หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพงานวางท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-SMMW-338A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพงานวางท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ ตรวจสอบคุณภาพท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปา ได้แก่ ทดสอบความดันน้ำภายในท่อและล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนดมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างวางท่อประปาภายนอก

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03111.01

ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. กำหนดช่วงท่อที่จะทดสอบความดันน้ำภายในท่อได้

03111.01.01 189455
03111.01

ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการทดสอบความดันน้ำภายในท่อได้อย่างถูกต้อง

03111.01.02 189456
03111.01

ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

3. ใช้เครื่องมือทดสอบแรงความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03111.01.03 189457
03111.01

ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

4. จัดทำใบงานผลการทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนด

03111.01.04 189458
03111.01

ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

5. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด

03111.01.05 189459
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

1. กำหนดช่วงท่อที่จะล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้

03111.02.01 189460
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

03111.02.02 189461
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

3. ผสมน้ำคลอรีนให้ได้สัดส่วนปริมาณเหมาะสมตามข้อกำหนด

03111.02.03 189462
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

4. อัดน้ำผสมคลอรีนเข้าสู่ท่อและปล่อยแช่ในเวลาที่กำหนดไว้ตามข้อกำหนด

03111.02.04 189463
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

5. ระบายน้ำทิ้งคลอรีนได้อย่างถูกต้อง

03111.02.05 189464
03111.02

ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

6. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด

03111.02.06 189465
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือได้อย่างถูกต้อง

03111.03.01 189466
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

2. ใช้เครื่องมือตรวจวัดค่าความขุ่นได้อย่างถูกต้อง

03111.03.02 189467
03111.03

ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง

3. จัดทำใบงานผลการล้างท่อและฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด

03111.03.03 189468

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

    2. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค

    3. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือและค่าความขุ่นของน้ำ

    4. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนด



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้และหลักการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

    2. ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

    3. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ความรู้ของข้อกำหนดและมาตรฐานงานทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

    5. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบความดันน้ำภายในท่อ

    6. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค

    7. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ตรวจวัดค่าคลอรีนคงเหลือและค่าความขุ่นของน้ำ

    8. ความรู้การคำนวณน้ำคลอรีนให้เหมาะสมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อและความยาวท่อ




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับทดสอบความดันน้ำและล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ

    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงความรู้และทักษะในการตรวจสอบคุณภาพงานวางท่อก่อนส่งจ่ายน้ำประปาได้อย่างถูกต้องและตามข้อกำหนดมาตรฐาน



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ทดสอบความดันท่อ เช่น เครื่องอัดแรงดันน้ำ ถังพักน้ำ ท่อ PB 3/4 - 1 นิ้ว มาตรวัดความดัน เป็นต้น

    2. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรค เช่น เครื่องอัดคลอรีน ถังผสมคลอรีน ท่อ PB คลอรีนผง เครื่องวัดคลอรีนในน้ำ เครื่องวัดความขุ่นของน้ำ เป็นต้น

    3. ข้อกำหนดและมาตรฐานงานทดสอบความดันน้ำภายในท่อสำหรับท่อขนาด 400 มม. และค่าความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. อาทิ

      1. ท่อพลาสติก (PVC) ใช้เวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง โดยความดันต้องไม่ตกลงเกินกว่า 0.20 กก./ตร.ซม. เช่น เริ่มจับเวลาที่ความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. เวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ความดันต้องตกลงไม่เกิน 5.80 กก./ตร.ซม. ให้ผ่านการทดสอบ แต่หากความดันตกลงเกิน 0.20 กก./ตร.ซม. ให้จับเวลา เพิ่มอีก 2 ชั่วโมงแล้วความดันไม่ตกเพิ่ม เช่น เริ่มจับเวลาที่ความดัน 6.00 กก./ตร.ซม. เวลาผ่านไป 2 ชั่วโมง ความดันต้องตกลงไม่เกิน 5.60 กก./ตร.ซม. ให้เริ่มจับเวลาเพิ่มอีก 2 ชั่วโมงแล้วความดันคงเหลือ 5.60 กก./ตร.ซม. จึงให้ผ่านการทดสอบ

      2. ท่อแข็ง (ท่อ ST, GI และ AC) ใช้เวลาทดสอบ 2 ชั่วโมง ความดันต้องไม่ตก จึงให้ผ่านการทดสอบ

      3. ท่อ HDPE ใข้ทดสอบความดันตามมาตรฐาน SFS 3115: Plastic Pipe Water tightness Test for Pressure Pipeline.



    4. ข้อกำหนดค่าคลอรีนคงเหลือได้ ต้องมีค่าระหว่าง 0.20 - 1.00 มิลิกรัม/ลิตร และค่าความขุ่น ต้องมีค่าไม่เกิน 5 NTU. ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคไม่ได้ตามค่าที่ระบุต้องดำเนินการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคใหม่

    5. ข้อกำหนดอัตราส่วนผสมปริมาณคลอรีนผง (Calcium Hypochlortie) ต่อขนาดท่อและความยาวท่อ (กรัม) อาทิ

      1. ขนาดท่อ 100 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 33 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      2. ขนาดท่อ 150 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 74 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      3. ขนาดท่อ 200 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 131 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      4. ขนาดท่อ 300 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 295 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      5. ขนาดท่อ 400 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 525 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      6. ขนาดท่อ 500 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 845 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      7. ขนาดท่อ 600 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 1,216 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      8. ขนาดท่อ 700 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 1,655 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      9. ขนาดท่อ 800 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 2,162 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      10. ขนาดท่อ 900 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 2,737 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.

      11. ขนาดท่อ 1,000 มม. ใช้ปริมาณคลอรีนผง 3,380 กรัม/ความยาวท่อ 100 ม.



    6. เก็บเครื่องมือให้พร้อมใช้งานครั้งถัดไปตามที่คู่มือกำหนด ได้แก่ ทำความสะอาดเครื่องหลังใช้งาน จัดเก็บเครื่องมือหลังใช้งาน เช่น นำเครื่องมือบรรจุใส่ซอง ห่อ กล่องหลังใช้งาน ทาน้ำมันเคลือบเครื่องมือหลังใช้งาน ล็อก Safety เครื่องมือหลังใช้งาน ล้างทำความสะอาดหรือทาสารเคลือบเครื่องมือตามคำแนะนำคู่มือ เก็บเครื่องมือในพื้นที่ที่เหมาะตามคำแนะนำคู่มือ ม้วนและมัดเก็บสายไฟฟ้าได้อย่างถูกต้อง เป็นต้น

    7. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาของกรมอนามัย หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคของกรมควบคุมมลพิษ หรือมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาขององค์การอนามัยโลก




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)




  • เครื่องประเมิน ทดสอบความดันน้ำภายในท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคตามข้อกำหนด


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ตรวจวัดคุณภาพน้ำในเส้นท่อหลังการล้างท่อเพื่อฆ่าเชื้อโรคได้อย่างถูกต้อง


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ