หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-QLSW-364A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม ได้แก่ คอนโด หอพัก อพาร์ทเม้นท์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ได้อย่างถูกต้อง ละเอียด ครบถ้วน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04315.01

วางแผนการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

1.ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในเอกสารได้อย่างถูกต้อง

04315.01.01 189772
04315.01

วางแผนการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

2.ระบุจำนวนการตรวจสอบรายการได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

04315.01.02 189773
04315.01

วางแผนการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

3.ทำเอกสารให้พร้อมสำหรับการทดสอบ

04315.01.03 189774
04315.02

ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

1.ใช้เครื่องมือในการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลแยกส่วนได้อย่างถูกต้อง

04315.02.01 189778
04315.02

ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

2.ตรวจสุขภัณฑ์ภายในอาคารตามวาระได้อย่างถูกต้อง

04315.02.02 189779
04315.02

ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

3.สังเกตการอุดตันของท่อน้ำเสีย ที่ระบายน้ำภายในอาคารตามวาระได้อย่างถูกต้อง

04315.02.03 189780
04315.02

ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

4.สอบถามวิธีการใช้งานระบบสุขาภิบาลของผู้พักอาศัยได้อย่างถูกต้อง

04315.02.04 189781
04315.02

ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

5.ทดสอบท่อระบบดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง

04315.02.05 189782
04315.03

จัดทำรายงานการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

1.รวบรวมข้อมูลการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลแบบรวมได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

04315.03.01 189783
04315.03

จัดทำรายงานการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

2.สรุปรายการผลการตรวจสอบระบบสุขาภิบาลแบบรวมได้อย่างถูกต้อง

04315.03.02 189784
04315.03

จัดทำรายงานการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

3.เขียนรายงานได้อย่างละเอียดถูกต้อง

04315.03.03 189785
04315.04

แจ้งซ่อมตามรายงานตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

1.อ่านข้อมูลรายงานเพื่อจัดสรรเจ้าหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง

04315.04.01 189786
04315.04

แจ้งซ่อมตามรายงานตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

2.มอบหมายให้เจ้าหน้าที่แก้ไขซ่อมแซมตามรายงาน

04315.04.02 189787
04315.04

แจ้งซ่อมตามรายงานตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

3.ติดตามผลการแก้ไขซ่อมแซมตามเอกสารตรวจสอบ

04315.04.03 189788

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะทางด้านการอ่านแบบและถอดแบบระบบท่อประปาสุขาภิบาล

    2. ทักษะการติดตั้ง ซ่อม เปลี่ยนท่อประปาชนิดต่างๆ

    3. ทักษะการตรวจระดับ ปรับยึดแขวนท่อประปาโสโครก ท่อน้ำทิ้ง

    4. ทักษะการตรวจสภาพและซ่อมเครื่องสูบน้ำที่ชำรุดเบื้องต้น

    5. ทักษะในการก่ออิฐ ฉาบปูน ปูกระเบื้อง ซ่อมพื้นผนังที่แตกร้าวรั่วซึม



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบส่งจ่ายน้ำประปาและสุขาภิบาล

    2. ความรู้เรื่องท่อประปาและ Fitting ประกอบท่อชนิดต่างๆ

    3. ความรู้ทางด้านการอ่านแบบก่อสร้างอาคาร แบบสุขาภิบาล

    4. ความรู้เรื่องมาตรวัดน้ำ

    5. ความรู้เกี่ยวกับท่ออากาศและ Traps ดักกลิ่นชนิดต่างๆ




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ


    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา 



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เกี่ยวกับการติดตั้งสุขาภิบาลทั้งระบบและมีทักษะในการทดสอบการใช้งานของสุขภัณฑ์รวมถึงการใช้งานของท่อและอุปกรณ์จ่ายน้ำประปา ระบายน้ำประปา และระบบถังดับเพลิง






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. สุขาภิบาลแบบรวม คือ ระบบสุขาภิบาลที่ใช้ร่วมกันหลายครัวเรือน อาทิ อาคารชุด คอนโด อพาร์ทเม้นท์

    2. เครื่องมือที่ใช้ในการตรวจสอบ อาทิ กล้องถ่ายรูป รายการตรวจระบบสุขาภิบาลแยกส่วน เป็นต้น

    3. ระบบดับเพลิงด้วยน้ำ คือ ระบบป้องกันอัคคีภัยเบื้องต้นภายในอาคาร ประกอบด้วย ระบบท่อยืน (Standpipe) ระบบหัวกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Automatic Sprinkler Systems) และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)

    4. (Automatic Sprinkler Systems) และเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump)

    5. รายการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวมที่สำคัญ ประกอบด้วย

      1. ตรวจสอบการใช้มาตรวัดน้ำ ท่อเมนส่งจ่ายน้ำประปาภายนอกภายในอาคาร

      2. ตรวจสอบระบบเครื่องสูบน้ำและถังพักน้ำ

      3. ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในงานสุขาภิบาลแบบรวม ระบบควบคุมระดับน้ำในถังเก็บน้ำ ระบบควบคุมเครื่องสูบน้ำ

      4. ตรวจสอบระบบควบคุมแรงดันน้ำในแต่ละชั้นของอาคาร

      5. ตรวจสอบก๊อกน้ำและอุปกรณ์ควบคุมการใช้น้ำของสุขภัณฑ์

      6. ตรวจสอบระบบท่อโสโครก ท่อน้ำทิ้ง ท่ออากาศ เช่น ระบบท่อส้วมท่อโสโครก บ่อเกรอะบ่อซึม ระบบท่อระบายน้ำทิ้ง ท่อระบายอากาศ ท่อระบายน้ำฝน ท่อระบายน้ำทิ้งนอกอาคาร บ่อพักบ่อดักท่อไขมันก่อนระบายลงสู่สาธารณะ

      7. ตรวจสอบท่อของระบบดับเพลิงให้ทำงานตามปกติ



    6. เอกสารอ้างอิงสำหรับการตรวจสอบ เช่น คู่มือการซ่อมบำรุงเครื่องสูบน้ำของผู้ผลิต คู่มือการติดตั้งสุขภัณฑ์ชนิดต่างๆ คู่มือตรวจสอบท่อประปาและถังพักน้ำรั่วซึม เป็นต้น

    7. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    8. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมิน วางแผนการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน จัดทำรายงานการตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน แจ้งซ่อมตามรายงานตรวจสอบสุขาภิบาลแบบรวม


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ