หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการกากตะกอน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-BLEW-306A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการกากตะกอน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวางแผน และดำเนินงานในการจัดการกากตะกอนที่เกิดจากการผลิตน้ำน้ำประปา ได้ตามแผนและมาตรฐานที่กำหนด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02208.01

วางแผนงานจัดการกากตะกอน

1. รวบรวมข้อมูลปริมาณกากตะกอนในระบบผลิตน้ำได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

02208.01.01 189060
02208.01

วางแผนงานจัดการกากตะกอน

2. วิเคราะห์สภาพและปริมาณกากตะกอน เพื่อที่จะจัดทำแผนงานการจัดการตะกอนได้อย่างถูกต้องและได้มาตรฐานสิ่งแวดล้อม

02208.01.02 189061
02208.01

วางแผนงานจัดการกากตะกอน

3. หาปริมาณตะกอนที่เกิดขึ้นจากระบบผลิตน้ำประปาได้อย่างถูกต้อง 

02208.01.03 189062
02208.01

วางแผนงานจัดการกากตะกอน

4. ทำแผนการจัดการกากตะกอนได้อย่างถูกต้อง

02208.01.04 189063
02208.02

ดำเนินการจัดการกากตะกอน 

1. มอบหมายงานขนถ่ายกากตะกอนให้กับผู้ปฏิบัติงานได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02208.02.01 189064
02208.02

ดำเนินการจัดการกากตะกอน 

2. ติดตามความคืบหน้าการจัดการกากตะกอนได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง

02208.02.02 189065
02208.02

ดำเนินการจัดการกากตะกอน 

3. ตรวจการจัดการกากตะกอนให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดได้อย่างถูกต้อง

02208.02.03 189066
02208.03

เขียนรายงานผลการจัดการกากตะกอน

1. รวบรวมข้อมูลการจัดการกากตะกอนได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง 

02208.03.01 189067
02208.03

เขียนรายงานผลการจัดการกากตะกอน

2. ทำบันทึกรายงานการจัดการตะกอนที่เกิดจากระบบผลิตน้ำประปาได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02208.03.02 189068
02208.03

เขียนรายงานผลการจัดการกากตะกอน

3. ตรวจทานการเขียนรายงานผลการจ่ายสารเคมีได้อย่างถูกต้อง

02208.03.03 189069

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะการสังเกตเห็นความผิดปกติของการจัดการตะกอน ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)

    2. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ความรู้เกี่ยวกับระบบผลิตน้ำประปา และตะกอนที่เกิดจากการผลิตน้ำประปา

    2. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดการกากตะกอน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้




15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการจัดการกากตะกอน โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. กากตะกอน(สลัดจ์) หมายถึง ตะกอนที่เกิดจากการผลิตน้ำน้ำประปา หรือระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งใช้หลักการทางชีวภาพ จะมีกากตะกอนจุลินทรีย์เป็นผลผลิตตามมาด้วยเสมอ ดังนั้นจำเป็นจึงต้องมีการกำจัด หรือมีการจัดการกากตะกอนเหล่านั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเน่าเหม็นของกากตะกอน และปัญหามลพิษ ดังนั้นการจัดการกากตะกอนจึงจำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

    2. วิธีการในการจัดการกากตะกอน มีดังนี้

      1. การฝังกลบ (Landfill) เป็นการนำกากตะกอนมาฝังในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้และกลบด้วยชั้นดินทับอีก ชั้นหนึ่ง

      2. การหมักทำปุ๋ย (Composting) เป็นการนำกากตะกอนมาหมักต่อเพื่อนำไปใช้เป็นปุ๋ย ซึ่งเป็นการนำกากตะกอนกลับมาใช้ประโยชน์ในการเป็นปุ๋ยสำหรับปลูกพืช เนื่องจากในกากตะกอนประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นในการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และแร่ธาตุต่างๆ

      3. การเผา (Incineration) เป็นการนำกากตะกอนที่จวนแห้ง (ตั้งแต่ร้อยละ 40 ของของแข็งขึ้นไป) มาเผา เพราะเนื่องจากไม่สามารถนำไปใช้ทำปุ๋ยหรือฝังกลบได้



    3. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานจัดการกากตะกอน ที่เกิดขึ้นจากระบบผลิตน้ำประปา ซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    4. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    5. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการวางแผนงานจัดการกากตะกอน

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการดำเนินการจัดการกากตะกอน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการเขียนรายงานผลการจัดการกากตะกอน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ