หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางท่อแบบเปิดร่องดิน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-MMXT-333A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางท่อแบบเปิดร่องดิน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7126 ช่างประปาและวางท่อ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถ วางท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 100 มม. แบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างประปาภายนอก (การประกอบท่อ) ระดับ 3 ช่างบริการประปาชุมชน ระดับ 4

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03106.01

เตรียมงานก่อนวางท่อแบบเปิดร่องดินได้อย่างถูกต้อง

1. ตรวจแนวและระดับการวางท่อถูกต้องตามแบบกำหนด

03106.01.01 189389
03106.01

เตรียมงานก่อนวางท่อแบบเปิดร่องดินได้อย่างถูกต้อง

2. เลือกเครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับงานวางท่อแบบเปิดร่องดินได้อย่างถูกต้อง

03106.01.02 189390
03106.01

เตรียมงานก่อนวางท่อแบบเปิดร่องดินได้อย่างถูกต้อง

3. อ่านแบบวางท่อเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

03106.01.03 189391
03106.02

ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. เปิดพื้นผิวแนวร่องดินใช้วางท่อให้ได้ขนาดกว้างตามแบบกำหนด ด้วยเครื่องมือที่ถูกต้อง และตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03106.02.01 189392
03106.02

ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

2. ใช้เครื่องมือขุดร่องดินให้ลึกตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03106.02.02 189393
03106.02

ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

3. ขนย้ายวัสดุที่ขุดขึ้นมาไม่ให้กีดขวางการทำงานและการจราจร ร่วมถึงไม่ทำลายสภาพแวดล้อมเสียหาย

03106.02.03 189394
03106.02

ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

4. ใช้เครื่องมือปรับพื้นฐานรองท่อถูกต้องตามแบบและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03106.02.04 189395
03106.02

ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

5. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03106.02.05 189396
03106.03

จัดวางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. ใช้เครื่องมือจัดวางท่อตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03106.03.01 189397
03106.03

จัดวางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

2. ใช้เครื่องมือประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อในร่องดินตามแบบกำหนด

03106.03.02 189398
03106.03

จัดวางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

3. ตรวจความถูกต้องของรอยประกอบท่อและแนวระดับท่อตามข้อกำหนดมาตรฐาน

03106.03.03 189399
03106.03

จัดวางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน

4. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03106.03.04 189400
03106.04

ปิดร่องดินตามแบบกำหนด

1. ใช้เครื่องมือกลบวัสดุปิดร่องดินให้ได้ความหนาตามแบบกำหนด

03106.04.01 189401
03106.04

ปิดร่องดินตามแบบกำหนด

2. ใช้เครื่องมือบดอัดวัสดุปิดร่องดินให้ได้ความแน่นตามแบบกำหนด

03106.04.02 189402
03106.04

ปิดร่องดินตามแบบกำหนด

3. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัย

03106.04.03 189403

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ขุดร่องดินเพื่อวางท่อแบบเปิดร่องดิน

    2. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วางท่อแบบเปิดร่องดิน

    3. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ปิดร่องดิน

    5. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาโดยปฏิบัติตามกฎเกณฑ์การปฏิบัติงานที่กำหนดไว้



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้และหลักการปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน

    2. ความรู้ในการอ่านแบบก่อสร้างวางท่อและสัญลักษณ์ในแบบ

    3. ความรู้ชนิดวัสดุท่อและอุปกรณ์ท่อ

    4. ความรู้ของมาตรฐานงานก่อสร้างวางท่อ

    5. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ขุดร่องดินเพื่อวางท่อแบบเปิดร่องดิน

    6. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์วางท่อแบบเปิดร่องดิน

    7. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ

    8. ความรู้วิธีการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ปิดร่องดิน




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับ วางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

การวางท่อแบบเปิดร่องดิน (Open-cut) เป็นวิธีการที่ใช้ทั่วไปสําหรับการวางท่อใต้ดิน โดยเริ่มต้นด้วยการขุดร่องให้มีขนาด ความยาว และความลึกเพียงพอสําหรับการวางท่อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการการเปิดหน้าดิน หลังจากนั้นจึงนําท่อที่ได้เตรียมไว้แล้ว วางลงไปยังร่องหลุมที่ได้จัดเตรียมไว้ เมื่อวางท่อเสร็จสินจึงทําการฝังกลบหลุมดังกล่าว และปรับสภาพพนดินให้คืนสู่สภาพเดิม วิธีการวางท่อใต้ดินแบบดังกล่าวเป็นวิธีทีสะดวกและค่าใช้จ่ายถูกกว่าการขุดเจาะแบบอื่น แต่ไม่สามารถขุดเจาะลอดเมื่อเจอสิ่งกีดขวางหรืออุปสรรคเช่น ถนน หรือแม่น้ำ ดังนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นวิธีการที่นิยมใช้ในการวางท่อ แต่ไม่สามารถวางได้ในทุกสภาพภูมิประเทศ




  • คำแนะนำ


    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องแสดงความรู้และทักษะในการวางท่อแบบเปิดร่องดินได้ตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. ท่อที่ใช้ในงานวางท่อแบบเปิดร่องดิน เช่น ท่อเหล็กเหนียว (ST) ท่อดันลอด (SCP) ท่อคอนกรีตเสริมเหล็ก (RCP) ท่อเหล็กหล่อ (CI) ท่อคอนกรีตอัดแรง (PC-ST) ท่อคอนกรีตอัดแรง (PC) ท่อซีเมนต์ใยหิน (AC) ท่อเหล็กหล่อเหนียว (DI) ท่อท่อPVC ท่อเหล็กอาบสังกาสี (GI) ท่อHDPE และอื่นๆ เป็นต้น

    2. พื้นผิวที่พบเจอในการเปิดแนวท่อ ได้แก่ พื้นผิวถนนแอสฟัลต์ พื้นผิวคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวทางเท้าแผ่นหินหรือบล็อกหิน พื้นผิวที่มีแนวร่องดินผ่านกำแพงหรือคันหินกีดขวาง เป็นต้น

    3. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานขุดร่องดิน เช่น จอบ พลั่ว เสียม คราด ค้อน เครื่องตัดคอนกรีต เครื่องสกัดคอนกรีต เครื่องบดอัด ปั้มน้ำ เป็นต้น

    4. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการประกอบท่อและอุปกรณ์ท่อ เช่น ถุงมือ ค้อนปอนด์ ประแจ ไขควง เครื่องจับยึดดันท่อ ขาตั้งระดับ น้ำยาประสาน น้ำยาหล่อลื่น เครื่องเชื่อมความร้อน เป็นต้น

    5. กลุ่มที่ต้องประสานงานและปรึกษา เช่น ช่างรางวัด ช่างปูน ช่างไฟฟ้า ช่างตอกเสาเข็ม ผู้ควบคุมเครื่องจักร ช่างเชื่อม วิศวกร เป็นต้น

    6. เครื่องแต่งกายสำหรับปฏิบัติงานวางท่อ ได้แก่ หมวกนิรภัย แว่นตานิรภัย เสื้อสะท้อนแสง (Safety Vest) รองเท้าบู๊ท พื้นยาง/บูทนิรภัย/รองเท้านิรภัย ถุงมือนิรภัย จุกอุดหู เป็นต้น

    7. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานติดตั้งตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐานงานวางท่อของการประปานครหลวง หรือมาตรฐานงานวางท่อของการประปาส่วนภูมิภาค หรือมาตรฐานการติดตั้งท่อประปาของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานท่อระบบสุขาภิบาลของกรมโยธาธิการและผังเมือง หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    8. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องประเมิน เตรียมงานก่อนวางท่อแบบเปิดร่องดินได้อย่างถูกต้อง

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ขุดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน จัดวางท่อแบบเปิดร่องดินตามแบบกำหนดและตามข้อกำหนดมาตรฐาน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องประเมิน ปิดร่องดินตามแบบกำหนด


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ