หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รวบรวมตัวอย่างน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-JJNC-317A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รวบรวมตัวอย่างน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถรวบรวมตัวอย่างน้ำ โดยการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยการควบคุมอุณหภูมิ การเติมสารเคมี ตามวิธีการที่กำหนด เพื่อรอการนำส่งตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02302.01

เก็บตัวอย่างน้ำ 

1. ตัก/กรอกตัวอย่างน้ำได้ครบถ้วนตามใบงาน และถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.01.01 189201
02302.01

เก็บตัวอย่างน้ำ 

2. ตัก/กรอก ตัวอย่างน้ำในตำแหน่งทีถูกต้องตามใบงาน และตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.01.02 189202
02302.01

เก็บตัวอย่างน้ำ 

3. ใช้อุปกรณ์ในการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.01.03 189203
02302.02

รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

1. บรรจุตัวอย่างน้ำใส่ในภาชนะได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.02.01 189204
02302.02

รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

2. เติมสารเคมีเพื่อรักษาสภาพตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.02.02 189205
02302.02

รักษาสภาพตัวอย่างน้ำ

3. แช่เย็นตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้อง ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02302.02.03 189206

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ และเคลื่อนย้าย/ขนย้าย/ส่งต่อตัวอย่างน้ำเพื่อส่งไปวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

    2. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์

    3. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของการเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ เพื่อการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

    2. ความรู้การใช้งานอุปกรณ์การเก็บและรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ และเครื่องมือวัดเบื้องต้น




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  •  คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการรวบรวมตัวอย่างน้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้





พิจารณาจากการข้อสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการรวบรวมตัวอย่างน้ำ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้

    2. มีรายการเครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการทดสอบประเมินเพื่อตรวจสอบเครื่องมือก่อนและหลังการทดสอบ

    3. เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ทดสอบต้องพร้อมสำหรับการทดสอบประเมินทุกครั้งก่อนการทดสอบประเมิน

    4. สารเคมีที่ใช้ทดสอบต้องพร้อมสำหรับการทดสอบประเมินทุกครั้งก่อนการทดสอบประเมิน



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. กระบวนการและหลักการในการรวบรวมตัวอย่างน้ำ

      1. การเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง การเก็บตัวอย่างน้ำด้วยวิธีที่กำหนด ในตำแหน่งที่กำหนด และเวลาที่ถูกต้องเหมาะสมตามที่กำหนด ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้

      2. การกำหนดจุดสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำประปา เช่น กำหนดสุ่มเก็บที่ต้นท่อระบบจ่ายน้ำ 1 ตัวอย่าง ปลายท่อบ้านผู้ใช้น้ำสุ่มเก็บ 1 ตัวอย่างเช่น ต่อผู้ใช้น้ำ 5,000 คน โดยกระจายการสุ่มเก็บให้ครอบคลุม เป็นต้น

      3. การเก็บตัวอย่างน้ำประปาควรเป็นตัวแทนของน้ำประปาโดยเก็บจากก๊อกน้ำโดยตรง ไม่ควรเก็บผ่านสายยาง เครื่องกรองน้ำ ถังพักน้ำ ลักษณะการไหลของน้ำควรให้น้ำไหลเป็นลำไม่กระจาย

      4. การเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิต ตามจุดที่กำหนด เช่น ตัวอย่างน้ำดิบก่อนสูบเข้าระบบ ตัวอย่างน้ำที่ผ่านออกจากระบบกวนช้า เป็นต้น



    2. ภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุตัวอย่างน้ำเพื่อส่งต่อไปตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ ซึ่งต้องระมัดระวังในเรื่องคุณภาพตัวอย่างน้ำ เนื่องจากถ้าเลือกใช้ภาชนะผิดประเภท อาจจะทำให้ตัวอย่างน้ำที่สุ่มเก็บปนเปื้อน และทำให้คุณภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไป จึงควรพิจารณาเลือกภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำตามรายละเอียดดังนี้

    3. วัสดุที่ใช้ทำภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำควรเป็นวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยากับกรด-ด่าง ควรมีความแข็งแรง ทนทาน ไม่เปราะ หรือแตกง่าย สามารถล้างทำความสะอาดได้ง่าย มีฝาปิดสนิท โดยทั่วไปนิยมใช้ขวดแก้วหรือพลาสติกอย่างดี ชนิดแข็ง และทนความร้อน เช่น โพลีเอทธิลีน หรือโพลีโพรพิลีน เป็นต้น

    4. การเตรียมภาชนะก่อนใช้ ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างแก้ว ล้างตามด้วยน้ำสะอาด และล้างด้วยน้ำกลั่นในครั้งสุดท้าย แล้วคว่ำให้แห้ง นอกจากบางกรณีจะต้องมีวิธีล้างพิเศษ เช่น ภาชนะที่ใช้เก็บตัวอย่างที่จะวิเคราะห์ทางแบคทีเรียต้องอบฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 160 - 180 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เป็นต้น

    5. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ หมายถึง อุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บตัวอย่างน้ำตามที่กำหนด เพื่อนำส่งไปตรวจวิเคราะห์คุณภาพ ประกอบด้วย

      1. กระบอกเก็บน้ำ (water samplers) กระบอกเก็บตัวอย่างน้ำที่นิยมใช้มีอยู่ด้วยกันหลายแบบดังนี้

        1. กระบอกเก็บน้ำแบบ Kemmerer เป็นกระบอกเก็บน้ำที่ออกแบบสำหรับเก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ จากแหล่งน้ำที่ไม่ลึกมากนัก เหมาะสำหรับใช้เก็บตัวอย่างจากสะพานหรือเรือ ตัวกระบอกเก็บน้ำโปร่งใสทำด้วยพลาสติกประเภทเพลกซี่กลาส (Plexi glass)

        2. กระบอกเก็บน้ำแบบ Van Dorn กระบอกเก็บน้ำแบบนี้ทำด้วยพลาสติกพีวีซี ใช้เก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ ได้ตามต้องการ กระบอกเก็บน้ำแบบ Van Dorn ใช้เก็บน้ำได้ในแนวดิ่ง และแนวนอน

        3. กระบอกเก็บน้ำแบบ Go-Flo กระบอกเก็บน้ำแบบนี้ทำด้วยพลาสติกพีวีซีข้างในเคลือบด้วยเทฟลอน (Teflon) ใช้เก็บตัวอย่างน้ำที่ระดับความลึกต่างๆ ได้ตามต้องการ นิยมใช้เก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนัก



      2. ขวดใส่ตัวอย่างในการวิเคราะห์น้ำบางพารามิเตอร์จำเป็นต้องใช้ขวดใส่ตัวอย่างเก็บน้ำจากแหล่งน้ำที่ต้องการศึกษา เพราะหากใช้กระบอกเก็บน้ำอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนได้ ตัวอย่างเช่น การเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา หรือการเก็บตัวอย่างน้ำเพื่อวิเคราะห์หาสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ จะเก็บตัวอย่างน้ำโดยใช้ขวดเก็บตัวอย่างน้ำโดยตรงจะเก็บใต้ผิวน้ำลึกลงไปประมาณ 10-30 เซนติเมตร



    6. การเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ หมายถึง การเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด โดยการควบคุมอุณหภูมิ การเติมสารเคมี ตามวิธีการที่กำหนด เพื่อรอการนำส่งตัวอย่างน้ำไปวิเคราะห์ผลในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ผลการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำ ออกมาตามสภาพน้ำจริง เพื่อใช้ในการปรับปรุง และแก้ไขคุณภาพน้ำได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

    7. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น

    8. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานรวบรวมตัวอย่างน้ำ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น





 


 








      1. คำแนะนำในการเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ







































การวิเคราะห์และทดสอบ



ข้อมูลการตรวจวิเคราะห์และทดสอบ



ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุตัวอย่างน้ำ



การรักษาสภาพ



ตัวอย่างน้ำ



ระยะเวลาการส่งตัวอย่างน้ำถึงห้องปฏิบัติการ



เคมี - กายภาพ



ความเป็นกรด ด่าง  สี  ความขุ่น  ความกระด้าง  ซัลเฟต  คลอไรด์ 



ไนเตรท  ฟลูออไรด์  และปริมาณสารละลายทั้งหมดที่เหลือจากการระเหย



ขวดพลาสติกใส สะอาด  มีฝาปิดสนิท  ความจุขนาด  2  ลิตร  จำนวน 1 ใบ



แช่เย็นตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิประมาณ  4 10  องศาเซลเซียส



ภายใน  24  ชั่วโมง



โลหะหนัก



แมงกานีส  ทองแดง  สังกะสี  เหล็ก  ตะกั่ว  โครเมียม  แคดเมียม



สารหนู ปรอท



ขวดพลาสติกใส  สะอาด  ทรงกระบอก  ชนิดPP*หรือPE* มีฝาปิดสนิท ความจุขนาด  1  ลิตร  จำนวน  1  ใบ



1. เก็บที่อุณหภูมิห้อง



2. เติมกรดไนตริคเข้มข้น (HNO3)  65%  ปริมาตรอย่างน้อย  1.5  มิลลิลิตร  เขย่าเล็กน้อยให้เข้ากัน



1. ภายใน  24  ชั่วโมง



2. 6 เดือน



แบคทีเรีย



โคลิฟอร์มแบคทีเรีย



ฟีคัลโคลิฟอร์มแบคทีเรีย



ใช้ขวดแก้วปากกว้างมีความจุประมาณ  125  มิลลิลิตร  มีฝาจุกแก้วปิดสนิท  (แบบกราวน์จอยท์) ภายในเติมโซเดียมไธโอซัลเฟตที่มีความเข้มข้น  10 %  จำนวน  0.1  มิลลิลิตร  (เพื่อหยุดยั้งปฏิกิริยาการฆ่าเชื้อโรคของคลอรีนในน้ำประปา) ฝาและคอขวดหุ้มด้วยกระดาษอลูมิเนียมเก็บบรรจุในกระป๋องสแตนเลสไร้สนิมซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว จำนวน  1  ใบ



ใส่ถุงพลาสติกมัดให้แน่น เก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำที่อุณหภูมิประมาณ  4 10  องศาเซลเซียส



แช่เย็นทันทีและนำส่งห้องปฏิบัติการภายใน  24  ชั่วโมง




 



การเขียนและอ่านฉลาก ใบส่งตัวอย่างน้ำ ควรมีรายละเอียดดังนี้ รหัสตัวอย่าง  หน่วยงานที่ส่ง ประเภทของแหล่งน้ำ สถานที่เก็บตัวอย่างน้ำ วันที่ เวลาที่เก็บตัวอย่างน้ำ และชื่อผู้เก็บตัวอย่างน้ำ 






    1. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติเตรียมความพร้อมก่อนการสูบน้ำดิบ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    2. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต เป็นต้น

    3. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการเก็บตัวอย่างน้ำ

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการรักษาสภาพตัวอย่างน้ำ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ