หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ TAA-TTGW-389B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2566

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A
1 7311 ช่างทำและซ่อมเครื่องมือที่มีความเที่ยงตรงแม่นยำ

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้มีความรู้ความเข้าใจและสามารถประประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหางานสอบเทียบและบริหารจัดการงานสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง สามารถชี้บ่งปัญหาที่เกิดในระบบการวัดและวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหา รวมถึงสามารถกำหนดวิธีการจัดการปัญหาอย่างเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพบริการอุตสาหกรรม สาขามาตรวิทยา อาชีพผู้บริหารจัดการระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. เอกสารระบบคุณภาพของหน่วยงานหรือห้องปฏิบัติการ2. คู่มือการปฏิบัติงาน (Calibration Procedure หรือ Working Instruction) 3. ISO/IEC 17025 General Requirements for Competence of Testing and Calibration laboratories

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
01FR5AA21

สามารถชี้บ่งปัญหาและการจัดการในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

1. สามารถวิเคราะห์หาต้นเหตุของปัญหาในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง ได้

01FR5AA21.01 191024
01FR5AA21

สามารถชี้บ่งปัญหาและการจัดการในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

2. กำหนดมาตรการจัดการปัญหาเบื้องต้นในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

01FR5AA21.02 191025
01FR5AA22

กำหนดวิธีการแก้ปัญหาในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง อย่างเหมาะสม

1. ระบุวิธีการแก้ปัญหาในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

01FR5AA22.01 191028
01FR5AA22

กำหนดวิธีการแก้ปัญหาในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง อย่างเหมาะสม

2. ระบุข้อควรปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดปัญหาในระบบการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง

01FR5AA22.02 191029

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความชำนาญและความเชี่ยวชาญการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง



2. การประเมินและจัดการความเสี่ยง (Risk Management)



3. การใช้เครื่องมือคุณภาพ (QC Tools) ในการวิเคราะห์ปัญหา



4. ข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. มีความสามารถในการวิเคราะห์และชี้บ่งปัญหางานสอบเทียบและบริหารจัดการงานสอบเทียบ



2. มีความสามารถในการวิเคราะห์ความเสี่ยง



3. มีความสามารถในการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการสอบเทียบสาขาแรง

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการความเสี่ยง



2. ความรู้เรื่องการวิเคราะห์และชี้บ่งปัญหางานสอบเทียบ



3. ความรู้เกี่ยวกับการประยุต์ใช้เครื่องมือคุณภาพในการวิเคราะห์ปัญหา



4. ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. รายงานผลการวิเคราะห์การแก้ปัญหา หรือ



2. บันทึกการแก้ไขงานที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนด หรือ



3. บันทึกการแก้ไขข้อบกพร่อง



4. บันทึกการประเมินความเสี่ยง



 (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



 1. บันทึกผลข้อสอบข้อเขียน



 2. บันทึกประกอบการสัมภาษณ์



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับสมรรถนะข้อการประยุกต์ใช้ทฤษฎีและเทคนิคในการแก้ปัญหาการสอบเทียบเครื่องมือวัดสาขาแรง โดยพิจารณาจากผลการสอบข้อสอบข้อเขียนและหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้



 (ง) วิธีการประเมิน



 1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



 2. พิจารณาจากบันทึกประกอบการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

15. ขอบเขต (Range Statement)



 (ก) คำแนะนำ



N/A



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือมาตรฐานสาขาแรง ในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึง Force Transducer โดยในภาพยังรวมถึง Standard Weight and Proving Ring เป็นเครื่องมือมาตรฐานสาขาแรง

  2. เครื่องมือวัดสาขาแรงในหน่วยสมรรถนะนี้หมายถึงเครื่องมือวัดสาขาแรง ประเภท เครื่องทดสอบแรงดึงแรง-กด (Universal Testing Machine) และ Force Gauge, Push-Pull โดยในภาพยังรวมถึง Force Transducer คือเครื่องมือวัดที่ใช้เพื่อวัดคุณสมบัติความต้านทานของวัสดุหรือชิ้นงานต่อแรงที่มากระทำ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน



2. พิจารณาจากบันทึกประกอบการสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ