หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-GXTP-403B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด สามารถประยุกต์ใช้วิธีมาตรฐานเพื่อการออกแบบวิธีการสอบเทียบให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ตลอดจนสามารถทวนสอบความใช้ได้ของวิธีการสอบเทียบที่ได้ออกแบบและพัฒนาขึ้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้บริหารจัดการระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
- เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ- คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) - ISO/IEC 17025:2017 ; General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01TR5AA11

ประยุกต์ใช้วิธีการอย่างเหมาะสมสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

1. เลือกใช้วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด เพื่อให้เกิดความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

01TR5AA11.01 191048
01TR5AA11

ประยุกต์ใช้วิธีการอย่างเหมาะสมสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

2. ทวนสอบ/ตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ก่อนนำไปใช้งาน

01TR5AA11.02 191049
01TR5AA12

ออกแบบระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

1. เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ให้เกิดความคลาดเคลื่อนในระดับที่ยอมรับตามคู่มือการปฏิบัติงาน

01TR5AA12.01 191050
01TR5AA12

ออกแบบระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

2. ออกแบบระบบควบคุมภาวะแวดล้อมการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

01TR5AA12.02 191051

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          สามารถเข้าใจในรายละเอียดการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด มีทักษะทางเทคนิคการปฏิบัติงานสามารถประยุกต์ใช้ ความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนางานได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



1. การสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



2. การใช้งานและดูแลรักษาเครื่องมือมาตรฐานและอุปกรณ์สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



3. การอ่านและแปลความหมายของเอกสารวิธีการมาตรฐานได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



1. ความรู้เกี่ยวกับมาตรวิทยาการสอบเทียบและการวัด



2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือมาตรฐานสาขาแรงบิด



3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการมาตรฐานต่างๆ สำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



4. ความรู้ข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสารวิธีปฏิบัติงาน หรือ



2. หลักฐานการออกแบบและพัฒนาการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



3. หลักฐานการพิสูจน์ความใช้ได้ของวิธีการวัด



4. หลักฐานการเปรียบเทียบผลการวัด



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. บันทึกผลการทดสอบข้อเขียน



2. บันทึกการสัมภาษณ์



3. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On the job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะการออกแบบและพัฒนาระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิดโดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาจากผลการทดสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



3. พิจารณาจากสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง ใช้ในการสอนงานเป็นวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น หรือ เป็นวิธีที่อ้างอิงตามวิธีการมาตรฐาน



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือมาตรฐานสาขาแรงบิด ประเภท Torque Transducer หรือ Torque Calibrator เป็นเครื่องมือมาตรฐาน สำหรับสอบเทียบ เครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ประเภท Torque Wrench, Torque Screwdriver จำแนกชนิดออกเป็น Type I : Class B, C, D, E และ Type II : Class A, B, D, E เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุตามมาตรฐาน ISO 6789-1:2017

  2. สำหรับความหมายโดยภาพรวม จะรวมถึงเครื่องมือวัดทางสาขาแรงบิด ประเภท อื่นๆ ได้แก่ Torque Meter, Torque Calibrator, Static Torque Transducer และ Torque Multiplier เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



3. พิจารณาจากการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ