หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

คำนวณค่าความไม่แน่นอนและประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-VLMX-400B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ คำนวณค่าความไม่แน่นอนและประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้และความเข้าใจในการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด สามารถจัดทำโปรแกรมที่ใช้ในการคำนวณ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม และประเมินความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้ควบคุมงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01TR4AA21

คำนวณค่าความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด 

1. จัดทำโปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาแรงบิด ตามคู่มือการปฏิบัติงาน

01TR4AA21.01 191026
01TR4AA21

คำนวณค่าความไม่แน่นอนของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด 

2. ตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาแรงบิด

01TR4AA21.02 191027
01TR4AA22

ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

1. รู้และเข้าใจในเกณฑ์การยอมรับการสอบเทียบเครื่องวัดสาขาแรงบิด

01TR4AA22.01 191030
01TR4AA22

ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิดเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด

2. ประเมินผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

01TR4AA22.02 191031

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ความเข้าใจในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

 (ก) ความต้องการด้านทักษะ



 1. การประเมินค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 2. การใช้โปรแกรมการคำนวณค่าความไม่แน่นอนของการวัด



 3. การระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 (ข) ความต้องการด้านความรู้



 1. รู้เกี่ยวกับการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 2. รู้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Excel



 3. รู้เกี่ยวกับเกณฑ์การตัดสินและการระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. โปรแกรมที่ใช้ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 2. บันทึกการตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรมที่ใช้ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 3. บันทึกการระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ในใบรับรองการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 4. บันทึกวิธีการการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. ใบรับรองการฝึกอบรม หรือ บันทึกการฝึกปฏิบัติงาน (On the job training) โดยมีผู้ลงนามรับรอง



 2. บันทึกผลข้อสอบข้อเขียน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



 ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการระบุความเป็นไปตามเกณฑ์ของผลการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด การใช้โปรแกรม Excel ในการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรงบิด โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียน หลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกการสาธิตการปฏิบัติงาน



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ



 เกณฑ์การตัดสิน (Decision rule) หมายถึง เกณฑ์ที่อธิบายว่าจะนำความไม่แน่นอนของการวัดมาใช้อย่างไรในการระบุว่าเป็นไปตามข้อกำหนดเฉพาะ



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด






    1. เครื่องมือมาตรฐานสาขาแรงบิด ประเภท Torque Transducer หรือ Torque Calibrator เป็นเครื่องมือมาตรฐาน สำหรับสอบเทียบ เครื่องมือวัดสาขาแรงบิด ประเภท Torque Wrench, Torque Screwdriver จำแนกชนิดออกเป็น Type I : Class B, C, D, E และ Type II : Class A, B, D, E เป็นไปตามข้อกำหนดที่ระบุตามมาตรฐาน ISO 6789-1:2017 สามารถเลือกสอบเทียบได้ 1 ชนิด

    2. สำหรับความหมายโดยภาพรวม จะรวมถึงเครื่องมือวัดทางสาขาแรงบิด ประเภท อื่นๆ ได้แก่ Torque Meter, Torque Calibrator, Static Torque Transducer และ Torque Multiplier เป็นต้น





 (ค) เอกสารอ้างอิง




  1. ISO/IEC 17025:2017 ; General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

  2. ISO 6789-1:2017 ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools

  3. ISO 6789-2:2017 ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools

  4. M3003 (Edition 5, September 2022) ; Assembly tools for screws and nuts-Hand torque tools


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากการสาธิตการปฏิบัติงาน



        2.1. ณ องค์กรรับรอง



        2.2. ณ สถานประกอบการ



 3. พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



ยินดีต้อนรับ