หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-QLFD-341A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวางท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 100 มม. ลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน (Horizontal Directional Drilling:HDD)

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวางท่อประปาภายนอก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03114.01

เตรียมงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

1. ตรวจแนวและระดับการวางท่อถูกต้องตามแบบกำหนด

03114.01.01 189513
03114.01

เตรียมงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

03114.01.02 189514
03114.01

เตรียมงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

3. อ่านแบบวางท่อเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

03114.01.03 189515
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ขุดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกสำหรับงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนด

03114.02.01 189516
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

2. สร้างคันกั้นดินพังชั่วคราวของบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกได้อย่างถูกต้อง

03114.02.02 189517
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

3. วางเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

03114.02.03 189518
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

4. ต่อเชื่อมสายเครื่องจักรและอุปกรณ์สำหรับวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

03114.02.04 189519
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

5. ผสมสารละลายที่ใช้ให้ดินแตกตัวและไม่จับตัวเป็นก้อนให้เหมาะสมกับสภาพดินที่เจาะวางท่อใต้ดิน

03114.02.05 189520
03114.02

สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

6. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03114.02.06 189521
03114.03

เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

1. วัดปริมาณน้ำมันหล่อลื่นในเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

03114.03.01 189524
03114.03

เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

2. หารอยรั่วซึมของสายน้ำมันหล่อลื่นของเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

03114.03.02 189525
03114.03

เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

3. ทดสอบพร้อมการทำงานระบบไฮโดลิกส์ของเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

03114.03.03 189526
03114.03

เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

4. ทดสอบความพร้อมการทำงานระบบควบคุมของเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง

03114.03.04 189527
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ใช้เครื่องระบุตำแหน่งท่อ (Pipe locators) ได้อย่างถูกต้อง

03114.04.01 189528
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

2. ใช้เครื่องจักรเพื่อเจาะนำร่องแนวท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

03114.04.02 189529
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

3. ใช้เครื่องจักรเพื่อคว้านแนวท่อและสร้างอุโมงค์ท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

03114.04.03 189530
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

4. ใช้เครื่องจักรเพื่อดึงลากท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

03114.04.04 189531
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

5. ใช้เครื่องมือประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อในงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อด้วยวิธีที่เหมาะสม

03114.04.05 189532
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

6. ตรวจความถูกต้องรอยประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03114.04.06 189533
03114.04

เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน

7. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03114.04.07 189534
03114.05

ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนด

1. รื้อถอนเครื่องจักรและอุปกรณ์ของงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงได้อย่างถูกต้อง

03114.05.01 189537
03114.05

ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนด

2. ใช้เครื่องมือกลบวัสดุปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกให้ได้ความหนาตามแบบกำหนด

03114.05.02 189538
03114.05

ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนด

3. ใช้เครื่องมือบดอัดวัสดุปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกให้ได้ความแน่นตามแบบกำหนด

03114.05.03 189539
03114.05

ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนด

4. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03114.05.04 189540

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออก

    2. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เจาะวางเจาะดึงท่อใต้ดิน

    3. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ทักษะวิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออก

    5. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยใช้ทฤษฎีและเทคนิคอย่างอิสระด้วยตนเอง



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้และหลักการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

    2. ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

    3. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ความรู้ของมาตรฐานงานก่อสร้างวางท่อ

    5. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออก

    6. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เจาะวางเจาะดึงท่อใต้ดิน

    7. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ

    8. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออก

    9. ความรู้วิธีการคำนวณและผสมสารละลายที่ใช้ให้ดินแตกตัวและไม่จับตัวเป็นก้อน




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ วางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

การวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อ (Horizontal Directional Drilling: HDD) เป็นการขุดเจาะแนวคว้านลอดใต้สิ่งกีดขวางซึ่งเป็นวิธีการทีได้รับการยอมรับว่าปลอดภัยและเหมาะสมสําหรับการวางท่อขนส่งก๊าซและน้ำมัน สําหรับวิธีการขุดเจาะดังกล่าวจะเริ่มต้นด้วยการเตรียมพื้นที่สองฝัง คือ บ่อเจาะเข้า (Entry Point) และบ่อเจาะออก (Exit Point) หลังจากนั้นจะเริ่มทําการขุดเจาะ นําร่อง เพื่อให้หัวขุดเจาะทําการเจาะดินเป็นโพรงผ่านไปยังจุดออก หลังจากนั้นจึงทําการดึงด้วยหัวคว้าน (Reamer) พร้อมกับใช้สารละลายจากการผสมเบนโทไนท์และโพลิเมอร์เข้าไปแทนที่เพื่อคงสภาพให้โพรงทีได้ขุดเจาะไว้แล้วไม่พังทลายลงมา เมื่อทําการขุดเจาะคว้านหลุมได้ขนาดทีเหมาะสมแล้วจึงใช้กระบวนการดึงท่อเป็นอันเสร็จสินกระบวนการ




  • คำแนะนำ


    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงความรู้และทักษะในการวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อให้ได้ตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน






  • คำอธิบายรายละเอียด


    1. ท่อที่ใช้ในงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อ ได้แก่ ท่อ HDPE ท่อเหล็ก เป็นต้น

    2. การวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อจะใช้ท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางอย่างน้อย 100 มม.

    3. การวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อสามารวางท่อที่มีระยะยาวมากกว่า 100 ม. ขึ้นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    4. กลุ่มที่ต้องประสานงานและปรึกษา เช่น ช่างรางวัด ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างตอกเสาเข็ม ผู้ควบคุมเครื่องจักร ช่างเชื่อม วิศวกร เป็นต้น

    5. ส่วนประกอบเครื่องจักร Horizontal Directional Drilling Machine ได้แก่ หัวเจาะท่อน้ำร่อง (Gyro,Nozzle,Drill Bits) หัวคว้านท่อ (Remer,Flycatter) หัวดึงท่อ (Swivel) ท่อเหล็กต่อหัวเจาะ (Drill Rod, Drill Pipe) อุปกรณ์ตรวจหัวเจาะท่อ (Walkover Tracker) ปั้มสูบเติมสารละลาย (Pump) แทงค์บรรจุสารละลาย (Drilling Fluid Tank) เครื่องทำความสะอาดโคลน (Recycling Tank) เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) เป็นต้น

    6. สารละลายที่ทำให้ดินแตกตัวและไม่จับตัวกัน ได้แก่ สารละลายเบนโทไนท์ (Bentonite), สารละลายโพลิเมอร์ (Polymer) และอื่นๆ เป็นต้น

    7. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ เช่น ถุงมือ ค้อนปอนด์ ประแจ ไขควง เครื่องจับยึดดันท่อ ขาตั้งระดับ น้ำยาประสาน น้ำยาหล่อลื่น เครื่องเชื่อมความร้อน เป็นต้น

    8. ค่าพารามิเตอร์ที่ต้องรู้และเข้าใจเพื่อใช้ควบคุมเครื่องเจาะดึงท่อ ได้แก่ ตำแหน่ง ความลึก กำลังหมุนหัวเจาะ ความเร็วเคลื่อนที่หัวเจาะ อุณหภูมิหัวเจาะ มุมองศาหัวเจาะ กำลังไฟฟ้าเครื่องจักร เป็นต้น

    9. เครื่องแต่งกายสำหรับปฏิบัติงานวางท่อ ได้แก่ หมวกนิรภัย แว่นตานิรภัย เสื้อสะท้อนแสง (Safety Vest) รองเท้าบู๊ทพื้นยาง/บูทนิรภัย/รองเท้านิรภัย ถุงมือนิรภัย จุกอุดหู เป็นต้น

    10. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานท่อระบบสุขาภิบาลของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    11. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องประเมิน เตรียมงานวางท่อลอดใต้ดินแบบเจาะดึงท่อได้อย่างถูกต้อง

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน สร้างบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน เตรียมความพร้อมเครื่องจักรเจาะดึงท่อลอดได้อย่างถูกต้อง


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน เจาะดึงท่อใต้ดินแบบเจาะดึงท่อตามแบบกำหนดและข้อกำหนดมาตรฐาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ปิดบ่อเจาะเข้าและบ่อเจาะออกตามแบบกำหนด


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ