189210
02303.02

วิเคราะห์หาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

1. เลือกใช้เครื่องมือในการหาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง 

02303.02.01 189211
02303.02

วิเคราะห์หาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

2. วัดค่าความต้องการสารเคมีที่ต้องใช้ในการตกตะกอนได้อย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02303.02.02 189212
02303.02

วิเคราะห์หาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. ใช้ข้อมูลจากการวัดวิเคราะห์หาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง

02303.02.03 189213
02303.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ

1. สรุปผลการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง 

02303.03.01 189214
02303.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ

2. บันทึกผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02303.03.02 189215
02303.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ

3. แจ้งไปยังฝ่ายควบคุมการผลิตน้ำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02303.03.03 189216

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบได้ตามหลักการที่ถูกต้อง และใช้เครื่องมือใน LAB ได้อย่าถูกต้องและปลอดภัย

    2. ทักษะการบันทึก/สรุปผลการวิเคราะห์ตามผลการทดลองจริงที่ได้จากการเก็บตัวอย่างน้ำดิบ

    3. ทักษะการทวนสอบค่าวิเคราะห์ หรือทำการทดสอบซ้ำ ตามแผน หรือในกรณีที่พบค่าที่ผิดปกติ

    4. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

    5. ทักษะการวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ

    2. ความรู้เบื้องต้น ขั้นตอน วิธี ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ

    3. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  •  คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ 

    3. พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน

    4. พิจารณาจากการสอบปฏิบัติ




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

    2. มีรายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการทดสอบประเมินเพื่อตรวจสอบเครื่องมือก่อนและหลังการทดสอบ

    3. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ทดสอบต้องพร้อมสำหรับการทดสอบประเมินทุกครั้งก่อนการทดสอบประเมิน



  • คำอธิบายรายละเอียด



การตรวจสอบ และวิธีการในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ






    1. การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ เริ่มต้นจากการวัดค่า ทดสอบคุณภาพน้ำดิบซึ่งเป็นการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทางกายภาพ และทดสอบการตกตะกอนทางเคมีของน้ำ เช่น วิธี Jar test เพื่อนำข้อมูลคุณภาพน้ำดิบไปคำนวณหาปริมาณความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบในหน่วยสารละลาย เช่น PPM ด้วยวิธีต่างๆ เป็นต้น

    2. การตรวจวัดความเป็น กรด ด่าง สามารถใช้ชุดทดสอบแบบ Test Kits ซึ่งสามารถอ่านผลทันทีโดยเทียบกับสีมาตรฐานที่อยู่ด้านข้างของหลอด

    3. การทดสอบตกตะกอนทางเคมีของน้ำโดยวิธี Jar test เพื่อคำนวณหาปริมาณความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ ในหน่วยสารละลาย เช่น PPM เพื่อช่วยในการตกตะกอนทางเคมีของน้ำในการผลิตน้ำประปา ซึ่งปัจจัยในการตกตะกอนนั้นขึ้นอยู่กับค่า pH สี ความขุ่น ส่วนประกอบของสารต่างๆ ที่อยู่ในน้ำ ชนิดของตัวตกตะกอนที่เราใช้ รวมทั้ง อุณหภูมิ อัตราเร็วของสารที่ผสมระยะเวลาในการผสม ซึ่งน้ำแต่ละแห่งแต่ละชนิดก็ต้องการปริมาณสารที่ตกตะกอนในปริมาณที่ต่างกัน Jar Test  จึงเป็นเหมือนการเลียนแบบสภาวะของบ่อบำบัด ขั้นตอนของการทดลองคือ เติมสารที่ทำให้ตกตะกอนลงไปในน้ำแล้วกวนอย่างรวดเร็วในช่วงสั้นๆ เพื่อให้สารผสมเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นลดความเร็วลงโดยใช้ระยะเวลานานขึ้นเพื่อให้ตะกอนเกาะกลุ่มกัน จากนั้นหยุดกวนเพื่อให้เกิดการตกตะกอน ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหาปริมาณของสารที่ทำให้ตกตะกอนที่เหมาะสมกับน้ำดิบ

    4. วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบตกตะกอนทางเคมีของน้ำโดยวิธี Jar test ได้แก่ ขวดวัดปริมาตร 1000 ml  เครื่องชั่ง (Analytical balance) สารที่ทำให้เกิดการตกตะกอน เครื่องกวนสาร(Magnetic stirrer) เครื่อง Jar บีกเกอร์ ปิเปต นาฬิกาจับเวลา เครื่องวัดค่าความขุ่น และหลอดเก็บตัวอย่าง เป็นต้น

    5. โดยการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพเพื่อใช้ในการคำนวณการปรับจ่ายสารเคมีที่เหมาะสมเข้าระบบการผลิตน้ำประปา โดยมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบตามตาราง ดังนี้










































รายการวิเคราะห์



วิธีการวิเคราะห์



คุณสมบัติทางกายภาพ



 



Color



ความเข้มสี



Visual Comparison Method



Conductivity



การนำไฟฟ้า



Electrical Conductivity Method



pH



ความเป็นกรด-ด่าง



Electrometric Method



Turbidity



ความขุ่น



Nephelometric Method



Temperature



อุณหภูมิ



Electrometric Method




 


 






    1. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    2. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบทางกายภาพ

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์หาความต้องการสารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ