หน่วยสมรรถนะ
กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | TAA-LFXE-401B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | กำหนดขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2566 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ ความเข้าใจระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการสอบเทียบสาขาแรงบิด มีความเชี่ยวชาญและความสามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน และแบบบันทึกที่เกี่ยวข้องสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด และกำหนดแผนงานการปฏิบัติงานที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) ISO/IEC 17025:2017 ; General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
01TR4AA31 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น |
1.
จัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ISO/IEC 17025 |
01TR4AA31.01 | 191036 |
01TR4AA31 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น |
2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการ |
01TR4AA31.02 | 191037 |
01TR4AA31 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น |
3. สามารถจัดทำแผนงานที่ต้องจัดทำตามระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ |
01TR4AA31.03 | 191038 |
01TR4AA31 จัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้น |
4. สามารถจัดทำแบบบันทึกที่ใช้ในงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
01TR4AA31.04 | 191039 |
01TR4AA32 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
1. สามารถจัดทำเอกสารอ้างอิง การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ |
01TR4AA32.01 | 191040 |
01TR4AA32 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
2. สามารถประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ |
01TR4AA32.02 | 191041 |
01TR4AA32 ประเมินความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด |
3. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด
ตามคู่มือการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการ |
01TR4AA32.03 | 191042 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. มีความรู้และเข้าใจการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด 2. ระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 3. การประเมินความไม่แน่นอนในการวัดขั้นต้น |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ (ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถระบุถึงเอกสารระดับต่างๆ ในระบบคุณภาพและความเชื่อมโยงของเอกสาร 2. สามารถจัดทำเอกสารวิธีปฏิบัติงาน ขั้นตอนการทำงานและแบบบันทึกตามที่กำหนดในระบบคุณภาพ 3. สามารถประเมินปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการวัดในการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด (ข) ความต้องการด้านความรู้ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้ในการจัดทำเอกสารระดับต่างๆ ให้สอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีประเมินค่าความไม่แน่นอนของการวัด ระบุถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลกระทบได้ 3. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการขอจัดทำเอกสาร การอนุมัติ และการประกาศใช้ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. บันทึกการขอจัดทำเอกสาร 2. เอกสารขั้นตอนการปฏิบัติงาน 3. แผนงานการประกันระบบคุณภาพ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
(ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการจัดทำเอกสารขั้นตอนการสอบเทียบและการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดสำหรับการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด พิจารณาจากผลสอบข้อสอบข้อเขียน หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ 1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ 2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) 3. การจัดทำเอกสารวิธีการปฏิบัติงานตามวิธีการมาตรฐานหรือวิธีการสอบเทียบที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ต้องสอดคล้องกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. วิธีการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ได้แก่ วิธีการที่ห้องปฏิบัติการจัดทำขึ้นโดยอ้างอิงมาตรฐานแห่งชาติหรือมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือวิธีการที่ห้องปฏิบัติการพัฒนาขึ้นซึ่งได้มีการตรวจสอบความใช้ได้ของวิธีแล้วสามารถใช้งานได้ 2. เครื่องมือมาตรฐานสาขาแรงบิด ประเภท Torque Transducer หรือ Torque Calibrator เป็นเครื่องมือมาตรฐาน สำหรับสอบเทียบ เครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ประเภท Torque Wrench, Torque Screwdriver จำแนกชนิดออกเป็น Type I : Class B, C, D, E และ Type II : Class A, B, D, E เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุตามมาตรฐาน ISO 6789-1:2017 3. สำหรับความหมายโดยภาพรวม จะรวมถึงเครื่องมือวัดทางสาขาแรงบิด ประเภท อื่นๆ ได้แก่ Torque Meter, Torque Calibrator, Static Torque Transducer และ Torque Multiplier เป็นต้น (ค) เอกสารอ้างอิง 1. ISO/IEC 17025:2017 ; General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories 2. ISO 6789-1:2017 ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools 3. ISO 6789-2:2017 ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools 4. M3003 (Edition 5, September 2022) ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน 2. พิจารณาจากการสาธิตการปฏิบัติงาน 2.1. ณ องค์กรรับรอง 2.2. ณ สถานประกอบการ 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |