หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-NWLD-236B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการห้องปฏิบัติการสอบเทียบ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยํา (ISCO-08 Thai version)


1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะมีความรู้ ความเข้าใจ ในการบริหารจัดการระบบเอกสาร และจัดทำแผนการดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการสอบเทียบ เพื่อให้การบริหารจัดการของห้องปฏิบัติการสอบเทียบเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 และข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพมาตรวิทยา สาขาอาชีพผู้บริหารจัดการระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดระดับ 5

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01QS50011

บริหารจัดการเอกสารระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ

1. รู้และเข้าใจในเอกสารระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ

01QS50011.01 187843

2. ควบคุมเอกสารระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ

01QS50011.02 187844

3. ควบคุมบันทึกการปฏิบัติตามระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ

01QS50011.03 187845
01QS50012

บริหารจัดการการให้บริการสอบเทียบ

1. วางแผนการบริหารและจัดการบุคลากรตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

01QS50012.01 187846

2. วางแผนการบริหารและจัดการเครื่องมือตามข้อกำหนดของ ห้องปฏิบัติการ

01QS50012.02 187847

3. วางแผนการบริหารและจัดการผลิตภัณฑ์และการใช้บริการภายนอกตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

01QS50012.03 187848

4. วางแผนการบริหารและจัดการด้านบริการแก่ผู้รับบริการตามข้อกำหนดของห้องปฏิบัติการ

01QS50012.04 187849

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถเข้าใจงานมาตรวิทยาการสอบเทียบ มีทักษะทางเทคนิคการปฏิบัติงาน สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคเพื่อพัฒนางานได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

(ก) ความต้องการด้านทักษะ



1. การจัดทำเอกสารระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ



2. การอ่านและตีความเอกสารวิธีการตามมาตรฐานต่างๆ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

(ข) ความต้องการด้านความรู้



1. ความรู้เกี่ยวกับเอกสารระบบการบริหารงาน



2. ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมเอกสารระบบการบริหารงานและบันทึกการดำเนินงาน



3. ความรู้ข้อกำหนดตามมาตรฐานที่กำหนด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



N/A



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



N/A



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ตรวจประเมินเกี่ยวกับการบริหารจัดการเอกสารระบบการบริหารงาน และการจัดทำแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับกิจกรรมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน



(ง) วิธีการประเมิน



1 ข้อสอบข้อเขียน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



 N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



ISO 10013 เป็นข้อแนะนำในการจัดทำและควบคุมเอกสารระบบการบริหารงาน ซึ่งโครงสร้างเอกสารระบบการบริหารงานที่นิยมใช้ประกอบด้วย



1. คู่มือคุณภาพ (Quality manual)



2. คู่มือวิธีการ (Procedure manual)



3. คู่มือปฏิบัติงาน (Working instruction)



4. เอกสารอื่นๆของระบบการบริหารงาน เช่น แบบฟอร์ม (Form)



ทั้งนี้ จำนวนของระดับเอกสาร สามารถปรับใช้ให้เหมาะสมตามความต้องการของหน่วยงานที่นำไปประยุกต์ใช้



ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 สามารถรวมถึง มาตรฐานการวัดและเครื่องมือ อุปกรณ์ประกอบ วัสดุสิ้นเปลือง และวัสดุอ้างอิง



ตัวอย่างบริการจากภายนอกตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 สามารถรวมถึง บริการสอบเทียบ บริการชักตัวอย่าง บริการทดสอบ บริการบำรุงรักษาเครื่องมือและสิ่งอำนวยความสะดวก บริการทดสอบความชำนาญ บริการตรวจสอบและตรวจประเมิน



(ค) เอกสารอ้างอิง



1. ISO/IEC 17025 : 2017 General requirements for the competence of testing and calibration laboratories



2. ISO 10013 : 2021 Quality management systems-Guidance for documented information



3. ISO 31000 : 2018 Risk Management-Guidelines



4. เอกสารระบบการบริหารงานห้องปฏิบัติการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาผลสอบข้อสอบข้อเขียน