หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประกอบท่อโดยใช้เกลียว

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-GWMO-351A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประกอบท่อโดยใช้เกลียว

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ท่อประปาภายในอาคารด้วยข้อต่อแบบเกลียวได้อย่างถูกต้อง ได้ตามแบบกำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายในอาคาร (การติดตั้งท่อสุขาภิบาล)พนักงานผลิตน้ำประปาชุมชนช่างบริการประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
04302.01

ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1.เลือกเครื่องมือทำเกลียวท่อได้อย่างถูกต้อง

04302.01.01 189630
04302.01

ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

2.ตั้งค่าเครื่องมือทำเกลียวได้อย่างถูกต้อง

04302.01.02 189631
04302.01

ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

3.ใช้เครื่องมือทำเกลียวท่อได้อย่างถูกต้องตามคู่มือของเครื่องมือ

04302.01.03 189632
04302.01

ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

4.ตรวจความเรียบร้อยของเกลียวท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

04302.01.04 189633
04302.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว

1.กำหนดตำแหน่งที่จะประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง

04302.02.01 189636
04302.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว

2.พันเกลียวท่อด้วยเทปพันเกลียวได้อย่างถูกต้อง

04302.02.02 189637
04302.02

ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว

3.ต่อท่อและขันเกลียวท่อให้แน่นด้วยเครื่องมือที่ได้อย่างถูกต้อง

04302.02.03 189638
04302.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว

1.  ทดสอบความแน่นของการประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง

04302.03.01 189639
04302.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว

2.  เลือกใช้วิธีทำความสะอาดพื้นที่หลังการประกอบท่อโดยใช้เกลียวได้อย่างถูกต้อง

04302.03.02 189640
04302.03

ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว

3.  จัดเก็บเครื่องมือหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้อง

04302.03.03 189641

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะในการใช้เครื่องมือ

    2. ทักษะการตัดและประกอบท่อ

    3. ทักษะเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือแรงดันน้ำ

    4. ทักษะการทำเกลียวและพันเกลียว



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    2. ความรู้เกี่ยวกับชนิดเกลียว

    3. ความรู้พื้นฐานในด้านการทำเกลียวท่อประปา




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา 



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประกอบท่อโดยใช้เกลียว โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินต้อง สามารถประกอบติดตั้งอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียวอย่างถูกต้องรวมถึงเครื่องมือและวิธีการทำเกลียว รวมถึงให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยในการทำงาน






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. เครื่องมือทำเกลียวท่อ คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในตัดเตรียมความพร้อมงานต่อท่อโดยใช้เกลียว เช่น เครื่องมือคว้านท่อ เครื่องต๊าปเกลียวท่อ เครื่องทำเกลียวท่อ เป็นต้น

    2. ท่อที่ใช้ในข้อต่อชนิดเกลียว เช่น ท่อพีวีซี (PVC) ท่อพีบี (PB) ท่อเหล็กเหนียว(ST) ท่อเหล็กอาบสังกาสี (GI) เป็นต้น

    3. เครื่องมือที่ใช้ในการประกอบท่อโดยใช้ข้อต่อเกลียวประกอบด้วย

      1. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตัดท่อ อาทิ เลื่อยตัดท่อ กรรไกรตัดท่อ เป็นต้น

      2. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบท่อด้วยข้อต่อเกลียว เช่น เทปพันเกลียว ประแจเลื่อน ประแจตาย ประแจข้อม้า แปรงทาสี ถังน้ำ เป็นต้น

      3. อุปกรณ์ทำความสะอาด อาทิ ผ้าทำความสะอาด ฟองน้ำ ถังน้ำ ไม้กวาด เป็นต้น

      4. วัสดุที่ใช้ในการต่อ อาทิ ท่อที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือข้อต่อท่อ เป็นต้น



    4. เทปพันเกลียว (Teflon Tape) ในการต่อประกอบท่อโลหะหรือท่อพลาสติกที่มีเกลียวเข้ากับข้อต่อต่างๆ หรือก๊อกน้ำต้องซีลการรั่วไหลของน้ำที่เกลียวท่อ โดยมากเทปซีลจะใช้กับท่อขนาดเล็ก ถ้าเป็นท่อขนาดใหญ่จะใช้ป่านหรือสารสังเคราะห์พวกยางในการซีล ซึ่งมีข้อกำหนดดังนี้ ท่อขนาดไม่เกิน 6 หุน จะพันเกลียวไม่เกิน 3 รอบ ท่อขนาดไม่เกิน 2 นิ้ว จะพันเกลียวไม่เกิน 4 – 6 รอบ ทั้งนี้การพันจะมากหรือน้อยรอบนั้น ยังขึ้นอยู่กับความหนาบางของเทปอีกด้วย ให้เริ่มพันจากปลายท่อโดยพันตามเกลียวไปจนสุดเกลียว

    5. เตรียมความพร้อมของเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไป ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ เป็นต้น

    6. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    7. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น

    8. คู่มือของเครื่องมือ หมายถึง คู่มือที่อธิบายลักษณะวิธีใช้ที่ถูกต้องของเครื่องมือนั้น อาทิ คู่มือเครื่องทำเกลียว เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมิน ทำเกลียวท่อได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ต่อท่อและอุปกรณ์ท่อโดยใช้เกลียว


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมิน ตรวจความเรียบร้อยของการประกอบท่อโดยใช้เกลียว


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ