หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สำรวจหาท่อรั่วด้วยเครื่องมือชนิดดักฟังเสียงน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-AIHX-345A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สำรวจหาท่อรั่วด้วยเครื่องมือชนิดดักฟังเสียงน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถสำรวจหาท่อรั่วด้วยเครื่องมือชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างสำรวจหาท่อรั่ว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03301.01

ระบุพื้นที่สำรวจหาจุดท่อรั่วได้

1. รวบรวบข้อมูลที่สำคัญเพื่อการวิเคราะห์กำหนดพื้นที่จะสำรวจหาจุดท่อรั่วได้

03301.01.01 189570
03301.01

ระบุพื้นที่สำรวจหาจุดท่อรั่วได้

2. สรุปพื้นที่จะสำรวจหาจุดท่อรั่วได้

03301.01.02 189571
03301.02

ใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง

1. เลือกใช้เครื่องมือหาจุดรั่วชนิดดักฟังเสียงได้อย่างถูกต้อง

03301.02.01 189572
03301.02

ใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง

2. จำแนกเสียงน้ำรั่วและเสียงอื่นๆ เพื่อระบุจุดท่อรั่วได้อย่างแม่นยำ

03301.02.02 189573
03301.02

ใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง

3. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด

03301.02.03 189574
03301.02

ใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง

4. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยในการทำงาน

03301.02.04 189575

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำ

    2. ทักษะการจำแนกเสียงน้ำรั่วในเส้นท่อ

    3. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้และหลักการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

    2. ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

    3. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ความรู้สาเหตุที่ทำให้ท่อประปาแตกรั่ว

    5. ความรู้ลักษณะของท่อรั่ว

    6. ความรู้ในการอ่านแผนที่

    7. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำ

    8. ความรู้และหลักการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกำหนดพื้นที่จุดท่อรั่ว




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ


    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสำรวจหาท่อรั่วด้วยเครื่องมือชนิดดักฟังเสียงน้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงความรู้และทักษะการสำรวจหาท่อรั่วด้วยเครื่องมือชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อง แม่นยำ รวดเร็ว



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. ข้อมูลที่รวบรวบเพื่อวิเคราะห์ระบุพื้นที่สำรวจหาจุดท่อรั่วได้ เช่น แบบแปลนวางท่อ แผนที่แสดงตำแหน่งท่อ ชนิดท่อและอุปกรณ์ท่อที่อยู่ในพื้นทีที่มีจุดท่อรั่ว อายุของท่อและอุปกรณ์ สภาพแวดล้อมและพฤติกรรมมนุษย์โดยรอบ ประวัติการปรับปรุงพื้นที่ ข้อมูลบอกเล่าจากคนในพื้นที่ ข้อมูลอัตราการไหลของน้ำ ข้อมูลความดันน้ำ เป็นต้น

    2. เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียง เช่น Acoustic Rod, Sounding Rod, Listening Stick, Boring Bar เป็นต้น

    3. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วงสนับสนุนการสำรวจหาท่อรั่ว เช่น Box Locator, Valve Locator, Metal Locator, Marking Locator, GPS Handheld เป็นต้น

    4. สาเหตุที่ทำให้ท่อรั่ว เช่น แรงดันน้ำ การเคลื่อนตัวและทรุดตัวของพื้นที่ การกัดกร่อน สภาพจราจร อายุการใช้งานของท่อและอุปกรณ์ท่อ พฤติกรรมของผู้ใช้งาน อุบัติเหตุ และอื่นๆ เป็นต้น

    5. ลักษณะของท่อรั่ว ได้แก่ ท่อรั่วบนดิน และท่อรั่วใต้ดิน

    6. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ ม้วนและมัดเก็บสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

    7. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องประเมิน ระบุพื้นที่สำรวจหาจุดท่อรั่วได้

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ใช้เครื่องมือสำรวจหาจุดท่อรั่วชนิดดักฟังเสียงน้ำได้อย่างถูกต้อ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ