หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-MQVU-370A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3123 หัวหน้าคุมงานก่อสร้าง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร ได้แก่ วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร ปฏิบัติการตรวจสอบ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร ได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ควบคุมงานประปาภายใน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04321.01

วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

1.ระบุรายการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคารได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

04321.01.01 189859
04321.01

วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

2. กำหนดช่วงเวลาในการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคารได้อย่างถูกต้อง

04321.01.02 189860
04321.01

วางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

3. เขียนแผนแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคารได้อย่างถูกต้อง

04321.01.03 189861
04321.02

ปฏิบัติการตรวจสอบ

1.มอบหมายงานการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคารให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

04321.02.01 189862
04321.02

ปฏิบัติการตรวจสอบ

2.ติดตามความคืบหน้าการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานได้ตามแผนงานได้อย่างถูกต้อง

04321.02.02 189863
04321.02

ปฏิบัติการตรวจสอบ

3.ตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานได้ตามแผนงานได้อย่างถูกต้อง

04321.02.03 189864
04321.02

ปฏิบัติการตรวจสอบ

4.ปฏิบัติงานได้ตามข้อกำหนดความปลอดภัย

04321.02.04 189865
04321.03

วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

1.รวบรวมข้อมูลผลการตรวจสอบจากผู้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

04321.03.01 189866
04321.03

วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

2.ใช้ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวมของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อทำการวิเคราะห์ให้ได้คุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคารได้อย่างถูกต้อง

04321.03.02 189867
04321.03

วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

3.เขียนรายงานผลการวิเคราะห์และการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

04321.03.03 189868

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการวางแผนงานการจัดการระบบสุขาภิบาล

    2. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาขั้นสูง

    3. ทักษะการควบคุมงานสูบจ่ายท่อประปา

    4. ทักษะการตรวจสอบงานสูบจ่ายท่อประปา



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เกี่ยวกับการก่อสร้างงานสูบจ่ายท่อประปา

    2. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวางแผน ควบคุม ติดตามงานสูบจ่ายท่อประปา

    3. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา

    4. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา 



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



            การตรวจสอบการประปาภายในอาคารผู้เข้ารับการประเมินต้องจัดทำเอกสารตรวจติดตามได้อยากถูกต้อง เมื่อทำการตรวจสอบเรียบร้อยแล้วต้องเขียนรายงานสรุปผลและประเมินผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน




  • คำอธิบายรายละเอียด


    1. ตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร หมายถึง การตรวจสอบการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานให้ตรงกับแผนที่วางไว้โดยการปฏิบัติงานนี้หมายถึงการ ติดตั้งระบบสุขาภิบาลภายในอาคารทั้งระบบ

    2. จัดเตรียมเอกสารสำหรับตรวจได้ครบถ้วน ได้แก่ รายละเอียดที่ต้องตรวจสอบ ขั้นตอนการทำงานที่ต้องตรวจสอบ แบบแปลน เป็นต้น

    3. เตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับการตรวจ อาทิ ตลับเมตร เวอร์เนีย ระดับน้ำ เป็นต้น

    4. หลักการสำคัญในการตรวจสอบงานประปาภายในอาคาร ประกอบด้วย

      1. ตรวจการทำงานว่าเป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้หรือไม่

      2. ตรวจการทำงานให้ครบตามระบบงานประปาภายในอาคาร โดยใช้ระบบเอกสารหรือซอฟแวร์เข้ามาช่วยในการตรวจ

      3. ต้องมีความละเอียดถี่ถ้วนในการตรวจ

      4. จัดทำสรุปปัญหาการปฏิบัติงานประปาภายในอาคารเพื่อนำไปหาทางแก้ไขและปรับปรุงการปฏิบัติงานต่อไป

      5. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น






16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการวางแผนการตรวจสอบคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการปฏิบัติการตรวจสอบ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพงานการติดตั้งสุขาภิบาลภายในอาคาร


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ