หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งสุขภัณฑ์

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-JUFS-362A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งสุขภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถติดตั้งสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้องและตามข้อกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04313.01

เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ

  1. ขนย้ายเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับประกอบออกมาจากที่เก็บได้อย่างถูกต้อง
04313.01.01 189746
04313.01

เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ

2.เลือกใช้เครื่องมือสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์แต่ละประเภทได้อย่างถูกต้อง

04313.01.02 189747
04313.01

เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ

3.เลือกใช้เครื่องมือทำความพื้นที่การติดตั้งได้อย่างถูกต้อง

04313.01.03 189748
04313.02

ใช้อุปกรณ์ติดตั้งสุขภัณฑ์ให้ได้ตามแบบที่กำหนด

1.ปฏิบัติงานการติดตั้งสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

04313.02.01 189749
04313.02

ใช้อุปกรณ์ติดตั้งสุขภัณฑ์ให้ได้ตามแบบที่กำหนด

2.เลือกใช้อุปกรณ์ติดตั้งสุขภัณฑ์ตามลักษณะของสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

04313.02.02 189750
04313.02

ใช้อุปกรณ์ติดตั้งสุขภัณฑ์ให้ได้ตามแบบที่กำหนด

3.ติดตั้งท่ออากาศและอุปกรณ์ดักกลิ่นให้ถูกต้องตามข้อกำหนด

04313.02.03 189751
04313.03

ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการติดตั้งสุขภัณฑ์

1.ทดลองเปิดน้ำเพื่อใช้งานสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

04313.03.01 189752
04313.03

ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการติดตั้งสุขภัณฑ์

2.ทำความสะอาดพื้นที่หลังการติดตั้งสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

04313.03.02 189753
04313.03

ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการติดตั้งสุขภัณฑ์

3.จัดเก็บเครื่องมือหลังการติดตั้งสุขภัณฑ์ได้อย่างถูกต้อง

04313.03.03 189754

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 






    1. ทักษะการติดตั้งสุขภัณฑ์

    2. ทักษะการประกอบท่อ

    3. ทักษะการใช้เครื่องมือ

    4. ทักษะการแยกประเภทสุขภัณฑ์



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เรื่องการติดตั้งสุขภัณฑ์แต่ละชนิด

    2. ความรู้เรื่องท่อและการประกอบท่อแต่ละชนิด

    3. ความรู้เรื่องการใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้อง

    4. ความรู้เรื่องไฟฟ้า




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา 



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการติดตั้งสุขภัณฑ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



            จัดการทำความสะอาดสถานที่ให้พร้อมสำหรับติดตั้งสุขภัณฑ์ตามแบบที่มีให้ มีความรู้เกี่ยวกับประเภทของอุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง เตรียมอุปกรณ์ให้ครบสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์ประเภทต่างๆรวมถึงติดตั้งท่ออากาศ ท่อน้ำทิ้ง และมีความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงาน






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. สุขภัณฑ์ หมายถึง ภาชนะ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ที่ทำหน้าที่รองรับน้ำ รองรับของเหลว และจ่ายของเหลว น้ำเสีย หรือน้ำโสโครก เช่น อ่างล้างหน้า อ่างอาบน้ำ โถปัสสาวะชาย และอุปกรณ์ประกอบห้องน้ำอื่นๆ

    2. เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมปริมาณ แรงดันและระดับน้ำ ประกอบด้วย

      1. อุปกรณ์เครื่องมือในการตัดท่อ อาทิ เลื่อยตัดท่อ เครื่องตัดท่อ กรรไกรตัดท่อ เป็นต้น

      2. อุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ ผ้าทำความสะอาด ฟองน้ำ ถังน้ำ ไม้กวาด เป็นต้น

      3. วัสดุที่ใช้ในการต่อท่อ อาทิ เกลียวท่อ น้ำยาประสาน ท่อขนาดต่างๆ เทปพันเกลียว เป็นต้น

      4. เครื่องมือที่เกี่ยวข้องในการติดตั้งสุขภัณฑ์ เช่น สว่านไฟฟ้า ค้อน ดอกสกัดปูน เกียงฉาบปูน ถาดผสมปูน เป็นต้น



    3. ติดตั้งสุขภัณฑ์ให้ประณีต ให้พื้นผิวเรียบไม่ขรุขระให้ได้ฉากและได้ระดับ ไม่ลาดเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง

    4. สุขภัณฑ์ใช้งานได้ปกติไม่รั่วซึม พื้นที่หลังการติดตั้งมีความสะอาด

    5. เพื่อทดสอบรอยต่อต่างๆและป้องกันการรั่วซึมทั้งระบบต้องทดสอบแรงดันน้ำในระบบท่อก่อน

    6. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    7. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมิน เตรียมพร้อมสำหรับการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ใช้อุปกรณ์ติดตั้งสุขภัณฑ์ให้ได้ตามแบบที่กำหนด


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการติดตั้งสุขภัณ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ