หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สูบจ่ายน้ำประปาชุมชน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-JFUF-344A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สูบจ่ายน้ำประปาชุมชน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมสถานีสูบน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมระบบสูบจ่ายน้ำประปาขนาดโรงผลิตน้ำประปามีกำลังผลิตไม่เกิน 1,000 ลูกบาศก์เมตร/วัน ตามที่ได้รับมอบหมายหรือแผนกำหนดไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
พนักงานผลิตน้ำประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03201.01

ควบคุมเครื่องสูบน้ำดีได้อย่างถูกต้อง

1. ดูเครื่องสูบน้ำดีให้พร้อมใช้งานตามคู่มือกำหนด

03201.01.01 189563
03201.01

ควบคุมเครื่องสูบน้ำดีได้อย่างถูกต้อง

2. ดูตู้ควบคุมให้พร้อมใช้งานตามคู่มือกำหนด

03201.01.02 189564
03201.01

ควบคุมเครื่องสูบน้ำดีได้อย่างถูกต้อง

3. ดูระบบไฟฟ้าให้พร้อมใช้งานตามคู่มือกำหนด

03201.01.03 189565
03201.01

ควบคุมเครื่องสูบน้ำดีได้อย่างถูกต้อง

4. ใช้เครื่องสูบน้ำดีสูบจ่ายน้ำได้ตามตามที่ได้รับมอบหมายหรือแผนกำหนดไว้

03201.01.04 189566
03201.02

ควบคุมหอถังสูงได้อย่างถูกต้อง

1. ดูหอถังสูงให้พร้อมใช้งานตามคู่มือกำหนด

03201.02.01 189567
03201.02

ควบคุมหอถังสูงได้อย่างถูกต้อง

2. ตั้งค่าหอถังสูงให้ส่งจ่ายปริมาณน้ำตามที่ได้รับมอบหมายหรือแผนกำหนดไว้

03201.02.02 189568
03201.02

ควบคุมหอถังสูงได้อย่างถูกต้อง

3. ระบายปริมาณน้ำในถังสูงให้อยู่ในระดับตามที่คู่มือกำหนด

03201.02.03 189569

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการใช้เครื่องสูบน้ำดี

    2. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เปิด-ปิดวาล์วและประดูน้ำ

    3. ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของเครื่องจักรเบื้องต้นตามคู่มือกำหนด



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้การใช้เครื่องสูบน้ำดี

    2. ความรู้การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เปิด-ปิดวาล์วและประตูน้ำ




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. บรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา






  • คำแนะนำในการประเมิน


    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสูบจ่ายน้ำประปาชุมชน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงความรู้และทักษะการสูบจ่ายน้ำประปาชุมชนได้อย่างถูกต้อง ได้แก่ ควบคุมเครื่อง สูบน้ำและควบคุมหอถังสูงได้อย่างถูกต้อง



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. ดูความพร้อมและควบคุมเครื่องสูบน้ำดีและระบบควบคุม เครื่องสูบน้ำดีที่ใช้งานในระบบจ่ายน้ำ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องสูบน้ำแบบหอยโข่งทำหน้าที่สูบน้ำจากถังน้ำใสส่งขึ้นหอถังสูง หรือสูบน้ำจากถังใสเข้าเส้นท่อจ่ายน้ำโดยตรง เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ใช้น้ำ ก่อนเดินเครื่องสูบน้ำดี ควรตรวจสอบมอเตอร์ไฟฟ้าและเพลาขับปั๊มน้ำว่าอยู่ในสภาพได้ศูนย์หรือไม่ การหมุนสะดวกหรือไม่ ปั๊มน้ำมีการเติมน้ำให้เต็ม หรือไล่อากาศในปั๊มแล้วหรือยัง ประตูน้ำท่อทางส่งต้องปิด ประตูระบายน้ำที่ประตูกันน้ำกลับปิดสนิทหรือไม่ และต้องตรวจสอบด้วยว่าระดับน้ำในถังน้ำใสก่อนสูบน้ำควรมีปริมาณน้ำเต็มถัง ระดับน้ำที่หอถังสูงควรมีปริมาณน้ำเหลืออยู่บ้างไม่ควรให้น้ำแห้ง การหยุดเดินเครื่องสูบน้ำดีควรให้มีปริมาณน้ำเต็มหอถังสูงก่อนเสมอ และควรปิดประตูน้ำท่อทางส่งก่อนการหยุดเดินเครื่องสูบน้ำทุกครั้ง

    2. ควบคุมหอถังสูงทำหน้าที่สร้างแรงดันน้ำ และรักษาแรงดันน้ำในระบบท่อจ่ายน้ำประปาให้คงที่สม่ำเสมอ เพื่อจ่ายน้ำประปาให้กับผู้ใช้น้ำ ส่วนน้ำที่สำรองไว้ในหอถังสูงทำหน้าที่รักษาระยะเวลาการทำงานของเครื่องสูบน้ำดีให้อยู่ที่ช่วงที่เหมาะสม ไม่เปิด-ปิดจนบ่อยเกินไป สำหรับระบบประปาขนาดอัตราการผลิต 50 ลบ.ม./ซม.นี้ หอถังสูงมีขนาดความจุ 120 ลบ.ม. มีความสูงจากพื้นดินถึงก้นถังประมาณ 17.50 เมตร ประโยชน์ของหอถังสูงนอกจากการจ่ายน้ำประปาให้กับชุมชนแล้ว ยังใช้น้ำเพื่อการล้างย้อนในการล้างหน้าทรายกรอง (Back Wash)

    3. ระบบพลังงานเครื่องกลขับเครื่องสูบน้ำ เช่น มอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องยนต์ดีเซล เป็นต้น

    4. ส่วนประกอบของตู้ควบคุมเครื่องสูบน้ำ เช่น เบรคเกอร์ ฟิวส์ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ โอเวอร์โหลดรีเลย์ ไทม์เมอร์ แอมป์มิเตอร์ โวลท์มิเตอร์ เฟสโปรแทคชั่น หม้อแปลงไฟฟ้า รีเลย์ แบรคเกอร์เคอร์เรนท์ทรานฟอร์เมอร์ เครื่องวัดแรงดันน้ำมันหล่อลื่น เครื่องวัดรอบเครื่องยนต์ เครื่องวัดอุณหภูมิ เป็นต้น

    5. เตรียมความพร้อมเครื่องสูบน้ำ เช่น ปิด-เปิดประตูน้ำ ล่อน้ำไล่อากาศในเครื่องสูบ ตรวจกระแสไฟฟ้า เชื้อเพลิง สายพาน น้ำมันหล่อลื่น น้ำกลั่นแบตเตอรี่ เป็นต้น

    6. สังเกตการทำงานของเครื่องสูบน้ำ เช่น ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าแรงดัน ค่ารอบเครื่องยนต์ ค่าน้ำมันหล่อลื่น อุณหภูมิเครื่องยนต์ เสียงเครื่องยนต์ ปริมาณน้ำดิบที่สูบได้ เป็นต้น

    7. ดูความพร้อมและตรวจสอบหอถังสูง เช่น ประตูจ่ายน้ำประปา เครื่องมือมุมประตูน้ำ ระดับน้ำในหอถังสูง ท่อน้ำล้น ท่อน้ำทิ้ง เป็นต้น

    8. เครื่องมือและอุปกรณ์เปิด-ปิดวาล์วและประดูน้ำ เช่น ประแจ บล็อกมือหมุน ไขควง เป็นต้น

    9. ระบบควบคุมระดับน้ำในหอถังสูง ได้แก่ 1) ระบบมือหมุน 2) ระบบอัตโนมัติโดยสวิตซ์ลูกลอย เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมิน ควบคุมเครื่องสูบน้ำดีได้อย่างถูกต้อง

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ควบคุมหอถังสูงได้อย่างถูกต้อง


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ