หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-LUFD-321A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3122  หัวหน้าคุมงานด้านการผลิต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถปรับปรุงคุณภาพน้ำ จากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพน้ำดิบ เพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ได้ตามมาตรฐานและวิธีการที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02306.01

จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

1. รวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำดิบได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

02306.01.01 189255
02306.01

จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

2. วิเคราะห์และคำนวณหาปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมที่จะใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02306.01.02 189256
02306.01

จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. เขียนแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02306.01.03 189257
02306.02

ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

1. มอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้ได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02306.02.01 189258
02306.02

ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

2. ติดตามผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้ตามแผนงานที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

02306.02.02 189259
02306.02

ดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. ตรวจผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง

02306.02.03 189260
02306.03

เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

1. บันทึกผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02306.03.01 189261
02306.03

เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

2. บันทึกแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ข้อมูลจากรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02306.03.02 189262
02306.03

เขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

3. ตรวจทานการเขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบได้อย่างถูกต้อง

02306.03.03 189263

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  ทักษะการวางแผนและทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำ ได้ตามหลักการที่กำหนด



2.  ทักษะการบันทึก/สรุปผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำ



3.  ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์



5.  ทักษะการวิเคราะห์ การวางแผน และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา



2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนของระบบผลิตน้ำประปา



3. ความรู้ หลักการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ



4. ความรู้เกี่ยวกับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Treatment)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนการวิเคราะห์คุณภาพน้ำประปา



2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนของระบบผลิตน้ำประปา



3. ความรู้ หลักการในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ



4. ความรู้เกี่ยวกับระบบปรับปรุงคุณภาพน้ำ (Water Treatment)


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวข้องกับข้อกำหนดความปลอดภัย และมาตรฐานผลิตน้ำประปา

    2. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถเกี่ยวกับ การปฏิบัติงานในการวางแผน การควบคุมเวลา และการติดตามการผลิตน้ำประปาให้ได้ตามที่กำหนด ตามเวลา ตามมาตรฐาน ตรวจสอบคุณภาพการผลิตประปา วิเคราะห์ วินิจฉัยแก้ไขปัญหางานผลิตน้ำประปาได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ หมายถึง การนำผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำดิบ รวมทั้งปัญหาคุณภาพน้ำดิบที่เกิดขึ้น มาคิดวิเคราะห์ เพื่อกำหนดแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ โดยการคำนวณอัตราการจ่ายสารเคมีที่เหมาะสม ที่จะใช้ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบให้มีคุณภาพตามที่กำหนด โดยใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ เพื่อให้น้ำดิบให้มีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำประปาได้อย่างมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด ซึ่งต้องมีการวางแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ และมอบหมายงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม โดยต้องมีการติดตามและตรวจสอบความคืบหน้าในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วย เพื่อใช้ข้อมูลเป็นแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบต่อไป

    2. แนวทางการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ หมายถึง แนวทางในการใช้ระบบ หรือกระบวนการที่เหมาะสมในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ เพื่อให้น้ำดิบมีคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด และสามารถนำไปผลิตเป็นน้ำประปาน้ำได้อย่างมีคุณภาพตรงตามมาตรฐานและข้อกำหนด โดยถ้าแหล่งน้ำดิบนั้น ไม่ได้มาตรฐาน จะต้องมีการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบเบื้องต้นก่อน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ที่มีปัญหา เช่น

      1. แบคทีเรีย มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมคลอรีนในช่วงต้น (Prechlorination) เพื่อฆ่าเชื้อโรค แบคทีเรียต่างๆ

      2. สาหร่าย มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมคลอรีนในช่วงต้น (Prechlorination) เพื่อฆ่าสาหร่ายในเบื้องต้น

      3. ความขุ่นสูง มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมสารสร้างตะกอนในช่วงต้น (Pre-treatment) เช่น สารส้มหรือโพลีอะลูมิเนียมคลอไรด์เพื่อลดความขุ่นของน้ำดิบในเบื้องต้นได้

      4. ออกซิเจนละลายน้ำต่ำ มีแนวทางในการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบด้วยการเติมอากาศลงในน้ำดิบเพื่อยกระดับออกซิเจนละลายน้ำให้สูงขึ้นและยังสามารถให้แบคทีเรียใช้อากาศในการสร้างเมตาบอลิซึมเพื่อย่อยสลายสิ่งสกปรกในน้ำทำให้น้ำดิบสะอาดขึ้น



    3. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    4. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการจัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการดำเนินการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ