หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมระบบตกตะกอน

สาขาวิชาชีพธุรกิจสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PUM-ITVY-302A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมระบบตกตะกอน

3. ทบทวนครั้งที่ 2 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3132 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงงานบำบัดน้ำ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถควบคุมระบบตกตะกอนให้ได้ปริมาณน้ำที่ผ่านการกวนเร็ว กวนช้า จนตกตะกอนตามที่กำหนด และระบบตกตะกอนทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เจ้าหน้าที่ควบคุมระบบผลิตน้ำประปา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
02204.01

ดูแลระบบกวนเร็ว

1. กำหนดอัตราและระยะเวลาในการกวนเร็วได้อย่างถูกต้อง

02204.01.01 189012
02204.01

ดูแลระบบกวนเร็ว

2. ระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็วด้วยการฟังเสียงได้อย่างถูกต้อง 

02204.01.02 189013
02204.01

ดูแลระบบกวนเร็ว

3. อ่านเกจวัดแรงดันที่ถังกวนเร็วเพื่อระบุความผิดปกติของการทำงานของถังกวนเร็วได้อย่างถูกต้อง

02204.01.03 189014
02204.02

ดูแลระบบกวนช้า 

1. กำหนดอัตราและระยะเวลาในการกวนช้าได้อย่างถูกต้อง

02204.02.01 189015
02204.02

ดูแลระบบกวนช้า 

2. อ่านเกจวัดแรงดันที่ถังกวนช้าเพื่อระบุความผิดปกติของการทำงานได้อย่างถูกต้อง

02204.02.02 189016
02204.02

ดูแลระบบกวนช้า 

3. ระบุความผิดปกติของระบบจากการสังเกตตะกอน หรือ Floc ในถังกวนช้าได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02204.02.03 189017
02204.03

แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน

1. ระบุปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอนได้อย่างละเอียดถูกต้อง

02204.03.01 189018
02204.03

แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน

2. ใช้เครื่องและวัสดุอุปกรณ์ สำหรับการแก้ไขปัญหาการอุดตันได้อย่างถูกต้อง

02204.03.02 189019
02204.03

แก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน

3. กำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

02204.03.03 189020

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะในการสังเกตเห็นความผิดปกติของระบบตกตะกอน และอุปกรณ์เบื้องต้น ทางกายภาพได้ (การมองเห็น การได้ยินเสียง)



2. ทักษะการคำนวณ/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า



3. ทักษะการใช้งานและซ่อมแซมระบบตกตะกอน และเครื่องมือวัดเบื้องต้น

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้การใช้งานและซ่อมแซมระบบตกตะกอน และเครื่องมือวัดเบื้องต้น พื้นฐานช่าง



2. ความรู้ด้านความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

    2. แบบบันทึกรายการจากการสังเกต



  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบรับรองการผ่านการประเมิน

    3. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา



  • คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการควบคุมระบบตกตะกอน โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



  • วิธีประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน





พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

  • คำแนะนำ



หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการควบคุมระบบตกตะกอน โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้






    1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัย และมาตรฐานงานประปา

    2. เจ้าหน้าที่สอบควรมีความพร้อมในการทดสอบ และจะต้องค่อยระมัดระวังอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้



  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. ระบบตกตะกอน ในขั้นตอนนี้จะปล่อยน้ำดิบที่ที่สูบเข้าระบบ มาผสมสารเคมีที่ช่วยให้เกิดการตกตะกอน ได้แก่ สารส้มที่อยู่ในรูปสารละลาย โดยมีเครื่องกวน ให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกัน จะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น ปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดตะกอนขึ้น ตะกอนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมากจะตกลงสู่ก้นถัง และถูกดูดทิ้ง น้ำใสที่อยู่ด้านบนจะไหลตามรางรับน้ำเข้าสู่ขั้นตอนของการกรองต่อไป

    2. ในระบบตกตะกอนจะมีการเติมสารเคมีหลักในการผลิตน้ำประปาให้แก่น้ำดิบประกอบด้วย สารส้มน้ำ (Liquid Alum) และ โพลิเมอร์ (Polymer) เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้าง (Coagulation) และรวมตัวของเม็ดตะกอนขนาดเล็ก (Flocculation) รวมถึงการเติมคลอรีนขั้นต้นที่ระบบกวนเร็วนี้ด้วย นอกจากนี้ที่ระบบกวนเร็วยังมีระบบเติมถ่านกัมมันต์ (Powder Activated Carbon, PAC) เพื่อใช้ในการกำจัดสารตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช (Pesticide) ด้วย ระบบกวนเร็ว (ระบบสร้างตะกอน) (Rapid Mixing)

    3. ระบบกวนเร็วจะทำให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกัน จะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น โดยทั่วไปจะใช้เวลาในการกวนประมาณ 1- 3 วินาที วิธีการกวนเร็วเท่าที่มีใช้ในระบบประปาพอจะแบ่งได้ดังนี้ เช่น  ไฮดรอลิคจั๊ม (Hydraullc Jump) เวียร์ (Weir) เวนจูรีฟลุม (Venturi Flume) ผสมในเส้นท่อ (Static Mixer) และเครื่องมือกล เป็นต้น

    4. การระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็ว จะสามารถสังเกตจากการได้ยินเสียงการทำงานของระบบกวนเร็วในระหว่างการปฏิบัติงานผลิตน้ำประปา ซึ่งหากมีเสียงดังต่างจากปกติ นั่นหมายถึงระบบกวนเร็วทำงานผิดปกติ เช่น อาจจะเกิดจากขยะที่เข้าไปอุดตันในระบบกวนเร็ว เป็นต้น โดยในการประเมินการระบุความผิดปกติของระบบกวนเร็ว จะประเมินด้วยการจำลองระบบกวนเร็วที่มีความผิดปกติที่เกิดจากขยะอุดตัน แล้วให้ผู้รับการประเมินบ่งชี้ความผิดปกติที่เกิดขึ้น

    5. ระบบการกวนช้า (ระบบรวมตะกอน) และระบบตกตะกอน (Clarifier) น้ำดิบที่ผ่านการเติมสารเคมีแล้วจากระบบกวนเร็วจะถูกส่งไปยังระบบกวนช้า โดยในขั้นตอนระบบกวนช้าใช้คลองวงเวียน ระยะเวลาที่น้ำไหลจะทำให้ตะกอนขนาดเล็กรวมตัวกันเป็นตะกอนขนาดใหญ่ขึ้น หรือเรียกว่าฟลอค (Floc) จากนั้นน้ำดิบจะไหลเข้าสู้ถังตกตะกอนหรือระบบตกตะกอน (Clarifier) ซึ่งจะเป็นขั้นตอนแรกในการแยกตะกอน (Sludge) ออกจากของเหลว โดยจะทำหน้าที่ดักตะกอนจากน้ำที่ผ่านระบบสร้างตะกอนและระบบรวมตะกอน และตะกอนที่มีขนาดใหญ่ตกลงสู่ก้นถังตกตะกอน เหลือแต่ตะกอนเบาที่มีขนาดเล็ก จนได้เป็นน้ำใสเพื่อเข้าสู่ระบบการกรองต่อไป

    6. การอุดตันของระบบตกตะกอนสังเกตได้จากการอ่านเกจวัดแรงดันว่ามีความผิดปกติหรือไม่ และติดตามค่าที่อาจบ่งชี้ถึงการมีขยะเข้าไปสะสมอุดตันในระบบตกตะกอน โดยการสังเกตจากค่าที่เกจวัดแรงดันอยู่สม่ำเสมอในระหว่างปฏิบัติงานผลิตน้ำประปา หากค่าที่วัดได้มีค่าแรงดันต่างจากค่าแรงดันปกติ ซึ่งหมายถึงระบบตกตะกอนทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากมีขยะหรือตะกอนเข้าไปอุดตัน เป็นต้น และหากเกิดความผิดปกติ ต้องดำเนินการแก้ไขโดยใช้เครื่องมือกำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอนได้อย่างถูกต้องตามที่กำหนดเหมาะสมกับงาน มีความปลอดภัย และระบบตกตะกอนสามารถทำงานได้ตามปกติ หลังจากการกำจัดสิ่งอุดตันออกจากระบบตกตะกอน

    7. สิ่งอุดตัน คือ สิ่งที่ปนมากับน้ำดิบและสามารถเข้าไปอุดตันระบบตกตะกอนได้ เช่น ขยะ ตะกอน สาหร่าย เป็นต้น

    8. เครื่องมือในการแก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน เช่น ประแจปากตาย ประแจขอม้า ประแจแหวน ประแจบล็อก ประแจเลื่อน ไขควงแบน ไขควงแฉก และไขควงบล็อก เป็นต้น

    9. คู่มือการปฏิบัติงาน หมายถึง คู่มือที่ใช้ประกอบในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการนั้นๆ โดยการปฏิบัติงานในที่นี้หมายถึงการปฏิบัติงานควบคุมระบบตกตะกอนซึ่งคู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือกระบวนการหลักด้านกระบวนการผลิตน้ำประปา การประปาส่วนภูมิภาค ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2558 และคู่มือการควบคุมการผลิตน้ำประปาผิวดิน สำนักบริหารจัดการน้ำ กรมทรัพยากรน้ำ เป็นต้น

    10. ปฏิบัติตามข้อกำหนดมาตรฐานตามหน่วยงาน เช่น มาตรฐาน ISO 9001:2000 ด้านการผลิตน้ำประปาจาก สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค มอก. 257-2549 มาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก WHO หรือมาตรฐานผู้ผลิต

    11. ปฏิบัติงานตามข้อกำหนดความปลอดภัยตามคู่มือการบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ของกองตรวจความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) หรือสถานประกอบการกำหนด




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  • เครื่องมือประเมินการดูแลระบบกวนเร็ว

    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการดูแลระบบกวนช้า


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




  • เครื่องมือประเมินการแก้ไขปัญหาการอุดตันของระบบตกตะกอน


    1. แบบฟอร์มประเมินผลการสังเกตการณ์

    2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน

    3. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

    4. ผลข้อสอบข้อเขียน





ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ