หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิต

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-LUTY-319A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

2113 นักเคมี



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถตรวจสอบ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ และพนักงานผลิตน้ำประปาชุมชน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02304.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ

1. วัดค่าความความเป็นกรด–ด่าง (PH) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02304.01.01 189217
02304.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ

2. วัดค่าความขุ่น (Turbidity) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02304.01.02 189218
02304.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ

3. วัดค่าสี (Color) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02304.01.03 189219
02304.01

ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ

4. วัดค่าการนำไฟฟ้า (Conductivity) ของน้ำอย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02304.01.04 189220
02304.02

วิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ

1. ใช้เครื่องมือในการทดสอบปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำได้อย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน 

02304.02.01 189221
02304.02

วิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ

2. วัดค่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำได้อย่างถูกต้องด้วยวิธีการตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02304.02.02 189222
02304.02

วิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ

3. ใช้ข้อมูลจากวัคค่าปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำวิเคราะห์หาปริมาณความต้องการสารเคมีในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้อง

02304.02.03 189223
02304.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต

1. สรุปผลการวิเคราะห์น้ำในระบบผลิตได้อย่างถูกต้อง 

02304.03.01 189224
02304.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต

2. บันทึกผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02304.03.02 189225
02304.03

เขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต

3. แจ้งไปยังฝ่ายควบคุมการผลิตน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิตได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02304.03.03 189226

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตได้ตามหลักการที่ถูกต้อง และใช้เครื่องมือใน LAB ได้อย่าถูกต้องและปลอดภัย

    2. ทักษะการทดสอบและวิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำได้อย่างถูกต้อง

    3. ทักษะการบันทึก/สรุปผลการวิเคราะห์ตามผลการทดลองจริงที่ได้จากการเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิต

    4. ทักษะการทวนสอบค่าวิเคราะห์ หรือทำการทดสอบซ้ำ ตามแผน หรือในกรณีที่พบค่าที่ผิดปกติ

    5. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

    6. ทักษะการวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต

    2. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานแต่ละขั้นตอนของระบบผลิตประปา

    3. ความรู้เบื้องต้น ขั้นตอน วิธี ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต

    4. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  •  คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิต โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ 

    3. พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน

    4. พิจารณาจากการสอบปฏิบัติ




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิต โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

    2. มีรายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการทดสอบประเมินเพื่อตรวจสอบเครื่องมือก่อนและหลังการทดสอบ

    3. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ทดสอบต้องพร้อมสำหรับการทดสอบประเมินทุกครั้งก่อนการทดสอบประเมิน



  • คำอธิบายรายละเอียด



การตรวจสอบและวิธีการในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต






    1. การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต หมายถึง การตรวจสอบคุณภาพน้ำในกระบวนการผลิตน้ำประปาได้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด ได้แก่ การตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ การตรวจคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำจากการเติมคลอรีนในกระบวนการผลิตน้ำประปา เพื่อนำข้อมูลคุณภาพน้ำในระบบผลิตไปคำนวณและวิเคราะห์หาปริมาณความต้องการสารเคมีในการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำในระบบผลิต เพื่อให้สามารถผลิตน้ำประปาได้ตามมาตรฐานที่กำหนด

    2. การฆ่าเชื้อโรคในน้ำด้วยคลอรีน โดยคลอรีนเป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่สามารถหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียส่วนใหญ่ได้ แต่การที่จะเติมคลอรีนเพื่อฆ่าเชื้อโรคในน้ำนั้น จะต้องเติมในปริมาณที่เพียงพอเพื่อให้มีคลอรีนอิสระคงเหลืออยู่ในน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ โดยความต้องการคลอรีนขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพ และเคมีของน้ำ เช่น พีเอช อุณหภูมิ น้ำที่มีความขุ่น หรือสารละลายมักต้องการคลอรีนสูง เป็นต้น

    3. การทดสอบปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ สามารถใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในการทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ เช่น ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ อ 31 ซึ่งคิดค้นรูปแบบโดยกรมอนามัย เป็นวิธีการทดสอบที่ง่ายและสะดวกรวดเร็ว โดยการอ่านค่าของคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ จากการเปรียบเทียบสีกับมาตรฐานของชุด อ 31 ซึ่งอาศัยการเกิดสีของคลอรีนอิสระคงเหลือตามวิธีมาตรฐานของ Standard Methods for the Examination of Wastewater, 12th ed. เป็นต้น

    4. อุปกรณ์ชุดทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ อ 31 ประกอบด้วย กล่องพลาสติกใส ขวดเทียบสี ขวดแก้วเปล่า สารละลายทดสอบคลอรีนอิสระคงเหลือ เป็นต้น

    5. การตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพเพื่อใช้ในการคำนวณการปรับจ่ายสารเคมีที่เหมาะสมเข้าระบบการผลิตน้ำประปา โดยมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตตามตารางดังนี้










































รายการวิเคราะห์



วิธีการวิเคราะห์



คุณสมบัติทางกายภาพ



 



Color



ความเข้มสี



Visual Comparison Method



Conductivity



การนำไฟฟ้า



Electrical Conductivity Method



pH



ความเป็นกรด-ด่าง



Electrometric Method



Turbidity



ความขุ่น



Nephelometric Method



Temperature



อุณหภูมิ



Electrometric Method




 






    1. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพน้ำในระบบผลิตซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น





ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิตทางกายภาพ

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการวิเคราะห์หาปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ