หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-XVJA-316A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผน และเตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามวิธีที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพน้ำ

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02301.01

รับมอบหมายงานการเก็บตัวอย่าง

1. อ่านทำความเข้าใจใบงานการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้อง 

02301.01.01 189192
02301.01

รับมอบหมายงานการเก็บตัวอย่าง

2. ระบุวิธีการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02301.01.02 189193
02301.01

รับมอบหมายงานการเก็บตัวอย่าง

3. จัดทำแผนการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้อง

02301.01.03 189194
02301.02

เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บตัวอย่างน้ำ

1. เลือกอุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้อง ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02301.02.01 189195
02301.02

เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บตัวอย่างน้ำ

2. ตรวจความพร้อมของอุปกรณ์เครื่องมือ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำ ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

02301.02.02 189196
02301.02

เตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บตัวอย่างน้ำ

3. บรรจุอุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อนำไปเก็บตัวอย่างน้ำได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02301.02.03 189197
02301.03

เตรียมเอกสารการส่งตัวอย่างน้ำ

1. รวบรวมข้อมูลที่จะเขียนบนฉลากและใบส่งตัวอย่างน้ำ ตามแผนการเก็บตัวอย่างน้ำได้ครบถ้วนและถูกต้อง 

02301.03.01 189198
02301.03

เตรียมเอกสารการส่งตัวอย่างน้ำ

2. เขียนฉลากตัวอย่างน้ำได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02301.03.02 189199
02301.03

เตรียมเอกสารการส่งตัวอย่างน้ำ

3. เขียนใบส่งตัวอย่างน้ำได้ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02301.03.03 189200

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการถวางแผนการเก็บตัวอย่างน้ำได้ตามหลักการและวิธีที่กำหนด



2. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์



3. ทักษะการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำงานของการเก็บตัวอย่างน้ำ เพื่อตรวจสอบ วิเคราะห์คุณภาพน้ำ



2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือพื้นฐานในเก็บตัวอย่างน้ำเบื้องต้น



3. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  •  คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการเตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้





ข้อสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการเตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. การเตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ มีหลักการและข้อควรปฏิบัติดังนี้

      1. การกำหนดจุดสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ มีจุดประสงค์เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไขเมื่อมีการปนเปื้อนของน้ำ และเพื่อให้ได้ตัวอย่างที่เป็นตัวแทนที่ดี จึงกำหนดจุดเก็บตัวอย่างจากระบบจ่ายน้ำจากแหล่งผลิต จนถึงผู้บริโภค

      2. การเก็บตัวอย่างน้ำในระบบผลิต ตามจุดที่กำหนด เช่น ตัวอย่างน้ำดิบก่อนสูบเข้าระบบ ตัวอย่างน้ำที่ผ่านออกจากระบบกวนช้า เป็นต้น เพื่อนำมาวิเคราะห์คุณภาพน้ำในระบบผลิต เพื่อดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขคุณภาพน้ำ

      3. เป็นตัวแทนของน้ำที่ใช้บริโภค โดยสุ่มเก็บที่ปลายท่อผู้ใช้น้ำ ซึ่งอยู่ห่างจากที่ตั้งของระบบประปาพอสมควร



    2. ข้อควรปฏิบัติในการสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำประปา





การเก็บตัวอย่างน้ำประปา ควรพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้








      1. การกำหนดจุดสุ่มเก็บตัวอย่างน้ำ เช่น กำหนดสุ่มเก็บที่ต้นท่อระบบจ่ายน้ำ 1 ตัวอย่าง ปลายท่อบ้านผู้ใช้น้ำสุ่มเก็บ 1 ตัวอย่าง ต่อผู้ใช้น้ำ 5,000 คน โดยกระจายการสุ่มเก็บให้ครอบคลุม เป็นต้น

      2. ตัวก๊อกน้ำที่ใช้สุ่มเก็บตัวอย่าง ควรอยู่สูงจากพื้น 60 เซนติเมตร หลีกเลี่ยงก๊อกน้ำที่รั่วหรือหยด การเก็บตัวอย่างน้ำควรเป็นตัวแทนของน้ำประปาโดยเก็บจากก๊อกน้ำโดยตรง ไม่ควรเก็บผ่านสายยาง เครื่องกรองน้ำ ถังพักน้ำ ลักษณะการไหลของน้ำควรให้น้ำไหลเป็นลำไม่กระจาย เป็นต้น



    1. ตรวจสอบความพร้อมและเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือ ในการเก็บตัวอย่างน้ำ ให้มีความพร้อมในการใช้งาน และเพียงพอต่อความต้องการในการเก็บตัวอย่างน้ำ

      1. การเขียนและอ่านฉลาก ใบส่งตัวอย่างน้ำการเขียนรายละเอียดใบส่งตัวอย่างน้ำ ใบส่งฉลากปิดภาชนะเก็บตัวอย่างน้ำ ฉลากปิดภาชนะตัวอย่างน้ำ  ควรมีรายละเอียดดังนี้

        1. รหัสตัวอย่าง  หมายถึง  รหัส  หรือสัญลักษณ์ของตัวอย่างน้ำที่ผู้ส่งใช้ ซึ่งอาจเป็นตัวเลข  หรือตัวอักษร  เช่น  1 / 1 เป็นชื่อจังหวัด.............. / พื้นที่..........ที่เก็บตัวอย่าง

        2. หน่วยงานที่ส่ง หมายถึง หน่วยงานที่ส่งตัวอย่างน้ำตรวจวิเคราะห์ เช่น กองสุขาภิบาลอาหารและน้ำ

        3. ประเภทของแหล่งน้ำ หมายถึง รายละเอียดตัวอย่างน้ำที่เก็บเป็นประเภทใด เช่น น้ำประปา

        4. สถานที่เก็บตัวอย่างน้ำ ระบุจุดเก็บตัวอย่างที่กำหนด 

        5. วันที่ และเวลาที่เก็บตัวอย่างน้ำ

        6. ชื่อผู้เก็บตัวอย่างน้ำ 



      2. ตัวอย่างน้ำควรมีรายละเอียดพอที่ผู้วิเคราะห์จะเข้าใจ ตัวอย่างน้ำ 1 ตัวอย่าง ต้องมีใบส่งตัวอย่างน้ำกำกับ 1 ใบ



    2. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานเตรียมการเก็บตัวอย่างน้ำ ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ การติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ หรือการตรวจวัดคุณภาพน้ำในระบบผลิตและระบบจำหน่าย หรือการประปาส่วนภูมิภาคคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการรับมอบหมายงานการเก็บตัวอย่าง

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเตรียมอุปกรณ์ เครื่องมือในการเก็บตัวอย่างน้ำ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเตรียมเอกสารการส่งตัวอย่างน้ำ


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ